โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน – สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

27 มิ.ย. 24

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

 

เมื่อป่วย มีอาการจาม น้ำมูกใสไหล คัดจมูก คอแห้ง ไอแห้ง ๆ เราอาจจะคิดว่า ก็แค่อาการไข้หวัด ไอ หรือภูมิแพ้ทั่ว ๆ ไปเท่านั้น แต่อาการดังกล่าว อาจบ่งบอกถึง โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว แล้วเราจะดูแลตนเองให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้อย่างไร ? ไปติดตามกับ GedGoodLife กันเลย

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน (upper respiratory tract infection)  – เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ที่เกี่ยวกับ จมูก หู คอ กล่องเสียง หลอดลม จนถึงปอด โดยเชื้อจะเข้าสู่ทางจมูก และคอ ทำให้เยื่อบุจมูกบวมแดง และมีการหลั่งสารที่เป็นเมือกออกมา เป็นโรคที่พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูฝน และ ฤดูหนาว หรือช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย

กลุ่มโรคที่พบได้บ่อยเมื่อติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

สาเหตุของโรค

สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เกิดจากเชื้อไวรัส ที่มีอยู่เกือบ 200 ชนิด โดยไวรัสที่พบได้มากที่สุด คือ ไรโนไวรัส (30-80%) ส่วนไวรัสชนิดอื่น ๆ มี…

  • โคโรนาไวรัส
  • ฮิวแมนพาราอินฟลูเอ็นซาไวรัส
  • เรสไพราทอรีซินไซเตียลไวรัส
  • อดีโดนไวรัส
  • เอนเทอโรไวรัส
  • และเมตะนิวโมไวรัส

ซึ่งบ่อยครั้งที่ไวรัสมากกว่าหนึ่งชนิดก่อให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับ โรคไข้หวัด ซึ่งพบได้ในน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วย การไอจามในแต่ละครั้ง จะทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปได้ประมาณ 3 ฟุต และมีชีวิตปะปนอยู่ในอากาศได้เป็นวัน หรือหลายวันเลยทีเดียว!

การแพร่กระจายติดต่อของเชื้อ

1. การติดต่อในระหว่างผู้ใกล้ชิด / ในสถานที่แออัด อากาศไม่ค่อยถ่ายเท เช่น โรงภาพยนตร์ รถโดยสาร อาคารบ้านเรือนที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ

2. ติดจากการไอ จาม หรือติดมากับมือของผู้ป่วย รวมถึงไวรัส น้ำมูก น้ำลาย และเสมหะของผู้ป่วยที่ติดมากับผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ จาน ชาม ของเล่น หนังสือ โทรศัพท์ เป็นต้น และเมื่อใช้นิ้วขยี้ตา หรือ แคะจมูก เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายของคน ๆ นั้น จนกลายเป็นไข้หวัดได้

ระยะฟักตัว และ ระยะติดต่อของโรค

ระยะฟักตัว – ประมาณ 1 – 3 วัน นับตั้งแต่รับเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จนเริ่มปรากฏอาการให้เห็น

ระยะติดต่อ – ตลอดเวลาที่ผู้ป่วยมีเชื้อโรคในร่างกาย เมื่อหายป่วยจะมีภูมิต้านทานเกิดขึ้นประมาณ 1 – 3 เดือน แต่ก็จะเป็นไข้หวัดได้อีก โดยเด็กเล็กจำเป็นต้องรักษาความสะอาด และผู้ปกครองควรดูแลใกล้ชิด เพราะ ภูมิต้านทานโรคน้อยกว่าผู้ใหญ่

อาการป่วยของ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน มีอะไรบ้าง?

1. จาม น้ำมูกใสไหล คัดจมูก คอแห้ง หรือเจ็บคอเล็กน้อย ไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะเล็กน้อย ลักษณะสีขาว เสียงแหบ อาการตามร่างกายทั่วไป คือ ปวดศีรษะบ้าง มีไข้เป็นพัก ๆ ครั่นเนื้อครั่นตัว อ่อนเพลีย เป็นต้น เด็กเล็กอาจมีอาการอาเจียน เวลาไอ

2. อาการต่าง ๆ ในข้อ1 มักจะอยู่ได้นานประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้ามีอาการรุนแรงก็อาจมีอาการนานถึง 2 สัปดาห์ (อาจมีอาการไอร่วมด้วย ที่สามารถต่อเนื่องไปได้ถึง 3 สัปดาห์)

3. บางคนอาจสับสนอาการดังกล่าว กับไข้หวัดใหญ่ แต่ในความจริงแล้ว ไข้หวัดใหญ่จะมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมากกว่า และ มีไข้สูงกว่า ทั้งนี้ผู้ป่วยควรพบแพทย์ เมื่อไม่แน่ใจว่าตนเองเป็นไข้หวัดใหญ่ หรือ แค่ไข้หวัดทั่วไป

4. ถ้ามีอาการเกิน 4 วัน อาจมีน้ำมูกข้นเหลือง, เขียว หรือไอมีเสมหะสีเหลือง เขียว จากการอักเสบซ้ำของเชื้อแบคทีเรีย และอาจมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อนได้ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

การรักษา โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

1. ทานยาลดไข้พาราเซตามอล ถ้ามีน้ำมูกไหลจนสร้างความรำคาญ อาจทานยาแก้แพ้ เช่น ลอราทาดีน เป็นต้น

2. นอนพักผ่อนให้มาก ๆ เป็นไปได้ควรนอนในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก และนอนห่มผ้า หรือ ใส่เสื้อผ้าหนา ๆ กางเกงขายาว อาจใส่ถุงเท้าร่วมด้วยก่อนนอน

* ถ้าอาการไม่หนักมาก เพียงทำตาม 2 ข้อแรก อาการก็จะดีขึ้นได้ภายใน 2 – 3 วัน

3. ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอากาศจากเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมโดยตรง และใช้หน้ากากอนามัยปิดจมูกและปากเสมอ เมื่อต้องออกไปเจอกับอากาศข้างถนน หรือในสถานที่แออัด

4. ถ้ามีอาการไอ เจ็บคอ ร่วมด้วย ควรใช้เสียงให้น้อยที่สุด และไม่กินของทอด รสจัด รสเผ็ด เป็นต้น และงดสูบบุหรี่ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์

5. ควรพยายามทำความสะอาดคอบ่อย ๆ เช่น แปรงฟันหลังอาหารทันที กลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก หรือ เกลือ และอาจใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย เพราะ เศษอาหารมักตกค้างในช่องปาก และลำคอ ทำให้จำนวนแบคทีเรียในคอเพิ่มมากขึ้น อาจทำให้คออักเสบมากขึ้นได้

6. เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา

7. ดื่มน้ำสะอาดอุณหภูมิห้องให้มาก ๆ งดน้ำเย็นไปก่อน

8. ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 7 – 10 วัน แนะนำให้พบแพทย์

การป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน

การดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้อง เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการป้องกันโรค ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงที่ชุมชน เช่น โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า การเดินข้างถนนที่มีฝุ่นควันมาก และควรใช้หน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน

2. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ และไม่ควรเอามือเข้าปาก หรือขยี้ตา เพราะจะเป็นการนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ วันละ 8 ชั่วโมง / วัน และหมั่นทำความสะอาดห้องนอนอยู่เสมอ

4. อย่าอยู่ใกล้ชิด และ อย่าใช้ข้าวของเครื่องใช้ร่วมกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ เครื่องใช้ ของเล่น ร่วมกับผู้ป่วยโรคหวัด

5. ไอหรือจาม ควรใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือ กระดาษปิดปากอยู่เสมอ

 

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save