ไอเรื้อรัง คือ อาการไอที่มีระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ภาวะไอเรื้อรังมีหลายสาเหตุ ถ้าอยากหายก็ต้องหาสาเหตุให้พบ! มาดูกันว่า “6 สาเหตุไอเรื้อรัง” ที่พบได้บ่อยที่สุด มีอะไรบ้าง ใครไอบ่อยต้องรู้!
- แพทย์เผย! อาการเตือนมะเร็งปอด ภัยร้ายเงียบที่เริ่มจาก ไอเรื้อรัง
- ผู้สูงวัยไอเรื้อรัง อ่อนเพลียง่าย เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันอย่างไร?
- อาการไอหลังกินข้าว ทั้งไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ เกิดจากสาเหตุอะไร?
เช็ก! 6 สาเหตุไอเรื้อรัง รู้เท่าทันรักษาหายได้
1. จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ และควันบุหรี่
เช่น อากาศแห้ง ลมที่พัดโดนหน้าเรา ฝุ่นต่าง ๆ PM2.5 ควันบุหรี่ ไอระเหยบางชนิด ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการไอ โดยเฉพาะในเด็ก จะมีอาการไอได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งถ้าเราต้องอาศัยอยู่กับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ทุกวัน ไม่หลีกเลี่ยง หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังนานเป็นเดือน ถ้าวันไหนที่เราดื่มน้ำไม่เพียงพอ ใช้เสียงมาก ก็จะยิ่งไอหนักมากขึ้นไปอีก
สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังแล้ว ยังก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาอีกด้วย เช่น โรคถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เกิดการอักเสบในทางเดินหายใจ มะเร็งปอด เพิ่มอัตราการเสียชีวิตของประชากรทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
2. เป็นภูมิแพ้ แล้วมีน้ำมูกไหลลงไปในคอ (Post-nasal drip)
เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก และเป็นสาเหตุลำดับต้น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง สาเหตุเกิดจากเยื่อจมูกบวมมาก จนปิดรูจมูก และมักจะมีน้ำมูกที่เหนียวมากไหลลงคอ จนก่อให้เกิดอาการไอ ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวเองว่ามีน้ำมูกไหลลงคอ แม้แพทย์ถามแล้วก็ตอบว่าไม่มี แต่พอแพทย์ส่องดูหลังคอ จะเห็นว่ามีน้ำมูกไหลลงไปในคอ แต่คนไข้ไม่รู้สึก
3. โรคหอบหืด
หอบหืด เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ยากที่จะควบคุมอาการได้ ประวัติที่สำคัญในผู้ป่วยหอบหืด ได้แก่ ไอเรื้อรังนานกว่า 8 สัปดาห์ขึ้นไป การหายใจ และได้ยินเสียงหวีด หายใจลำบาก แน่นหน้าอก อาการมักเกิดขึ้นตอนกลางคืน ผู้ป่วยส่วนมากมักจะมีประวัติตั้งแต่ยังวัยเด็ก
4. สูบบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า รวมถึงการสูบกัญชา
เรื่องนี้ นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอดและวิกฤตบำบัด ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่า “ไม่ว่าจะสูบอะไรก็ไม่เป็นผลดีต่อปอดทั้งนั้น” เลิกก่อนเลยแล้วอาการไอจะเริ่มดีขึ้น
บางคนรู้ว่าไอเรื้อรังจากการสูบบุหรี่มา ก็เลิกสูบ แล้วหวังจะให้หายเลย แต่ในความจริง ร่างกายเราต้องปรับตัวไม่ใช่เลิกแล้วจะหายไอทันที ต้องใช้เวลานาน บางคนกลับไอมากกว่าเดิมทั้งที่เลิกแล้ว สาเหตุก็เพราะ ปอดของเรากำลังเอาของที่เป็นของเสียที่คั่งอยู่ในปอดออกมา จึงทำให้เกิดอาการไอ แต่พอของเสียหมดไป อาการไอของเราก็จะดีขึ้นเอง
อ่านเพิ่มเติม -> เลิกสูบบุหรี่แล้ว แต่ยังไม่เลิกไอ เกิดจากอะไร ควรดูแลตนเองยังไงดี?
5. จากการใช้ยาบางประเภท
เช่น ยาในกลุ่ม ACEIs ซึ่งเป็นยาลดความดันโลหิต มักจะทำให้เกิดอาการคันคอ ไอแห้ง ๆ ต้องกระแอมไอออกมาเรื่อย ๆ และส่วนใหญ่เกิดภายหลังเริ่มรับประทานยาในช่วง 1-2 เดือน ยิ่งถ้ามีโรคหอบหืด โรคหลอดลมอยู่ก่อนแล้วก็จะไอได้มากกว่าคนปกติ ถ้าสามารถเปลี่ยนเป็นยาตัวอื่นได้ อาการก็จะลดลง
ยาตัวอื่น ๆ ที่ทำให้ไอ ก็คือยาที่ทำให้เกิด “กรดไหลย้อน” เช่น ยาในกลุ่มบิสฟอสโฟเนต รวมทั้งยากลุ่ม แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium Channel Blockers-CCBs) ซึ่งเป็นยาลดความดันอีกประเภทหนึ่ง ทำให้หูรูดของกระเพาะอาหารคลายตัว ทำให้กรดในกระเพาะไหลขึ้นมาได้
6. เป็นโรคกรดไหลย้อน (พบบ่อยในคนไทย)
นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน ชี้ว่า กรดไหลย้อนเพียงแค่ 1 หยด ก็ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังได้! ถึงแม้จะกินยาแก้ไอก็ไม่ช่วยให้หายไอได้ เพราะต้องรักษาอาการกรดไหลย้อนให้หายดีก่อน ถึงจะช่วยอาการไอให้ดีขึ้นได้ ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การนอน เป็นต้น
ไอเรื้อรัง มักมีอาการแสดงอย่างไร?
- มักมีอาการ ไอแบบมีเสมหะ ปริมาณมาก
- บางครั้งอาจมีอาการไอเป็นเลือด หรือไอมีเสมหะเป็นหนอง (โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง)
- มีอาการคันระคายเคืองคอตลอดเวลา (รู้สึกเหมือนมีอะไรอยู่ในคอตลอด)
- ไอมากหลังจากเปลี่ยนท่าจากนั่ง เป็นนอนลง
- ไอมากร่วมกับมีอาการแน่นแสบร้อนบริเวณกลางหน้าอก เนื่องจากกรดไหลย้อน
- ลมหายใจเหม็นก็เป็นผลเสียหนึ่งที่เกิดจากไอเรื้อรัง
แล้วเราจะรักษาอาการไอเรื้อรังได้อย่างไร?
หลังจากทราบถึง 6 สาเหตุไอเรื้อรัง กันไปแล้ว ก็จะเห็นได้ว่ามีโอกาสหายขาดอยู่ถ้าเราสามารถแก้ไขที่ต้นเหตุได้ ดังต่อไปนี้
1. หาสาเหตุของอาการไอให้พบ เป็นการรักษาอาการไอเรื้อรังที่สำคัญที่สุด เช่น ถ้าเราไอจากการสูบบุหรี่ ก็ควรงดสูบ อาการก็ดีขึ้นจนไม่กลับมาไอเรื้อรังอีก หรือ ถ้าแพ้ฝุ่นจนไอเรื้อรัง ก็ต้องหลีกเลี่ยงฝุ่น ใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่ผู้ป่วยทุกคนควรปฎิบัติตาม
2. พบแพทย์สาขาโรคหู คอ จมูก ในกรณีที่เราไม่ทราบว่าสาเหตุของอาการไอเกิดจากอะไร แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ซักประวัติ ตรวจร่างกายอย่างละเอียด เช่น การส่งตรวจเสมหะ การตรวจเอ็กซ์เรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอก (CT-scan Chest) การส่งตรวจเอ็กซ์เรย์ปอด เป็นต้น และอาจต้องมาพบแพทย์ซ้ำ เพื่อติดตามอาการต่อไป
3. ไม่เปิดเครื่องปรับอากาศ หรือพัดลมจ่อตัวเกินไป เนื่องจากอากาศที่เย็นสามารถกระตุ้นหลอดลมให้เกิดการหดตัว ทำให้มีอาการไอมากขึ้นได้
4. ถ้าไอไม่มาก แนะนำให้ใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการไอ กรณีที่มีเสมหะร่วมด้วย ควรได้รับยาละลายเสมหะ
อาการไอมีเสมหะ บรรเทาได้ด้วยยาละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน”
คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ยาแก้ไอละลายเสมหะ” บรรเทาอาการไอจากการมีเสมหะมาก เป็นยาที่ออกฤทธิ์เข้าไปย่อยโปรตีน มีผลทำลายการรวมตัวกันของโปรตีนที่จับตัวเป็นก้อนเสมหะเหนียวข้น รวมถึงลดแรงตึงผิวของเสมหะ ทำให้เสมหะใสขึ้น เหนียวข้นน้อยลง ทำให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น
สรรพคุณของยาคาร์โบซิสเทอีน
- บรรเทาอาการไอมีเสมหะ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด
- ลดการเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น
- บรรเทาอาการไอ เนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
- บรรเทาอาการไอ ที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบ
อ้างอิง : 1. Doctor Tany 2. รพ. รามาธิบดี 3. รพ. พริ้นซ์ สุวรรณภูมิ