ทุกวันนี้คนไทยมีอาการแพ้มากขึ้น ไม่ว่าจะแพ้อากาศ หรือแพ้มลพิษต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน ฯลฯ โรคภูมิแพ้เป็นโรคที่พบบ่อยตั้งแต่ในวัยเด็กจนถึงผู้สูงอายุ โดยในวัยเด็กเล็กพบอาการแพ้ เช่น แพ้นมวัว หรือโรคผิวหนัง ในเด็กโต หรือผู้ใหญ่จะพบอาการแพ้ เช่นโรคภูมิแพ้ทางอากาศ เยื่อบุตาขาว โรคหอบหืด หรือ โรคภูมิแพ้อาหารทะเล เป็นต้น
การที่พบโรคภูมิแพ้ของระบบการหายใจเพิ่มขึ้นเนื่องจากวิถีชีวิต และสภาวะอากาศรอบตัวเราเปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยทําให้อุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมอาการแพ้จะเกิดขึ้น โดยสารก่อภูมิแพ้จะกระตุ้นให้เซลล์หลั่งสารฮีสตามีน (histamines) ออกมา
ซึ่งฮีสตามีนเป็นสารที่มีอยู่ในเซลล์ทั่ว ร่างกาย ทั้งระบบประสาท ทางเดินอาหาร และระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อฮีสตามีนถูกหลั่งออกมาจะทําให้เกิดอาการคัน ผื่น แดงที่ผิวหนัง อาจมีหลอดลมตีบ หายใจลําบาก ที่ทางเดินหายใจ และถ้าไปออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหารจะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
ยาแก้ภูมิแพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (antihistamines)
มีสรรพคุณบรรเทาอาการน้ำมูกไหล อาการจามเนื่องจากหวัด บรรเทาอาการคันจากสาเหตุต่าง ๆ ลดสารคัดหลั่ง และบรรเทาอาการคัน โดยออกฤทธิ์ยาแก้แพ้ยับยั้งผลของฮีสตามีน (histamine) ซึ่งมีผลทําให้การหลั่งน้ำมูก และอาการแพ้ อาการคันลดลง
ยาแก้แพ้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. ยากลุ่มแรก คือ ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม หรือ ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ทําให้ง่วงซึม
เป็นยาต้านฮีสตามีนรุ่นแรก ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น คลอเฟนิรามีน (chlorpheniramine) ยาเม็ดเล็ก ๆ สีเหลือง เป็นยาแก้แพ้ ที่มีฤทธิ์ลดน้ำมูกไหลได้อย่างดี และราคาไม่แพง
ไดเมนไฮดรีเนต (dimenhydrinate) ไฮดรอไซซีน (hydroxyzine) ทริโปรลิคืน (triprolidine) บรอมเฟนิรามีน (brompheniramine) คีโตติเฟน (ketotifen) และ ออกซาโทไมด์ (oxatomide) ยาในกลุ่มนี้ สามารถใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ ที่มีอาการคัน จาม น้ำมูกไหลนอกจากนี้ยังสามารถบรรเทา อาการเมารถ เมาเรือได้
ข้อควรระวัง! ในการใช้ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม
– ยาในกลุ่มนี้สามารถผ่านเข้าสู่สมอง ไปกตระบบประสาทได้ ทําให้ผู้ที่ใช้ยามีอาการง่วงซึม จึงควรระวังการใช้ในผู้ที่ทํางานเกี่ยวกับการควบคุมเครื่องจักร ขับรถ
– ห้ามใช้ร่วมกับยากล่อมประสาท ยานอนหลับ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
– ระวังการใช้ในเด็กเล็ก เพราะอาจทําให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
– ยาในกลุ่มนี้อาจทําให้อาการความดันในลูกตาผิดปกติ และภาวะปัสสาวะคั่งแย่ลง
– พบการใช้ยาบางครั้งในเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับยาขนาดสูง อาจพบอาการกระวนกระวาย อยู่นิ่งไม่ได้ นอนไม่หลับ
– ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยบางโรค เช่น ความดันในลูกตาสูง ต้อ หินบางชนิด และต่อมลูกหมากโต
– ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร เนื่องจากยา สามารถขับออก ทางน้ำนมได้ และมียาบางตัวอาจทําให้ทารกที่คลอดออกมามีความผิดปกติ ดังนั้นสตรีมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาจึงควร ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง
– ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ เช่น จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า ไม่สบายทางเดินอาหาร ปัสสาวะคั่ง น้ำหนักตัวเพิ่ม
2. ยากลุ่มที่สอง คือ ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มที่ไม่ทําให้ง่วงนอน (non-sedating antihistamines)
ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ เช่นเดียวกับยาต้านฮีสตามีนกลุ่มดั้งเดิม แต่ยาในกลุ่มนี้ผ่านเข้าสมองได้น้อยมากจึงทําให้ง่วงซึมน้อยกว่า ตัวอย่าง เช่น ลอราทาดีน (loratadine) เซทิริซีน (cetirizine) เฟโซเฟนาดีน (fexofenadine) เลโวเซทิริซีน (levocetirizine), เดสลอราทาดีน (desloratadine)
ยาต้านฮิสตามีนกลุ่มนี้สามารถใช้รักษาอาการเยื่อจมูกอักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ เยื่อตาขาว อักเสบเนื่องจากภูมิแพ้ที่เป็นตามฤดูกาล ลดอาการจาม คันจมูก คันตา ตื่น อาการบวมแดงที่เยื่อบุ และผิวหนัง ผื่นลมพิษ
อาการง่วงซึม จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า จะพบน้อยกว่ากลุ่มแรกที่เป็นกลุ่มดั้งเดิม
ข้อควรระวัง! ในการใช้ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มที่ไม่ทําให้ง่วงนอน
– ในผู้ที่รับประทานยาอื่นร่วมด้วย ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาเมื่อรับประทานร่วมกับยาฆ่าเชื้อบางชนิด
– ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคตับ โรคไต และผู้ที่มีประวัติคลื่นหัวใจผิดปกติ เพราะ อาจต้องปรับขนาดยาลดลง
– ระวังการใช้ยาในสตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร เพราะยังมีข้อมูลน้อย และมียาบางตัวอาจทําให้ทารกที่คลอดออกมามีความผิดปกติ ดังนั้นหญิงมีครรภ์ที่ต้องการใช้ยาจึงควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้ง
ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้
ยาแก้ภูมิแพ้ เป็นการรักษาตามอาการมากกว่าการแก้สาเหตุ ดังนั้นหากรู้สาเหตุของสิ่งที่แพ้ และหลีกเลี่ยง การบําบัดตามอาการที่เกิดให้ลดลงได้ โดยการเลือกใช้ยาแก้แพ้อย่างถูกต้อง เพราะการใช้ยาทุกชนิด จะมีผลข้างเคียงของยา
ผลข้างเคียงของยาแก้แพ้กลุ่มตั้งเดิม คือ
- มีฤทธิ์กดประสาททําให้ง่วงซึม จึงเป็นอันตรายถ้าได้รับยานี้ขณะขับรถ หรือ ควบคุมเครื่องจักร เพราะความแม่นยําของประสาทควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง ทําให้มีอาการหลับใน
- อาจทําให้เสมหะเหนียว จึงไม่ควรใช้ในคนที่เป็นหืด หรือไอมีเสลด ไม่ควรใช้แก้อาการเป็นหวัดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 สัปดาห์ เพราะอาจทําให้เสลดเหนียวขับออกยาก
วิธีแก้แพ้ และวิธีเลือกใช้ยาแก้แพ้
การบรรเทาอาการแพ้ที่ดีที่สุด คือ หลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ หมั่นออกกําลังกาย เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และใช้ยาในปริมาณที่เหมาะสมเท่าที่จําเป็น โดยปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเมื่อต้องการใช้ยา เพื่อที่จะเลือกยาที่มีผลข้างเคียงน้อย
ยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน เป็นยาที่หาซื้อได้ง่าย ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทราบความแตกต่างของยาแก้แพ้ จึงมักเลือกยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วงนอน ในการบรรเทาอาการอาการจาม คันจมูก น้ำมูกไหล จากข้อมูลข้างต้น ยาแก้แพ้ทั้งสองกลุ่มใช้บรรเทาอาการแพ้ที่เกิดจากการหลั่งฮีสตามีนได้คล้ายกัน
อาการที่เกิดจากการหลั่งฮีสตามีน เช่น อาการจาม คันจมูก คันตา อาการบวมแดงที่เยื่อบุผิวหนัง ส่วนอาการง่วงซึม จมูกแห้ง ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่า จะพบในยาต้านฮีสตามีนกลุ่มแรกที่ทําให้ง่วงซึมได้มากกว่ากลุ่มที่สองที่ไม่ทําให้ง่วงซึม และยาแก้แพ้แต่ละกลุ่มมีข้อควรระวัง และข้อห้ามใช้แตกต่างกัน เพื่อความปลอดภัยจึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง
อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาอาการแพ้ที่ดีที่สุด คือ สังเกตว่าอาการแพ้ เกิดขึ้นเมื่อสัมผัส หรือรับประทานสิ่งใด เมื่อทราบแล้วควรกําจัดหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้นั้น
บทความโดย : ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ
เอกสารอ้างอิง :
1. Brunton LL, editors. Goodman & Gilman’s the pharmacological basis of therapeutics , 12th ed. New York: McGraw-Hill, 2011.
2. Simons FER. Drug therapy: Advances in H1-antihistamines. N Engl J Med 2004;351:2203-17.
3. Bielory BP, O’Brien TP, Bielory L. Management of seasonal allergic conjunctivitis: guide to therapy. Acta Ophthalmol 2012;90(5):399-407.
4. Jáuregui I, Ferrer M, Montoro J, Dávila I, Bartra J, Cuvillo A, et al. Antihistamines in the treatment of chronic urticarial. J Investig Allergol Clin Immunol 2007; 17(2):41-52.