โรคเอดส์ จุดจบของสายล่า! สาเหตุ อาการ การรักษา

28 มิ.ย. 24

โรคเอดส์

 

ในอดีต โรคเอดส์ คือโรคติดต่อร้ายแรง และสามารถทำให้เสียชีวิตได้ในระยะเวลาอันสั้น ใครที่ติดเชื้อเอดส์ในช่วงเวลานั้น จะเป็นที่รังเกียจของสังคมเป็นอย่างมาก ถูกตีตราว่าเป็นพวก มักมากในกาม มีเซ็กซ์มั่วไปทั่วจนทำให้ติดเชื้อHIV หรือ โรคเอดส์! แต่หลังจากโลกได้มีการวิจัยเกี่ยวกับโรคเอดส์มากขึ้นตามลำดับ จึงทำให้ผู้คนเข้าใจ และเริ่มยอมรับ-เปิดใจ ให้กับผู้ป่วยโรคเอดส์มากขึ้นนั่นเอง งั้นมาดูกันดีกว่าว่า โรคเอดส์ มีสาเหตุ อาการ และการรักษาอย่างไรบ้าง…

โรคเอดส์ คืออะไร มาจากไหน?

โรคเอดส์เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี (มีชื่อเต็มว่า Human Immunodeficiency Virus หรือ HIV) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ โดยมีเชื้อเอชไอวีสองชนิดที่ติดต่อมายังมนุษย์ คือเอชไอวี-1 และเอชไอวี-2 โดย เอชไอวี-1 นั้นเป็นอันตรายมากกว่า ติดต่อง่ายกว่า และเป็นสาเหตุของการติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่บนโลกนี้

มีการสันนิษฐานกันว่าโรคเอดส์นี้น่าจะมีต้นตอมาจากลิงในทวีปแอฟริกา ต่อมาจึงมีการติดเชื้อไวรัสจากลิงมาสู่คน และมีการวิวัฒนาการจนกลายเป็นสายพันธุ์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

ไวรัสเอดส์อยู่ในส่วนใดของร่างกายบ้าง ?

ไวรัสเอดส์ หรือ ไวรัสเอชไอวี พบมากที่สุดในเลือด น้ำเหลือง เนื้อเยื่อต่าง ๆ รองลงมาคือ น้ำอสุจิ น้ำในช่องคลอด ส่วนน้ำลาย เสมหะ เหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระแทบไม่พบเลย ฉะนั้นการจูบปากกันจึงไม่ทำให้ติดเชื้อเอชไอวีได้

โรคเอดส์ ติดต่อกันได้อย่างไรบ้าง ?

1. การร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อเอดส์ โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยไม่ว่าช่องทางธรรมชาติ หรือไม่ธรรมชาติ ก็ล้วนมีโอกาสติดโรคนี้ได้ทั้งสิ้น และจากข้อมูลของกองระบาดวิทยาพบว่าร้อยละ 83 ของผู้ป่วยเอดส์ได้รับเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์

2. การรับเชื้อทางเลือด ใช้เข็ม หรือกระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอดส์ มักพบในกลุ่มผู้ใช้สารเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น

โรคเอดส์

อ้างอิงจาก : http://www.thaiplus.net/?q=node/184

เอชไอวี (HIV) และ เอดส์ (AIDS) ต่างกันอย่างไร?

HIV คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome ซึ่งเชื้อไวรัส HIV และโรคเอดส์ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม

กระบวนการการเกิดโรคเอดส์มีอยู่ว่า เมื่อเชื้อไวรัส HIV เข้าทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 ในร่างกายจนมีปริมาณไม่เพียงพอ ร่างกายจะอ่อนแอลงเรื่อย ๆ และติดเชื้อหลายชนิด เมื่อใดที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 ต่ำมากๆ คุณจะติดเชื้ออย่างรุนแรงนั่นคือโรคเอดส์ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด โดยส่วนมากหากติดเชื้อไวรัส HIV แล้วไม่ได้รับการรักษามักจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์

ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี จะเกิดอาการต่าง ๆ ของโรค 3 ระยะด้วยกัน ดังนี้

1. ระยะเฉียบพลัน (Acute HIV Infectious) เป็นระยะแรกของการติดเชื้อเอชไอวี (ระยะแรกนี้ยังไม่เรียกว่า โรคเอดส์) เกิดขึ้นระหว่าง 2-4 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ ในระยะนี้ผู้ติดเชื้อจำนวนมากจะเริ่มมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต ปวดเมื่อยตามร่างกาย มีผื่นและปวดหัว อาการผิดปกติของผู้ป่วยในระยะแรกนี้จะมีน้อย และสามารถหายไปเองได้ในเวลา 2 ถึง 4 สัปดาห์

2. ระยะสงบทางคลินิก (Clinical Latency Stage) ระยะนี้ของโรคก็ยังไม่เรียกโรคเอดส์ เช่นกัน ผู้ติดเชื้ออาจจะมีเชื้อราขึ้นที่ลิ้น หรือมี วัณโรค ปอดกำเริบ โรคเริม หรือโรคงูสวัด เกิดขึ้นได้ แต่อาการมักไม่รุนแรงมาก บางครั้งเรียกระยะนี้ว่า ระยะติดเชื้อเรื้อรัง (chronic HIV infection) หรือ ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (asymptomatic HIV infection) ในระยะนี้ไวรัสจะเพิ่มปริมาณมากขึ้นในระดับต่ำ และมักจะใช้เวลานานถึง 10 ปี แต่สำหรับผู้ติดเชื้อบางคนอาจใช้เวลาน้อยกว่านั้น

3. ระยะโรคเอดส์ (AIDS) เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์ ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมีปริมาณเซลล์ CD4 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์มี CD4 ต่ำกว่า 200 เมื่อถึงจุดนี้ระบบภูมิคุ้มกันได้ถูกทำลายอย่างรุนแรงจนผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infections)ในอวัยวะสำคัญอย่างรุนแรง เช่น ปอด มีอาการทางสมอง และมีมะเร็งชนิดต่างๆเกิดขึ้นได้ ที่พบบ่อย คือ โรคมะเร็งคาโปซิซาร์โคมา (Kaposi sarcoma) และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มีอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นประจำ

ส่วนอาการร่วมอื่น ๆ จะมีดังนี้

  • มีอาการหนาวสั่น และเหงื่อออกในเวลากลางคืน
  • มีไข้สูงกว่า 37.8 องศาเซลเซียสติดต่อกันเป็นเวลานาน อ่อนเพลียอย่างรุนแรง
  • มีจุดสีขาวภายในช่องปาก
  • เกิดผื่นตามตัว มีสีน้ำตาล แดง ม่วงหรือชมพู
  • มีแผลบริเวณอวัยวะเพศ หรือทวารหนัก
  • น้ำหนักลดลงผิดปกติ
  • มีอาการไออย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ
  • ปอดบวม
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง
  • มีปัญหาเรื่องความจำ

สรุปแล้ว เราจะเรียกโรคเอดส์ต่อเมื่อผู้ป่วยเป็นถึงระยะที่ 3 แล้วเท่านั้น ทั้งนี้อาการของการติดเชื้อเอชไอวี อาจเป็นอาการของโรคอื่น ๆ ก็ได้ จึงควรทำการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี (HIV test) อย่ากลัว อย่าอาย เพื่อประโยชน์ และรับการรักษาที่ตรงจุดต่อตัวเราเอง

โรคเอดส์

โรคเอดส์ รักษาให้หายได้หรือไม่?

ขณะนี้ยังไม่มียาที่สามารถรักษาโรคเอดส์ให้หายขาดได้ เป็นเพียงยับยั้งไม่ให้ไวรัสเอดส์เพิ่มจำนวนมากขึ้นในร่างกาย ทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวได้อีกนาน

PrEP ช่วยป้องกันการติดเชื้อ HIV ได้นะ!

PrEP (เพร็พ) ย่อมาจาก pre-exposure prophylaxis หมายถึง การให้ยาต้านไวรัสเอชไอวีในผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อ ก่อนมีการสัมผัสที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากการสัมผัสนั้น

โดย PrEP จะเหมาะสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อเอชไอวีอย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ที่มีคู่เป็นผลเลือดบวก และคู่ที่กำลังรอเริ่มยาต้านเอชไอวีอยู่, ชายมีเพศสัมพันธ์กับชาย, ชายหรือหญิงที่ทำงานบริการ เป็นต้น

การรับประทานPrEP จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากต้องมีการเจาะเลือดติดตาม และต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ รวมไปถึงอาจส่งผลต่อกระดูก หรือไตในระยาวได้

ข้อควรปฎิบัติในชีวิตประจำวันของผู้มีเชื้อเอดส์

  1. คบหาสมาคมกับผู้อื่นได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องหลบซ่อนหรือเก็บตัวอยู่คนเดียว การพูดคุย แตะเนื้อต้องตัวกันตามธรรมดา ไม่สามารถทำให้ผู้อื่นติดโรคจากท่านได้
  2. ใช้ห้องน้ำร่วมกับผู้อื่นได้ปกติ แต่ ควรระมัดระวังมิให้สารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น น้ำเหลือง น้ำมูก น้ำลาย ปัสสาวะ และสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ รวมถึงประจำเดือน กระเด็น หรือเปรอะเปื้อนโถส้วม อ่างล้างมือ และผู้อื่นที่ใช้ห้องน้ำร่วมกัน
  3. ล้างถ้วย ชาม จาน แก้วน้ำ ให้สะอาด แล้วทิ้งให้แห้งก่อนนำไปใช้
  4. ไม่ใช้ของมีคมร่วมกับผู้อื่น เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ
  5. ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง ที่มีเพศสัมพันธ์
  6. งดการบริจาคโลหิตโดยเด็ดขาด รวมถึงอวัยวะต่าง ๆ เช่น ดวงตา ไต น้ำอสุจิ เป็นต้น
  7. ควรพบแพทย์โดยใกล้ชิดเป็นระยะ ๆ และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

รู้หรือไม่ ทุกวันที่ 1 ธันวาคม ของทุกปี ถูกจัดตั้งให้เป็น วันเอดส์โลก (World AIDS Day)

ตรวจ ปรึกษา รักษาโรคเอดส์ ได้ที่ “คลินิกนิรนาม”

คลีนิคนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย คือสถานที่ที่ให้บริการให้คำปรึกษา แนะนำ ตรวจหาเชื้อเอชไอวี และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยสมัครใจแก่ประชาชนทั่วไป และผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง มีการรักษาความลับของผู้ที่มาใช้บริการอย่างดีที่สุด

โดยผู้ที่สนใจ สามารถติดต่อทางคลินิกได้ที่ :

โทรศัพท์ – 02-251-6711-5
โทรสาร – 0-2254-7577
ปรึกษาเรื่องเอชไอวี โทร. – 0-22532666 หรือ 1663
https://www.facebook.com/ByTrcarc/

รีวิว คลินิกนิรนาม : https://pantip.com/topic/36378782

เผยสถิติโรคเอดส์ในไทย!

ข้อมูลจาก The Joint Nations Programme on HIV/AIDS (UNIAIDS) รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั้งหมด 480,000 คน โดยเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6,300 คน เฉลี่ยวันละ 17 คน และตลอดทั้งปีมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีเสียชีวิตทั้งหมด 18,000 คน เฉลี่ยวันละ 50 คน โดยเป็นกลุ่มชายรักชายมากที่สุด

โดยปัจจุบันประเทศไทย ได้แสดงเจตนารมณ์อย่างมุ่งมั่นที่จะยุติปัญหาเอดส์ ภายในปี 2573 ซึ่งมีเป้าหมายหลัก 3 ประการ คือ

1. ลดจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ให้เหลือไม่เกินปีละ 1,000 คน

2. ลดการเสียชีวิตในผู้ติดเชื้อเอชไอวี ให้ไม่เกินปีละ 4,000 คน

3. ลดการรังเกียจและการเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศสภาพ ลงจากเดิมร้อยละ 90

การจะยุติปัญหาเอดส์ได้ คือการสวมถุงยางอนามัย ซึ่งป้องกันได้ทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการตั้งครรภ์ และในปัจจุบันนี้คนไทยทุกคนสามารถไปตรวจเอดส์ได้ฟรี ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศปีละ 2 ครั้ง

สำหรับผู้ที่สนใจขอรับคำปรึกษาปัญหาเอดส์ และท้องไม่พร้อม สามารถติดต่อได้ที่ โทร.1663 ทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00 – 21.00 น.

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก :

1. การทานยาPrEP-PEP http://bit.ly/2vIPCGx
2. สถิติเรื่องโรคเอดส์จาก สสส. และ thaipbs : http://bit.ly/38Y02QQ / http://bit.ly/2UiEPNB
3. เอชไอวี (HIV) และ เอดส์ (AIDS) ต่างกันอย่างไร? : https://www.honestdocs.co/hiv-and-aids

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save