ติดหวาน ป่วยแน่ ๆ 10โรคติดหวาน ที่ต้องรู้!

27 มิ.ย. 24

 

ฮันนี่โทสต์หวานฉ่ำ ชาเย็นหวานนุ่ม หรือแม้แต่ก๋วยเตี๋ยวที่เทน้ำตาลลงไปจนหวานเจี๊ยบ พฤติกรรมการกินแบบ ติดหวาน เหล่านี้ สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในสังคมไทย ที่นิยมกินหวานกว่าต่างประเทศมาก ทว่า เมื่อระดับน้ำตาลสูงเกินไป จะส่งผลให้อินซูลินทำงานผิดปกติ ทำให้เซลล์เกิดภาวะต้านอินซูลิน และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคมากมาย เมื่อเห็นรายชื่อของโรคเหล่านี้แล้ว ผู้ที่ชื่นชอบของหวานอาจต้องหันกลับมาคิดใหม่ว่า ยังจะกินหวานขนาดนี้อยู่อีกหรือไม่

1398-ป่วย-อ้วน

10โรคร้าย ที่คน ติดหวาน ต้องรู้!

1. โรคเบาหวาน

ภาวะต้านอินซูลินที่รุนแรง จะทำให้ตับอ่อนไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่พุ่งสูงขึ้น หรือสวิงขึ้นลง จะทำให้คุณเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด

2. โรคหัวใจ
อาหารที่มีน้ำตาลสูง เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะน้ำตาลมีผลต่อกระบวนการสูบฉีดของหัวใจ เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว กลูโคส และอินซูลินในกระแสเลือด

3. ไขมันพอกตับ
เมื่อตับสังเคราะห์ฟรักโทสให้กลายเป็นไขมันแล้ว ก็จะนำไปเก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับ

4. ไขมันในเลือดสูง
เมื่อกินอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลมาก ๆ จะทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ขึ้นในร่างกาย ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น

5. โรคอ้วน
ความหวานจะทำให้รู้สึกหิวมากขึ้น และไม่รู้สึกอิ่ม คุณจะรู้สึกว่า กินเท่าไรก็ไม่พอเสียที และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้อย่างง่ายดายโดยไม่รู้ตัว

1398-ติดหวาน
6. ความดันโลหิตสูง
น้ำตาลทำให้ฮอร์โมนแคทีโคลามีน และกรดยูริกสูง ซึ่งต่างก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงทั้งสิ้น

7. ไมเกรน
น้ำตาล และของหวานต่าง ๆ เป็นหนึ่งในอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการไมเกรน

8. ฟันผุ
น้ำตาลนั้นย่อยง่าย แบคทีเรียในช่องปากจึงสามารถเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นสาเหตุของปัญหาในช่องปากต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟันผุ เคลือบฟันกัดกร่อน โรคเหงือก และกลิ่นปาก

9. มะเร็ง
อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ใช้ควบคุมการเจริญเติบโต และการเพิ่มขึ้นของเซลล์มะเร็ง การเพิ่มขึ้นของอินซูลิน และระดับอินซูลินที่ไม่คงที่ ก็อาจทำให้มีเซลล์มะเร็งเติบโตอยู่ในร่างกายของคุณได้

10. โรคกระดูกเปราะ
น้ำตาลสามารถซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ทำเกิดความไม่สมดุลในเลือด เมื่อเลือดมีความเป็นกรดมากขึ้น ร่างกายจึงต้องปรับสมดุลโดยการดึงแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สะสมอยู่ในกระดูกมาใช้แทน

1398-ติดหวาน-อ้วน-1
ความจริงแล้ว น้ำตาลก็เป็นเหมือนยาเสพติดชนิดหนึ่ง เพราะสารให้ความหวานจะเข้าไปกระตุ้นการหลั่งโดพามีน หรือฮอร์โมนแห่งความสุข ทำให้เกิดอาการเสพติด และรู้สึกอยากกินของหวานอยู่ตลอด แม้ว่าการกินของหวานจะทำให้คุณรู้สึกมีความสุข แต่การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายต้องทำงานหนักขึ้น และเป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆได้เช่นกัน

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save