“โรคลมพิษ” คันยิก ๆ รักษายังไงดี?

27 มิ.ย. 24

โรคลมพิษ

 

โรคลมพิษ คือ โรคที่แสนน่ารำคาญ และทำให้ผิวพรรณดูน่าเกลียด น่ากลัว เพราะ ผื่นแดงขึ้นทั้งตัว แถมยังมาพร้อมอาการคันยุบยิบไปหมด อยากจะเกาก็กลัวจะเป็นแผล แล้วจะทำยังไงให้ลมพิษหาย อาการคันหมดไป มาติดตามกันต่อเลย

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย "อัลเลอร์นิค" ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด กลุ่มไม่ทำให้ง่วง

โรคลมพิษ คืออะไร ?

โรคลมพิษ หรือ ผื่นลมพิษ (Urticaria) มีลักษณะเป็นผื่น ปื้นนูนแดงขึ้นมาที่ผิวหนัง มีอาการคัน ผื่นลมพิษขึ้นได้ทั้งร่างกาย แขน ขา เป็นอาการที่พบได้บ่อยในทุกเพศทุกวัย โดยพบมากที่สุดในช่วงอายุ 20-40 ปี อาการมักอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ก็อาจมีผื่นลมพิษขึ้นมาใหม่อีกได้

สาเหตุของโรคลมพิษ

โรคลมพิษ เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยเมื่อร่างกายมีปฎิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้ ร่างกายปล่อยสาร “ฮีสตามีน (Histamine)” และสารอื่น ๆ เข้าสู่กระแสเลือดเป็นจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว มีพลาสมาหรือน้ำเลือดซึมออกมาในผิวหนัง จนทำให้เกิดผื่นนูนแดงที่ผิวหนังขึ้น ลมพิษ อาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

  • แพ้อาหาร เช่น แพ้อาหารทะเล สารกันบูด
  • แพ้ยา ปฏิกิริยาการแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้
  • การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมีพยาธิ
  • โรคระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคต่อมไทรอยด์
  • แพ้สารที่สัมผัส แพ้ยาง (Iatex) ขนสัตว์ พืช สารเคมีบางชนิด
  • แพ้พิษแมลง เช่น ปฏิกิริยาที่เกิดจากผึ้ง ต่อต่อย
  • มะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือระบบอื่น ๆ ของร่างกาย
  • ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง เกิดจากมีภูมิคุ้มกันไปกระตุ้นให้เกิดการ หลั่งสารเคมีบางชนิดออกมาที่ผิวหนัง ทำให้เกิดผื่นลมพิษขึ้น
โรคลมพิษ

ประเภทของ โรคลมพิษ

โรคลมพิษแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1. โรคลมพิษชนิดเฉียบพลัน (Acute urticaria) คือ มีอาการผื่นลมพิษ ไม่เกิน 6 สัปดาห์ มักเกิดจากการแพ้ เช่น แพ้อาหาร แพ้ยา การติดเชื้อในร่างกาย แมลงสัตว์กัดต่อย ฯลฯ มีอาการแน่นหน้าอก, แน่นจมูก, ปวดท้อง, ความดันต่ำ, ปากและตาบวม

2. โรคลมพิษชนิดเรื้อรัง (Chronic urticaria) คือ มีอาการผื่นลมพิษเป็น ๆ หาย ๆ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และเป็นต่อเนื่องติดต่อกันเกิน 6 สัปดาห์ขึ้นไป ยังไม่พบสาเหตุที่แน่นอนเหมือนลมพิษชนิดเฉียบพลัน อาจเกิดจากความแปรปรวนภายในร่างกาย แต่สิ่งที่สามารถกระตุ้นให้ลมพิษเรื้อรังเป็นมากขึ้น ได้แก่ ยาแอสไพริน, ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์, ยาปฏิชีวนะ เป็นต้น

ลมพิษเรื้อรัง ยังอาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น ๆ อีก เช่น การแพ้แสงแดด แพ้ความร้อน ความเย็น เหงื่อ (เช่น เหงื่อหลังจากการออกกำลังกาย) การสัมผัสน้ำ อุณหภูมิในร่างกายสูง หรือการขีดข่วนที่เกิดขึ้นกับผิวหนัง เป็นต้น


อาการโรคลมพิษ

– มีผื่นลมพิษขึ้นบริเวณทั่วร่างกาย ผื่นลมพิษ จะมีลักษณะวงนูนแดง ขนาด และรูปร่างต่างกัน เช่น วงกลม วงรี วงหยัก ไม่มีขุย เนื้อภายในวงจะนูน และซีดกว่าขอบเล็กน้อย อาจเกิดขึ้นได้ที่หน้า ลำตัว แขนขา หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกายก็ได้

– มีอาการคัน หรือแสบร้อนบริเวณผื่นลมพิษ พอเกาตรงไหนก็จะมีผื่นแดงขึ้น

– มีไข้ ลมพิษ ทำให้บางคนอาจมีไข้ขึ้นเล็กน้อย หรือรู้สึกร่างกายร้อนขึ้น

– ผื่นลมพิษ นูนแดงมักจะคงอยู่ไม่นาน ไม่เกิน 24 ชั่วโมง โดยประมาณ 3-4 ชั่วโมง ผื่นนั้นก็จะยุบหายไปโดยไม่มีร่องรอย แต่ก็อาจจะเกิดขึ้นใหม่ได้อีก

โรคลมพิษ รักษาอย่างไรดี ?

หาสาเหตุของโรคลมพิษ ซึ่งส่วนใหญ่ลมพิษ มาจากอาการแพ้บางอย่าง เช่น ถ้าแพ้ยา หรืออาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ก็ให้หยุดยาหรือเลี่ยงการกินอาหารชนิดนั้น ๆ

– กินยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีน (Antihistamine) ถ้ามีอาการลมพิษ ผื่นคัน จากการแพ้ อาการไม่รุนแรงมาก อาจซื้อยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีนจากร้านขายยากินเองได้ เช่น ลอราทาดีน (Loratadine) ซึ่งเป็นกลุ่มยาแก้แพ้ หรือ ยาต้านฮีสตามีนที่ไม่ทำให้ง่วงซึม ออกฤทธิ์ได้ยาวนาน และปลอดภัย บรรเทาอาการคัน อาการแพ้จากสารก่อภูมิแพ้

– ใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroids) เป็นยาที่แพทย์สั่งให้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในกรณีที่เป็นลมพิษเฉียบพลันรุนแรง

– ทาคาลาไมน์โลชั่น (calamine lotion) การทาคาลาไมน์โลชั่น ไม่ใช่เพื่อรักษาลมพิษ แต่เพื่อลดอาการคัน เพราะคาลาไมน์เป็นแป้งน้ำผสมเมนทอลเย็น ๆ ใช้ทาบริเวณที่เป็นผื่นลมพิษ แก้คัน ทำให้ไม่แกะ ไม่เกาจนผิวหนังอักเสบ

– ไปพบแพทย์หากมีอาการรุนแรง หากมีอาการอื่น ๆ นอกจากผื่น ลมพิษ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เสียงแหบ ปวดท้อง มีหน้าบวม ตาบวม ปากบวมอย่างมาก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว เนื่องจากเป็นอาการแพ้รุนแรง หรือ หากผื่นลมพิษไม่ดีขึ้นใน 24 ชั่วโมง มีอาการปวด อ่อนเพลีย ไม่ตอบสนองต่อยาแก้แพ้ ควรไปพบแพทย์เช่นกัน


วิธีดูแลตัวเอง บรรเทาอาการคัน เมื่อเป็นลมพิษ

  • ไม่เกาที่ผื่นลมพิษ เพราะอาจจะทำให้เป็นแผล เกิดการติดเชื้อ
  • ใช้ยาทาบรรเทาอาการคัน เช่น คาลาไมน์โลชั่น เพื่อช่วยบรรเทาอาการคันของ ลมพิษ
  • ไม่อาบน้ำอุ่น หรือน้ำร้อน เพราะจะทำให้ผิวแห้ง คัน
  • ประคบด้วยน้ำเย็น น้ำแข็ง หรือ เจลเก็บความเย็น (Cold Pack)
  • ควรทำความสะอาดผิวหนัง บริเวณที่มีผื่นด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ แล้วเช็ดให้แห้ง
  • ทำความสะอาดเสื้อผ้า ที่นอน เครื่องนอน ให้สะอาด
  • งดใช้สบู่ โลชั่น เครื่องสำอาง ที่มีสารเคมีรุนแรง น้ำหอม
  • ใช้ยาต้านฮีสตามีน หรือยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ง่วง เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • ไม่ควรเครียด หรือวิตกกังวลมากเกินไป
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อพักผ่อนน้อย ภูมิต้านทานต่ำ ก็อาจทำให้ผื่นลมพิษหายช้า

 

อ้างอิง : sikarin

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save