บทความโดย เภสัชกร ธร อำนวยผลวิวัฒน์
หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท ดังนี้
- อาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น อาหารรสจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด
- อาหารที่ทำให้ย่อยยาก เช่น อาหารไขมันสูง อาหารปรุงด้วยน้ำมันมากๆ เนย ชีส
- อาหารหรือเครื่องดื่มที่สัมพันธ์กับการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เช่น ช็อกโกแลต เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาหารประเภทนี้จะไปลดการบีบตัวของกระเพาะอาหาร
- อาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส(ลม)และกรดในกระเพาะอาหาร เช่น อาหารหมัก ดอง
- อาหารบางชนิดกระตุ้นให้กระเพาะอาหารหลั่งกรดมากขึ้น เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารมื้อใหญ่ ควรแบ่งเป็นมื้อเล็กๆ รวมถึงเคี้ยวอาหารให้ละเอียดขณะทานอาหาร
- หาวิธีลดความเครียด เช่น ทำกิจกรรมที่ชอบ เนื่องจากความเครียดทำให้กระเพาะหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้น
- มีการควบคุมน้ำหนัก เมื่อน้ำหนักลดลง ความดันในกระเพาะอาหารก็จะลดลงตาม ทำให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารดันหูรูดหลอดอาหารน้อยลง การท้นของกรดที่ขึ้นมาจะลดลงตามไปด้วย
- หลีกเลี่ยงการนอนราบ/นอนเอนตัว หลังรับประทานอาหาร ควรรออย่างน้อย 4 ชั่วโมง
- ไม่ควรออกกำลังกายหลังรับประทานอาหารเสร็จทันที
- ดูแลระบบขับถ่าย ระวังอาการท้องผูก เนื่องจากท้องผูกทำให้มีลมในท้องมีมากกว่าปกติ ทำให้เกิดแรงดันในท้องมากขึ้น สามารถดันให้กรดไหลย้อนขึ้นมา
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้
- GEDไว้ลดกรดไหลย้อน ควรปรึกษาปัญหาสุขภาพจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงหากมีการใช้ยาที่มีผลข้างเคียงเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร