ชิคุนกุนยา คือโรคอะไร มีอาการ วิธีรักษาอย่างไร เป็นกี่วันหาย?

28 มิ.ย. 24

ชิคุนกุนยา

 

หน้าฝน เป็นช่วงที่มียุงลายชุกชุม ทำให้เกิดโรคระบาดที่มียุงลายเป็นพาหะได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือโรค “ชิคุนกุนยา” หรือ “ไข้ปวดข้อยุงลาย” ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการไข้สูง และปวดตามข้อ ฉะนั้นอย่าประมาท! มาดูกันว่า โรคชิคุนกุนยา มีที่มาที่ไปอย่างไร และมีอาการ วิธีรักษา และป้องกันยังไงบ้าง

ดีคอลเจน

ชิคุนกุนยา คือโรคอะไร ติดต่อได้อย่างไร?

ชิคุนกุนยา (Chikungunya) คือโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา  มี “ยุงลายบ้าน” และ “ยุงลายสวน” เป็นพาหะนำโรค ติดต่อจากยุงสู่คน แต่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน

การติดต่อเกิดจากยุงลายตัวเมียกัด และดูดเลือดของคนที่กำลังป่วยเป็นไข้หวัด หรือมีเชื้อไวรัส แล้วไปกัดผู้อื่นต่อ ก็จะนำเชื้อไปสู่คนนั้น ๆ

โรคนี้พบได้ในทุกอายุ รวมทั้งทารกในครรภ์เมื่อมารดาติดเชื้อไวรัสนี้ (พบได้น้อย)  และโอกาสเกิดโรคใกล้เคียงกันทั้งในผู้ชาย และผู้หญิง โรคนี้ระบาดอยู่เป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในหน้าฝนหากมีไข้สูง ก็อย่าลืมนึกถึงโรคชิคุนกุนยา การซักประวัติคนเจ็บป่วยในครอบครัวและละแวกบ้าน เป็นกุญแจสำคัญที่นำไปสู่การวินิจฉัยโรคได้

ทำไมถึงชื่อ ชิคุนกุนยา มีที่มาจากไหน?

คำว่า ชิคุนกุนยา เป็นภาษาชนเผ่าในประเทศแทนซาเนีย (Tanzania) แปลว่า โค้งงอ (ปวดจนตัวงอ) และพบการระบาดครั้งแรกในประเทศแทนซาเนีย โรคนี้จึงถูกตั้งชื่อตามภาษาถิ่นกำเนิดของโรค ส่วนในไทยนำมาตั้งเป็นชื่อโรคภาษาไทยว่า “ไข้ปวดข้อ” หรือ “ไข้ปวดข้อยุงลาย”

สถานการณ์การระบาดของโรค

โรคชิคุนกุนยาพบครั้งแรกที่ ประเทศแทนซาเนีย ในปีพ.ศ.2495 ต่อมาในปีพ.ศ.2548 – 2549 เกิดการระบาดใหญ่ที่หมู่เกาะตอนใต้ของมหาสมุทรอินเดีย และกระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ได้แก่ สหภาพโคโมรอส สาธารณรัฐมอริเชียส และสาธารณรัฐเซเชลส์ในระยะเวลาใกล้เคียงกันเกิดการระบาดในทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศอินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์และมาเลเซีย

ในประเทศไทยระบาดครั้งแรกในปีพ.ศ.2501 จังหวัดกรุงเทพ จนถึงปีพ.ศ.2513 มีการรายงาน จํานวนผู้ป่วยลดลงเรื่อย ๆ จนไม่พบการระบาดอีก แต่หลังจากผ่านไป 10 ปีกว่า ก็พบการกลับมาระบาดอีกครั้งในประเทศไทยจนถึงปัจจุบันนี้

ยุงลาย พาหะนำโรคชิคุนกุนยา

อาการของโรคชิคุนกุนยา มีอะไรบ้าง?

เมื่อผู้ป่วยถูกยุงลายที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยากัด จะมีระยะฟักตัวของโรคประมาณ 2-5 วัน และเมื่อครบระยะฟักตัว อาการจะแสดงออกดังนี้

  • มีไข้สูงเฉียบพลัน ถึง 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 วัน หลังจากนั้นไข้จะลดลง
  • มีอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในผู้ใหญ่ และผู้สูงวัยจะมีอาการปวดข้อนานเป็นเดือน หรือเป็นปี
  • มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกาย คล้ายไข้เลือดออก ขึ้นในบริเวณลำตัว อาจพบที่แขน-ขา
  • ปวดศีรษะ ปวดตา ตาแดง ตากลัวแสง เห็นแสงสว่างแล้วน้ำตาไหลแต่ไม่มาก และอ่อนเพลีย
  • มีอาการไอ โดยเฉพาะในเด็ก อาจไอมีเสมหะ หรือไม่มีเสมหะ
  • คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย

หากผู้ป่วยสงสัยว่ากำลังป่วยเป็นโรคชิคุนกุนยา สามารถติดต่อขอส่งตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจยืนยันโรคโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และรายงานโรคได้ที่ สถาบันวิจัยสาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

การวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยา

เมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ แพทย์จะเริ่มต้นด้วยการซักประวัติ และอาการต่าง ๆ หลังจากนั้นจะมีการเจาะเลือดผู้ป่วยส่งห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันโรค และหาเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นการวินิจฉัยโรคชิคุนกุนยาที่ดีที่สุด โดยทราบผลเร็ว
ภายใน 1-2 วัน หรือถ้านานอาจทราบใน 1-2 สัปดาห์

โรคชิคุนกุนยา อันตรายถึงชีวิตหรือไม่?

ชิคุนกุนยาเป็นโรคที่ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่จะทำให้ผู้ป่วยปวดตามข้อ ทรมานอยู่หลายเดือน แต่อาการรวม ๆ ของโรคจะเบากว่า โรคไข้เลือดออก ที่เกิดจากยุงลายเหมือนกัน

โรคชิคุนกุนยา แตกต่างกับไข้เลือดออกอย่างไร?

โรคไข้เลือดออก และโรคชิคุนกุนยามียุงลายเป็นพาหะเช่นเดียวกัน รวมถึงอาการที่แสดงออกยังคล้ายคลึงกัน จึงอาจพบผู้ป่วยเป็นทั้ง 2 โรคพร้อม ๆ กันได้ อย่างไรก็ตาม โรคชิคุนกุนยามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคไข้เลือดออกมาก

ความแตกต่างของโรคชิคุนกุนยา และไข้เลือดออก มีดังนี้

  • ผู้ป่วยที่ติดเชื้อชิคุนกุนยาจะมีไข้สูงขึ้นอย่างเฉียบพลันกว่าโรคไข้เลือดออก
  • ระยะเวลาของไข้ก็สั้นกว่าเพียง 2-4 วันเท่านั้น (ไข้สูง 2 วันแรก จากนั้นไข้จะลดลงหรือหายไป) ขณะที่ไข้เลือดออก จะเป็นไข้นานถึง 4-7 วัน
  • ส่วนใหญ่ไม่พบว่าผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยาเกิดอาการช็อค เพราะเชื้อชิคุนกุนยาไม่ทำให้ พลาสม่ารั่วออกนอกเส้นเลือด
  • พบผื่นแดงตามร่างกาย ตาแดง และภาวะปวดตามข้อได้มากกว่าผู้ป่วยไข้เลือดออก

ชิคุนกุนยา vs ไข้เลือดออก

การรักษาโรคชิคุนกุนยา

ปัจจุบันยังไม่มียารักษาไวรัสชิกุนคุนยาโดยเฉพาะ รวมถึงไม่มีวัคซีนป้องกัน ดังนั้นการรักษาจึงเป็นไปตามอาการ ดังนี้

  • เมื่อมีไข้หวัด ให้กินยาลดไข้บรรเทาหวัด (ไม่แนะนำให้ใช้ยากลุ่ม NSIADs หรือ corticosteroid)
  • นอนพักผ่อนให้เต็มที่ เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันโรค
  • อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำเด็ดขาด ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • พักใช้งานข้อที่มีอาการปวด
  • ในเด็กเล็กควรเฝ้าระวังภาวะชักจากไข้สูง (พบได้มากกว่าโรคไข้เลือดออก)
  • รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด

โรคชิคุนกุนยา หายภายในกี่วัน?

ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะมีอาการของโรคไม่นานกว่า 1 สัปดาห์ อันดับแรกอาการไข้หวัด ปวดศีรษะจะหายไปภายใน 2-3 วัน รอยผื่นที่เคยขึ้นก็จะเริ่มหายไป หรือหายสนิทใน 7-14 วัน ส่วนอาการปวดตามข้อจะยังดำเนินต่อไป อาจนานเป็นเดือน หรือเป็นปี ซึ่งเป็นอาการที่ทรมานผู้ป่วยของโรคนี้เป็นอย่างมาก ฉะนั้นจึงควรป้องกันตนเองจากยุงลายให้ดี

มาตราการ 3 เก็บ ป้องกันโรคชิคุนกุนยา

  1. เก็บบ้านให้สะอาด โปร่ง โล่ง ไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง
  2. เก็บขยะ เศษภาชนะไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
  3. เก็บน้ำ ภาชนะที่ใส่น้ำจะต้องปิดฝาให้มิดชิด หรือหมั่นทำความสะอาด เปลี่ยนถ่ายน้ำ ใส่ทราย หรือแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำป้องกันไม่ให้ยุงลายมาวางไข่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ถึง 3 โรค คือ โรคชิคุนกุนยา โรคไข้เลือดออก และโรคติดเชื้อไวรัสซิกา

อ้างอิง : 1. กระทรวงสาธารณสุข 2. กรมควบคุมโรค 3. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 4. สสส. 5. cimjournal

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save