โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในช่วงทุกเพศ ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในวัยทำงาน ที่อาจเกิดความเครียด การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารเผ็ด การรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ทำให้เกิดอาการโรคกระเพาะขึ้นมาได้ ซึ่งควรรีบได้รับยาบรรเทาอาการ หรือทำการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะอาหารและมีสุขภาพที่ดี ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข
- 10 พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร
- กินอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้เป็นโรคกระเพาะจริงหรือไม่?
- แชร์ 3 วิธีกินหมาล่า ไม่ทำร้ายกระเพาะ และไม่เป็นกรดไหลย้อน
อาการสำคัญของโรคกระเพาะอาหาร
- อาการปวดท้อง แสบท้อง
- รู้สึกจุกแน่นท้อง ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นตรงบริเวณแถวใต้ลิ้นปี่
- มักเป็นตอนท้องว่าง หรือเป็นบางเวลาของวัน
- ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นช่วงกลางคืน หรือผู้ป่วยบางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้
ซึ่งจากอาการที่เกิดขึ้น ไม่ควรทิ้งไว้ ควรรีบได้รับการรักษาทั้งจากการปรับพฤติกรรม หรือใช้ยารักษาให้ตรงจุด
ยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร
กลุ่มยาลดกรด เพื่อยับยั้งการหลั่งกรดที่ต้นเหตุ เช่น ยากลุ่ม Proton-pump inhibitors เป็นต้น ซึ่งควรได้รับการรับประทานยาต่อเนื่องอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์
กลุ่มยาลดกรด ที่บรรเทาอาการแสบร้อนได้ทันที เช่น ยาลดกรดชนิดน้ำ ได้แก่ ยาลดกรดน้ำอลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, AlOH3), แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate, MgCO3) หรือยาลดกรดแบบชนิดเม็ดที่เป็นสูตรผสมคืออลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, AlOH3) และแมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate, MgCO3) ทำให้ลดการเกิดอาการข้างเคียงท้องผูก และท้องเสียได้
กลุ่มยาที่ช่วยปรับสมดุลกระเพาะอาหารและลำไส้ (prokinetic agent) ได้แก่ ยาดอมเพอริโดน เป็นต้น
ทั้งนี้นอกจากการใช้ยา ควรมีการปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น การหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และควรปรับพฤติกรรมอย่างสม่ำเสมอ หากมีอาการรุนแรงผิดปกติ เช่น ปวดท้อง แสบท้องจนรบกวนชีวิตประจำวัน หรือมีถ่ายอุจจาระปนเลือด ควรรีบปรึกษาแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญโดยตรง
บทความโดย ภญ. ธร อำนวยผลวิวัฒน์
ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ