เป็นหวัดบ่อยต้องระวัง! 6 ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด ทำป่วยหนักได้

1 ก.ค. 24

ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด

ไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยที่สุด สามารถพบได้ตลอดทั้งปี ส่วนใครที่เป็นหวัดบ่อย เช่น มีไข้ น้ำมูกไหลเป็นประจำ อาจต้องระวัง “ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด” ที่นำพามาซึ่งโรคอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่าเดิมได้! มาดูกันว่าเมื่อเป็นไข้หวัดอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง และเคล็ดลับห่างไกลหวัด

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

6 ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด ที่ควรระวัง สังเกตให้เป็น!

1. หูชั้นกลางอักเสบ (Otitis media)

เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลางซึ่งอยู่ระหว่างหูชั้นนอกกับหูชั้นใน มักจะเกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่

อาการ

  • มีอาการปวดหูข้างที่เป็น
  • มีไข้ในอุณหภูมิที่ 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า
  • ในเด็กเล็กอาจจะมีอาการกระวนกระวาย ดึงใบหูข้างที่ปวด รับประทานอาหารลดลง
  • ในเด็กโตอาจจะรู้สึกแน่น ๆ ภายในหู หรือมีเสียงดังในหูได้
  • บางรายที่เป็นมาก อาจมีหนองปนเลือดไหลออกจากหู

2. ไซนัสอักเสบ (Sinusitis)

คือ การอักเสบของเยื่อบุโพรงอากาศข้างจมูก หรือที่เรียกว่า “ไซนัส” ซึ่งอาจเป็นเพียงหนึ่งไซนัส หรือหลายไซนัส เป็นหนึ่งหรือสองข้างก็ได้ พบบ่อยทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ มีแนวโน้มเกิดมากขึ้นในฤดูกาลที่มีคนป่วยเป็นไข้หวัด หรือมีการอักเสบติดเชื้อในทางเดินหายใจมาก

อาการ

  • คัดจมูก น้ำมูกข้น มักเป็นสีเขียวเหลือง
  • หายใจมีกลิ่นเหม็น
  • ปวดศีรษะ และบริเวณใบหน้า
  • ไอมีเสมหะ เสมหะไหลลงคอ
  • รายที่เป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบได้ เป็นต้น

3. ปอดอักเสบ (Pneumonia)

คือ ภาวะติดเชื้อในปอด ซึ่งอาจจะเป็นข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ โดยเฉพาะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ ในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และ ผู้ที่มีภาวะภูมิต้านทานต่ำ หากมีอาการรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้

อาการ

4. คออักเสบ (Strep throat) 

โรคคออักเสบจากการติดเชื้อ เป็นสาเหตุของอาการเจ็บคอที่พบได้บ่อยที่สุด พบได้บ่อยทั้งจากเชื้อไวรัสเช่น จากโรคหวัด, โรคไข้หวัดใหญ่ อาการดังกล่าวมักจะเป็นมากขึ้นเวลากลืน เนื่องจากมีการอักเสบของเนื้อเยื่อลำคอ

อาการ

  • เจ็บ แสบ หรือรู้สึกระคายเคืองในลำคอ
  • ผู้ป่วยอาจมีไข้ บางครั้งหนาวสั่น ไอ ปวดศีรษะ
  • เยื่อบุในลำคอมีสีแดง ต่อมทอนซิล บวม โต และแดง
  • เด็ก อาจไม่ยอมรับประทานน้ำ หรืออาหาร

5. โรคหลอดลมอักเสบ (Bronchitis)

หากป่วยจากอาการไข้หวัดแล้วปล่อยไว้ อาจทำให้เกิดเป็นโรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส และมักเป็นหลังไข้หวัดที่ไม่ได้รับการรักษา ทำให้การติดเชื้อลามลงไปถึงหลอดลม

อาการ

  • ไอมีเสมหะ
  • มีไข้ครั่นเนื้อครั่นตัว
  • หอบ เหนื่อย แน่นหน้าอก
  • หายใจมีเสียงดังหวีด

6. ครูป (Croup)

เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการติดเชื้อของทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบ บวม ของกล่องเสียงและหลอดลม มักพบได้ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี และพบในเด็กอายุประมาณ 2 ปีบ่อยที่สุด

อาการ

  • มีไข้ ไอ น้ำมูก นำมาก่อนประมาณ 2 วัน
  • ไอเสียงก้อง เสียงแหบ
  • หายใจเสียงดัง โดยเฉพาะเวลาหายใจเข้า

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัด

ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิด ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด

ในกลุ่มผู้ป่วยทั่วไปที่เป็นโรคไข้หวัด มักจะสามารถหายได้เองในเวลา 3-4 วัน และไม่ก่อให้เกิดปัญหาใด ๆ ตามมา อย่างไรก็ตาม บางครั้งการติดเชื้ออาจแพร่กระจายไปยังหน้าอก หู หรือไซนัสของคุณได้ โดยผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่อาจต้องเผชิญกับ โรคแทรกซ้อนจากหวัด มีดังนี้

  • เด็กเล็กวัยอนุบาล
  • ผู้สูงวัย
  • ผู้ที่มีปัญหาเรื่องภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว
  • ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด

อาการหนักแค่ไหน ควรเข้าพบแพทย์

  • กินยาลดไข้แล้วไม่หายใน 3 วัน
  • มีปัญหาด้านการหายใจ หายใจลำบาก หายใจติดขัด
  • มีอาการสับสน กระวนกระวาย
  • ปวดรุนแรง โดยเฉพาะศีรษะ หน้าอก และท้อง

วิธีรักษา และดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากไข้หวัด

  1. ผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ยาลดไข้ บรรเทาหวัด เพื่อบรรเทาอาการหวัดให้ทุเลาลงเร็วขึ้น
  2. เช็ดตัวลดไข้ เลี่ยงการอาบน้ำ
  3. เลือกกินอาหารที่ย่อยง่าย อาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก เป็นต้น
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อมีอาการป่วย
  5. ไม่เครียด ไม่โหมงานหนัก จนสภาพร่างกาย และจิตใจทรุดโทรม เป็นเหตุให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เป็นหวัดง่าย
  6. สร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เช่น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และกินอาหารที่มีประโยชน์
  7. หากป่วยไข้ ไม่สบายบ่อย ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ หรือ ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ

 

อ้างอิง : 1. nhsinform 2. healthline 3. medicalnewstoday 4. สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย  5. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 1/2 6. รพ. กรุงเทพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save