3 โรคหน้าหนาว แม่ท้องต้องรับมือเมื่ออากาศเปลี่ยน

27 มิ.ย. 24

3 โรคหน้าหนาว

 

เข้าหนาวแล้ว คุณแม่หลายคนอาจจะชอบ เพราะ ไม่ต้องทนร้อน ทนฝน และรู้สึกอึดอัดคูณสอง เพราะ มีลูกในท้องอยู่ด้วย แต่หน้าหนาวก็ไม่ใช่ว่าจะดีไปเสียหมดนะคุณแม่ เพราะ ยังมี 3 โรคหน้าหนาว ที่คุณแม่ท้องต้องระวังมากเป็นพิเศษเลยแหละ แต่จะมีอะไรบ้างนั้น มาติดตามกันด้านล่างได้เลย

3 โรคหน้าหนาว แม่ท้องต้องเตรียมพร้อมรับมือ

1. ไข้หวัดใหญ่

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว เป็นอีกช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza มีความแตกต่างจากไข้หวัดธรรมดาที่ ไข้หวัดใหญ่อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงได้ โดยเฉพาะคนท้อง เด็กเล็ก หรือผู้สูงอายุ เช่น ทำให้เกิดปอดบวม ปอดอักเสบติดเชื้อ

อาการ

  • มีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว
  • ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก โดยเฉพาะที่หลัง ต้นแขน ต้นขา
  • ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
  • คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ๆ
  • อาการจะทุเลาและหายป่วยภายใน 5 – 7 วัน หากไม่เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ

3 โรคหน้าหนาว

เป็นไข้หวัดใหญ่ตอนตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร ?

  • ระวังโรคแทรกซ้อน หากเป็นไข้หวัดใหญ่ระหว่างตั้งครรภ์ อาจเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่ายกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะภาวะปอดบวม ปอดอักเสบ ติดเชื้อในอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอาจรุนแรงจนเสียชีวิตได้

เตรียมพร้อม ป้องกันไข้หวัดใหญ่

  • ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ แม่ท้องที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งควรเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย โดยสามารถฉีดได้ในระหว่างการตั้งครรภ์ โดยภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะผ่านรกจากมารดาสู่ลูกในครรภ์ด้วย ทำให้เมื่อคลอด ลูกจะมีภูมิคุ้มกันไข้หวัดใหญ่ตั้งแต่แรกเกิด

การรักษาไข้หวัดใหญ่เมื่อตั้งครรภ์

  • ดูแลรักษาช่วงแรกได้เองที่บ้าน เมื่อมีไข้สูงให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว
  • ใช้ยาลดไข้พาราเซตามอล หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพริน
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารอ่อน ๆ และให้นอนพักผ่อนมาก ๆ
  • ไปพบแพทย์ สำหรับคนท้องหากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน หรือ สังเกตว่ามีอาการอื่นด้วย เช่น ไข้สูง ซึม หายใจหอบหายใจลำบาก เจ็บแน่นหน้าอก หน้ามืด ควรรีบไปพบคุณหมอ

2. อีสุกอีใส

โรคอีสุกอีใส (chickenpox) เป็นโรคที่มักแพร่ระบาดในช่วงหน้าหนาว เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา (Varicella virus) สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย โดยส่วนใหญ่จะหายได้เองไม่น่าวิตกกังวล แต่หากมาเป็นอีสุกอีใสตอนตั้งท้อง อาจจะเป็นฝันร้ายของคนเป็นแม่ก็ได้

อาการ

  • ในผู้ใหญ่จะเริ่มด้วยมีไข้สูง
  • ภายใน 1-2 วัน ไข้ลด แต่ผิวหนังจะขึ้นผื่นอย่างรวดเร็ว เริ่มจากลำตัว ใบหน้า ก่อนจะลามไปถึงแขนและขา
  • ผื่นจะกลายเป็นตุ่มพองมีน้ำใสอยู่ในตุ่มนาน 4-6 วัน
  • แผลเริ่มตกสะเก็ดประมาณ 1-3 วัน และแผลจะจางลงเป็นปกติใน 2 สัปดาห์

เป็นอีสุกอีใสตอนตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร ?

– ทารกพิการ ถ้าเป็นโรคสุกใสในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก อาจทำให้เด็กในครรภ์พิการได้ เรียกว่า “กลุ่มอาการอีสุกอีใสแต่กำเนิด” (Congenital varicella syndrome) ทำให้มีแผลเป็นตามตัว แขนขาลีบ ตาเล็ก ต้อกระจก ศีรษะเล็ก ปัญญาอ่อน เป็นต้น

– ทารกคลอดมาเป็นอีสุกอีใสรุนแรง ถ้าเป็นอีสุกอีใส ระหว่างตั้งครรภ์ในระยะก่อนคลอด 5 วัน หรือ หลังคลอด 2 วันอาจทำให้ทารกที่เกิดมาเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงได้

เตรียมพร้อม ป้องกันอีสุกอีใส

– ฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่หากเคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ก็มักจะไม่เป็นอีก อย่างไรก็ตามก่อนตั้งครรภ์ หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเคยติดเชื้ออีสุกอีใสมาก่อนหรือไม่ ก็ควรจะปรึกษาหมอให้แน่ใจ

– คุมกำเนิดหลังฉีดวัคซีน หากวางแผนตั้งครรภ์ แล้วฉีดวัคซีนอีสุกอีใส หลังฉีดวัคซีนควรคุมกำเนิดนาน 3 เดือน จึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้อย่างปลอดภัย

การรักษาอีสุกอีใสเมื่อตั้งครรภ์

  • เช็ดตัว กินยาลดไข้พาราเซตามอล อย่ากินยาแอสไพรินเพราะอาจมีอาการแพ้ยาได้
  • ทายาแก้คัน เช่น คาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion)
  • ตัดเล็บให้สั้น เพื่อป้องกันการเกา เกิดการติดเชื้อ
  • ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างแผล เช็ดตามตุ่มแผลเพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ถ้าเป็นอีสุกอีใสตอนตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาหมอ เพื่อเฝ้าระวังโรคแทรกซ้อน
  • รีบไปพบคุณหมอเมื่อสงสัยว่ามีอาการแทรกซ้อน เช่น มีไข้สูงต่อเนื่องถึงแม้ว่าจะกินยาแล้ว ตุ่มใสเป็นหนอง ไอมากมีเสมหะ หอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก ปวดศีรษะรุนแรง
  • หากตั้งครรภ์ 20 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องหมั่นนับลูกดิ้น หากพบว่าลูกไม่ดิ้น มีความผิดปกติ ต้องรีบไปพบหมอทันที
  • แม่ท้องต้องสังเกตว่ามีอาการท้องแข็ง หรือเจ็บท้องก่อนกำหนดหรือไม่

3. หัดเยอรมัน

หัดเยอรมัน เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อหัดเยอรมัน ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า “รูเบลลา” (Rubella) พบได้มากในจมูกและลำคอ เป็นอีกหนึ่งโรคไข้ ออกผื่น ที่พบระบาดในช่วงหน้าหนาว เช่นเดียวกับอีสุกอีใส

อาการ

  • เริ่มมีไข้ต่ำ ๆ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัวและตามข้อเล็กน้อย
  • หลังจากเป็นไข้ 1-2 วัน จะเกิดผื่นแดงบริเวณใบหน้า แล้วกระจายไปตามลำคอ ตัว แขน ขา
  • บริเวณหลังหูข้างท้ายทอย จะคลำพบต่อมน้ำเหลืองโตเล็กน้อย กดเจ็บ อาการ ดังกล่าวจะมีอยู่ 2-3 วัน

เป็นหัดเยอรมันระหว่างตั้งครรภ์ อันตรายอย่างไร ?

ทารกผิดปกติ หรือพิการ หากป่วยเป็นหัดเยอรมัน ในช่วงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์แรก ทารกในครรภ์ อาจมีปัญหาความผิดปกติหลายอย่าง และความพิการที่เห็นได้ชัดคือ ตาเป็นต้อกระจกหรือต้อหิน หูหนวก หัวใจพิการแต่กำเนิด และมีความผิดปกติทางสมอง

เตรียมพร้อม ป้องกันก่อนเป็นหัดเยอรมัน

– ฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน ก่อนการแต่งงาน หรือวางแผนตั้งครรภ์ควรตรวจภูมิคุ้มกันต่อเชื้อหัดเยอรมันหรือเช็­­­กประวัติการฉีดวัคซีนในวัยเด็ก หากไม่มีประวัติการฉีดหรือตรวจพบว่าไม่มีภูมิคุ้มกันต่อหัดเยอร­­­มัน ก็ควรฉีดวัคซีน และถ้าฉีดวัคซีนหัดเยอรมันควรคุมกำเนิดไว้ 3 เดือน

– ห้ามใกล้ชิดผู้ป่วยหัดเยอรมัน ขณะตั้งครรภ์ 3 เดือนแรกควรหลีกเลี่ยงให้ห่างจากผู้ป่วย หรือผู้ที่สงสัยว่าจะเป็นหัดเยอรมัน

การรักษาหัดเยอรมันเมื่อตั้งครรภ์

  • รักษาตามอาการ ถ้ามีไข้สูงให้กินยาลดไข้พาราเซตามอล (Paracetamol)
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน (Aspirin)
  • ทายาแก้ผดผื่นคัน หรือคาลาไมน์โลชั่น (Calamine lotion) ทาบริเวณที่คันวันละ 2-3 ครั้ง
  • ปรึกษาหมอ ถ้าเป็นหัดเยอรมันตอนตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาหมอ
  • ยุติการตั้งครรภ์ หากตรวจวินิจฉัยได้แน่ว่าติดหัดเยอรมันในช่วงท้อง 3 เดือนแรก หมอมักจะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ หรือทำแท้ง เพราะโอกาสเด็กจะพิการมีถึง 50% ดังนั้นถ้าเมื่อป่วยเป็นหัดเยอรมันตอนตั้งท้อง ควรรีบปรึกษาหมอเพื่อการดูแลที่ถูกต้อง
  • ฉีดอิมมูนโกลบูลิน (Immunoglobulin) หากในบางรายที่หมอไม่ได้ยุติการตั้งครรภ์ อาจจะฉีดอิมมูนโกลบูลินให้ ซึ่งวิธีนี้แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของทารกในครรภ์ได้ แต่ก็สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคที่เกิดกับทารกได้

ในขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้แม่ท้องเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าปกติ และเมื่อป่วยแล้วอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน หรือเจ็บป่วยรุนแรงได้มาก เพราะภูมิต้านทานร่างกายที่ลดลง จึงจำเป็นต้องดูแลตัวเองเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษ

ควรกินอาหารที่มีประโยชน์ กินวิตามินคนท้อง เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อน ออกกำลังกายให้พอดี ก็จะช่วยเสริมสร้างร่างกายไม่ให้เจ็บป่วย และดูแลลูกน้อยในท้องให้แข็งแรง สมบูรณ์จนคลอดออกมาได้

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save