หิวบ่อย อยากกินตลอด เป็นเพราะอะไร ทำยังไงให้หยุดหิว?

17 ก.ค. 24

หิวบ่อย

 

ความหิวเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์เรา ใคร ๆ ก็ต้องรู้สึกหิวกันทุกคน แต่ถ้าใครรู้สึกว่า หิวบ่อย หิวตลอด อยากกินนั่นนี่ตลอดเวลา อันนี้คงต้องมาเช็กสาเหตุกันหน่อยแล้วว่าอาการหิวบ่อยของเราเป็นเรื่องปกติ หรือเป็นโรคกันแน่? แล้วมีวิธีไหนที่จะช่วยให้หยุดหิวได้บ้าง…

ทำความเข้าใจกับ “กลไกความหิว” ของร่างกายเรากันก่อน

อาการหิว ถือเป็นสัญญาณทางประสาท เพื่อเตือนว่าร่างกายต้องการอาหารนำมาใช้เป็นพลังงาน และเมื่อท้องว่าง ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนที่ชื่อว่า “เกรลิน” (Ghrelin) หรือ ฮอร์โมนหิว ที่ถูกสร้างจากเซลล์กระเพาะอาหารออกมา เพื่อส่งสัญญาณให้เราได้รับรู้ว่าถึงเวลากินอาหาร หรือ อยากอาหาร แล้ว

ช่วงก่อนมื้ออาหารประจำของเรา เป็นช่วงที่ระดับของเกรลินจะเพิ่มขึ้นสูง และเมื่อกินอาหารแล้ว ระดับของเกรลินก็จะลดลงไปนานราว 3 ชั่วโมง ก่อนจะเพิ่มปริมาณขึ้นจนทำให้เรารู้สึกหิวอีกครั้ง… นอกจากความหิวตามกลไกของร่างกายแล้ว ความหิวอาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีก ทั้งปัจจัยทางสุขภาพ อารมณ์ และสังคม

ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเกรลินออกมามากกว่าปกติ คือ

  • ร่างกายทำงานหนัก
  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • ความเครียด ความเหงา และความวิตกกังวล

ฉะนั้น วิธีการที่จะจัดการกับความหิว คือ

  • พยายามควบคุมฮอร์โมนเกรลิน ไม่ให้สูงเกินไป
  • ควบคุมสุขภาพ และอารมณ์จากการใช้ชีวิตประจำวัน

แค่ไหนถึงเรียกว่า หิวบ่อย?

คนเราจะรู้สึกหิวก็ต่อเมื่อถึงช่วงเวลาประจำที่เราต้องกินอาหารในมื้อนั้น ๆ โดยเฉพาะตอนกลางวัน ตอนเย็น เป็นต้น แต่ถ้าวันนึงเรารู้สึกหิวนอกเวลาที่เรากินเป็นประจำ เช่น เคยกินประจำช่วงกลางวัน และเย็น แต่รู้สึกหิวช่วงค่ำ หรือก่อนจะนอน แม้ตื่นมาแล้วไม่ทันไรก็อยากกินแล้ว แบบนี้เราจะเรียกว่า หิวบ่อยกว่าปกติ ถ้าเป็นเพียงครั้งคราว ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าอาการหิวบ่อยเกิดขึ้นเป็นประจำ อาจต้องหาสาเหตุกันหน่อย!

จึงสรุปได้ว่า… อาการหิวบ่อยกว่าปกติ คือ อาการหิวนอกมื้ออาหารประจำของเรา

หิวบ่อย

ความหิวที่มากเกินไปนั้นมาจากสาเหตุอะไรบ้าง?

นอกจากเรื่อง ฮอร์โมนเกรลิน ที่หลั่งออกมามาเกินไปจนทำให้รู้สึกหิวง่ายแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เรารู้สึกหิวบ่อย ดังนี้

1. กินอาหารจำพวกแป้ง ไขมัน มากไป  เพราะอาหารเหล่านี้ทำให้ร่างกายเผาผลาญแคลอรีไม่ทัน เพราะเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) ซึ่งจะมีผลทำให้เราเกิดความหิวขึ้นมาได้หลังกินอาหารไปได้สักพัก

2. กินอาหารที่มีโซเดียมสูง – เช่น ถั่ว ขนมกรุบกรอบ หรือ มันฝรั่งทอดเค็ม ๆ อาหารเหล่านี้มีค่าความหวานสูง (GI) ย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้เร็ว และยังเป็นอาหารที่มีไขมันสูง นอกจากนี้เกลือที่มากเกินไป จะส่งผลถึงการหลั่งฮอร์โมนเกรลิน และเลปติน ทำให้เกิดความอยากอาหาร ของหวาน และ น้ำหวาน มากขึ้น

3. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ – เมาแล้วหิว เป็นเรื่องจริง ที่ต้องลด ละ เลิก ให้ได้ เพราะ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกจากจะทำลายสุขภาพ และทำให้ขาดสติแล้ว ยังเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ และรู้สึกหิวมากขึ้น และยังมีงานวิจัยแสดงว่า การดื่มแอลกอฮอล์นั้นจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำลง และยังทำให้การหลั่ง เลปติน ฮอร์โมนที่บอกว่าเราอิ่ม น้อยลงอีกด้วย

4. เครียดสะสม – ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ฮอร์โมนแห่งความเครียด และอะดรีนาลีน (Adrenaline) เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น จึงยิ่งไปกระตุ้นให้เกิดความอยากกินอาหารตามมา

5. นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ – กระทบต่อระดับของ 2 ฮอร์โมน ที่ส่งผลต่อความหิว คือ ฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) ที่กระตุ้นความหิวและทำให้ร่างกายเกิดความอยากอาหาร และลดระดับฮอร์โมนเลปทิน (Leptin) ที่ควบคุมความอยากกินอาหาร

6. อาการก่อนมีประจำเดือน – ในเพศหญิงพบว่า ช่วงใกล้มีประจำเดือนมักมีอาการหิวบ่อย ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ว่าอาการหิวบ่อยเป็นผลมาจากกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome: PMS)

7. ไฟเบอร์ไม่เพียงพอ – การกินไฟเบอร์ไม่เพียงพอก็ทำให้หิวได้ ดังนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เพราะจะช่วยให้อิ่มท้องได้นาน

8. อาจเป็นโรคกินไม่หยุด (Binge Eating Disorder : BED) – เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณที่มากผิดปกติ ไม่สามารถคุมตัวเองได้ ไม่หิวก็ยังรับประทาน ที่สำคัญจะรับประทานจนอิ่มแบบที่ไม่สามารถรับประทานอาหารอื่น ๆ ต่อได้

หิวบ่อยต้องแก้ ด้วย…

1. เพิ่มโปรตีนดีในมื้ออาหาร – อาหารที่มีโปรตีนดีสูง เช่น ไข่ขาว ปลา ถั่ว จะช่วยยับยั้งการหลั่งฮอร์โมนเกรลินได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมื้อเช้า

2. เลี่ยงอาหารไขมันสูง – เพราะจะยังยั้งความหิวในร่างกายได้ไม่ดีเท่ากับอาหารที่ไม่ไขมันต่ำ

3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ – เพราะการนอนไม่พอจะส่งผลให้ร่างกายผลิตเกรลินที่ทำให้หิวง่ายขึ้น

4. รับประทานมื้อเล็ก แต่บ่อยขึ้น – ด้วยการแบ่งอาหารให้เป็นมื้อที่เล็กลงแต่กินบ่อยมากขึ้นทุก 3-4 ชั่วโมง

5. หาทางจัดการกับความเครียด – เช่น ออกกำลังกาย นวด นั่งสมาธิ ฟังเพลง เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายผลิตเกรลินเพิ่มมากขึ้นทำให้เราหิวง่าย

 

อ้างอิง : 1. ฟิตศาสตร์-fitology 2. healthline 3. pobpad 5. รพ. กรุงเทพ 6. รพ.วิชัยยุทธ

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save