กลาก เกลื้อน โรคผิวหนังยอดฮิตในหน้าฝน ที่คนเข้าใจผิดคิดว่าโรคเดียวกัน

17 ก.ค. 24

กลาก เกลื้อน

 

หน้าฝนนอกจากจะทำให้ป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่ายแล้ว ยังนำพาโรคผิวหนังต่าง ๆ ตามมาด้วย โดยเฉพาะ “กลาก เกลื้อน” ซึ่งจัดเป็นโรคผิวหนังจากเชื้อราที่พบได้บ่อยในหน้าฝน ทั้งนี้หลายคนเข้าใจว่า กลาก กับ เกลื้อน เป็นโรคเดียวกัน แต่ความจริงแล้วไม่ใช่โรคเดียวกัน… 2 โรคนี้จะแตกต่างกันยังไง มีสาเหตุ อาการ วิธีรักษาอย่างไร  บทความนี้มีคำตอบ มาติดตามกันเลย!

รู้จักกับ กลาก เกลื้อน โรคผิวหนังยอดฮิตในหน้าฝน

กลาก เกลื้อน คือโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากเชื้อราเหมือนกัน แต่เป็นเชื้อราต่างชนิดกัน ส่วนความแตกต่างกัน คือ ลักษณะรอยโรคและตำแหน่งที่เป็น  ทั้ง 2 โรคนี้สามารถพบได้บ่อยได้ฤดูฝน รวมถึงฤดูร้อน เพราะ ทำให้เหงื่อออกมาก โดยเฉพาะโรคเกลื้อนมักพบบ่อยในฤดูร้อน

กลาก (Ring worm / Dermatophytosis)

• สาเหตุ
กลากเกิดจากการติดเชื้อรากลุ่มเดอร์มาโตไฟต์ Dermatophyte
 (เช่นเดียวกันกับโรคน้ำกัดเท้า) มีแหล่งที่มาจากดิน สัตว์เลี้ยง หรือจากมนุษย์ด้วยกัน เชื้อราเหล่านี้จะเจริญอยู่ในชั้นหนังกำพร้าของผิวหนัง เส้นผม และเล็บ สามารถเกิดได้ง่ายหากร่างกายเปียกเป็นเวลานาน เช่น เล่นน้ำสงกรานต์ ตากฝน หรือลุยน้ำเป็นเวลานาน

• การติดต่อ
สามารถติดจากการใช้ของร่วมกับคนที่เป็นโรคกลาก หรือติดจากสัตว์เลี้ยง เช่น หมา แมว ก็ได้

 ตำแหน่งเกิดโรค
กลากเกิดทั้งในบริเวณผิวหนังทั่วไป หรือส่วนที่มีความอับชื้น ได้แก่ ที่ซอกขาหนีบ รักแร้ ใต้ราวนม ก้น และโคนขา อย่างไรก็ตาม โรคกลากสามารถเกิดขึ้นทุกส่วนที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนังภายนอก รวมถึงผม ขน และเล็บสามารถเป็นกับผิวหนังได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณอับชื้นเช่นขาหนีบ ก้น

• ลักษณะและอาการ
กลากมีลักษณะเป็นผื่นวงแหวนสีแดง เป็นวงเดี่ยว ๆ เห็นขอบของผื่นชัดเจน ขอบอาจยกนูนสูงจากผิวเล็กน้อยและมีขุย ตรงกลางของวงไม่แดงเท่าขอบ เริ่มต้นด้วยอาการคัน ตามด้วยผื่นแดง ต่อมาจะลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ และมักจะคันมากขึ้น ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่มีความอับชื้น เช่น หนังศีรษะ รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า

  • โรคกลากที่ศีรษะ (Tinea capitis) : มีผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เส้นผมเปราะ หักง่าย ผื่นมีขอบเขตชัดเจน พบขุยสีขาวอมเทา
  • โรคกลากที่ใบหน้า (Tinea faciei) : ผื่นจะเป็นวง ขอบยกสีแดง บางครั้งพบขุยสีขาวบริเวณกลางวงของผื่น
  • โรคกลากที่มือ (Tinea manuum) : มักจะเกิดบริเวณมือข้างใดข้างหนึ่ง พบผื่นมาก ถ้าเป็นมาก ผิวหนังอาจแฉะ แดง เป็นแผลได้
  • โรคกลากที่เท้า (Tinea pedis หรือ Athlete’s foot) : ลักษณะผื่นไม่ชัดเจน มีกลิ่นแรง ผิวแห้งมาก มีรอยแตกตามส้นเท้า
  • โรคกลากที่เล็บมือ-เล็บเท้า (Tinea unguium) : ผิวเล็บไม่เรียบ เล็บแตกหักง่าย สีเล็บผิดปกติ และเล็บดูผิดรูปร่าง

ส่วนกลากที่เกิดจากสัตว์เลี้ยง มักเป็นตำแหน่งนอกร่มผ้า และมีอาการรุนแรงกว่า ทำให้คันผิวหนังมาก อาจต้องใช้ทั้งยาทา และยากินเพื่อรักษา

เกลื้อน (Tinea versicolor / Pityriasis versicolor)

• สาเหตุ
เกลื้อนเป็นโรคเชื้อราของผิวหนังชั้นตื้น เกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur
 ที่อาศัยอยู่เป็นปกติในรูขุมขนของทุกคน เชื้อราชนิดนี้กินไขมันที่มีอยู่ในรูขนเป็นอาหาร ถ้าผู้ป่วยมีความต้านทานลดลง เหงื่อไคลหมักหมม เชื้อราชนิดนี้จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วก่อให้เกิดโรคที่ผิวหนังเป็นดวงขาว และมีขุย

• การติดต่อ
เกลื้อนไม่ใช่โรคติดต่อ เพราะปกติคนเราจะมีเชื้อราชนิดนี้อยู่บนผิวหนังอยู่แล้ว การสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นโรคเกลื้อนจึงไม่ทำให้เกิดการติดต่อกัน ต่างกับโรคกลากที่สามารถติดต่อสู่กันได้

• ตำแหน่งเกิดโรค
เกลื้อนเกิดขึ้นที่หนังกำพร้าส่วนบนเท่านั้น พบได้บ่อยในบริเวณผิวหนังที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า ต้นคอ หน้าอก และหลัง เป็นต้น หากเคยเป็นเกลื้อนแล้ว สามารถกลับไปเป็นอีกครั้งได้ง่ายแม้รักษาหายแล้วก็ตาม ผู้ป่วยโรคนี้จึงควรเรียนรู้การวิธีการรักษาเกลื้อน และวิธีป้องกันการติดเชื้อราเพื่อไม่ให้กลับมาเป็นเกลื้อนซ้ำอีก

• ลักษณะและอาการ
เกลื้อนมีลักษณะเป็นดวง เรียบแบน สีขาว น้ำตาล หรือแดง ขอบเขตชัดเจน เริ่มต้นมักเป็นวงเล็ก ๆ สีจางกว่าผิวหนังโดยรอบ แล้วค่อย ๆ ขยายโตขึ้นเรื่อย ๆ ต่อกันจนดูเป็นปื้น ๆ มักจะไม่มีอาการคัน

  • ในคนผิวคล้ำ เกลื้อนอาจมีสีน้ำตาลเข้ม หรือสีซีดกว่าผิวหนังโดยรอบ
  • ในคนผิวขาว เกลื้อนอาจมีสีแดง หรืออมชมพู พื้นแบนเรียบ
  • ในคนไทยมักพบเป็นแบบมีสีซีดจาง โดยรอยโรคจะมีเศษขุยละเอียด หรือสะเก็ดของผิวหนังที่แห้งซึ่งสามารถขูดออกมาได้

เมื่อเป็นกลาก เกลื้อน ควรทำอย่างไร?

ผู้ป่วย 2 โรคนี้ ควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ เพื่อพิสูจน์ให้แน่ชัดว่าเรากำลังป่วยด้วยเชื้ออะไรอยู่ แพทย์จะทำการสอบถามประวัติการเกิดโรค ช่วยตรวจลักษณะอาการ หรืออาจต้องมีการขูดเอาผิวหนังที่สงสัยว่าติดเชื้อราไปส่อง หรือเพาะพิสูจน์อีกด้วย

ส่วนยารักษามีทั้งยาทา และยากิน ถ้าใช้อย่างถูกต้อง หรือใช้ตามคำแนะนำจากแพทย์ อาการของโรค หรือ ผื่น จะหายไปใน 4 สัปดาห์ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบริเวณและสาเหตุที่เป็นด้วยเช่นกัน ถ้าเป็นไม่มากใช้แค่ยาทาก็หาย แต่ถ้าอาการรุนแรงอาจต้องใช้ยากินร่วมด้วย จึงจะหายขาด

ฉะนั้น หากยังไม่รู้แน่ชัดว่าเราเป็นกลากหรือเกลื้อน ควรเข้าพบแพทย์เป็นการดีที่สุด หรืออย่างน้อยปรึกษาเภสัชกรที่ร้านยาใกล้บ้าน เพื่อรับยารักษาอย่างถูกต้อง

กลาก เกลื้อน

กลุ่มเสี่ยงเป็น กลาก เกลื้อน ได้บ่อย

  1. ผู้ที่มีเหงื่อออกง่าย เหงื่อออกมาก เช่นนักกีฬา หรือผู้ที่มีเหงื่อออกบริเวณเท้ามาก
  2. ผู้ที่ปฏิบัติงานในสถานที่อบ ร้อน กลางแจ้ง แล้วมีเหงื่อออกมาก มีโอกาสเกิดโรคนี้ได้ง่าย
  3. คนที่มีภูมิต้านทานของร่างกายต่ำ เช่น คนขาดอาหาร ดื่มสุรา อดนอน และมีโรคประจำตัว
  4. ผู้ที่ใส่เสื้อผ้าที่รัด อบอ้าว และหนาเกินไปไม่เหมาะกับสภาวะอากาศที่ร้อน
  5. ช่วงวัยรุ่นจะพบได้บ่อย เพราะเป็นวัยที่ต่อมไขมันทำงานมาก และมีฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงบ่อย

การป้องกันไม่ให้เกิดกลาก เกลื้อน เริ่มต้นที่รักษาความสะอาดร่างกายให้ดี

  1. ควรอาบน้ำ ชำระร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้เหงื่อไคลหมักหมม
  2. เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว ควรจะซักและนำออกผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
  3. รักษาความสะอาดสัตว์เลี้ยง ไม่ให้เป็นกลาก เพราะอาจติดต่อถึงเราได้
  4. ล้างมือให้สะอาด หลังไปขุดดิน หรือสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงมา
  5. ไม่คลุกคลี หรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดตัว
  6. ตัดเล็บมือ เล็บเท้า ให้สั้นอยู่เสมอ
  7. หลีกเลี่ยงเสื้อผ้าหนา ๆ หรืออบมากเกินไป

GED god life สรุปให้ กลากเกลื้อนต่างกันยังไง

  1. กลาก เกลื้อน ไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่เป็นโรคผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากเชื้อราเหมือนกัน
  2. กลากเกิดจากเชื้อรากลุ่ม Dermatophyte ส่วนเกลื้อนเกิดจากเชื้อรา Malassezia furfur
  3. โรคกลาก มักพบได้ทุกส่วนตามร่างกาย โรคเกลื้อน มักขึ้นบริเวณใบหน้า หน้าอก หลัง
  4. โรคกลาก มีลักษณะเป็นวงแหวนสีแดง และเป็นวงเดี่ยว ๆ แต่โรคเกลื้อนจะเป็นปื้น ๆ มีสีซีดหรือเข้มกว่าผิวหนังปกติ
  5. โรคกลากสามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน หรือคนสู่คนได้ แต่เกลื้อนไม่ใช่โรคติดต่อ จึงแพร่ต่อกันไม่ได้

 

อ้างอิง : 1. รพ.ศิริราช1/2 2. ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3. สมาคมปรสิตวิทยาและอายุรศาสตร์ เขตร้อนแห่งประเทศไทย

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save