“โรคไอกรน” โรคที่พ่อแม่ต้องรู้ อันตรายถึงชีวิตลูกน้อย!

27 มิ.ย. 24

โรคไอกรน

 

โรคไอกรน (Pertussis , whooping cough) ชื่อโรคที่ฟังดูเหมือนอาการนอนหลับธรรมดานี้ แท้จริงแล้วเป็นโรคที่มีความเสี่ยงและอันตรายเป็นที่สุด โดยเฉพาะในเด็กเล็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 7 ปี ซึ่งหากรักษาไม่ทันหรือเกิดโรคแทรกซ้อน อาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ทีเดียว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม วันนี้เราจึงได้นำลักษณะอาการและการป้องกันโรคไอกรน เบื้องต้นมาฝากกัน

ยาละลายเสมหะ

ไอกรน คือโรคอะไร?

ไอกรน คือ โรคที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เยื้อบุทางเดินหายใจอักเสบ และเกิดอาการไอ สามารถติดต่อได้ทาง การหายใจ น้ำมูก และน้ำลาย ลักษณะของโรคนั้นแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
• ระยะน้ำมูกไหล อาการแรกเริ่มคล้ายกับโรคหวัด คือ มีน้ำมูกไหล จาม เบื่ออาหาร อาจมีไข้ต่ำ ๆ ร่วมด้วย ระยะนี้จะกินเวลา 10-14 วัน

• ระยะไอติดต่อกันเป็นพัก ๆ เป็นระยะที่ต่อเนื่องจากน้ำมูกไหล คือ มีการไอถี่ ๆ ประมาณ 5-15 ครั้ง ต่อเนื่องกันเป็นชุด จนผู้ป่วยหายใจเข้าไม่ทัน จึงตามมาด้วยการหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเป็นเสียงดัง “วี๊ด” ซึ่งหากเกิดในเด็กเล็กอาจหายใจไม่ทันจนเกิดอาการหน้าเขียวได้ ในระยะนี้กินเวลาประมาณ 10-14 วัน

• ระยะฟื้นตัว ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น ไอน้อยลง และเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ หากไม่เกิดโรคแทรกซ้อน หรืออาการร้ายแรง เช่น การหายใจไม่ออกในทารก โรคปอดบวม โรคถุงลมโป่งพอง อาการทางสมอง และเลือดออกในสมอง เป็นต้น

1299-3

การป้องกันเบื้องต้น

1. ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานไปฉีด “วัคซีนป้องกันไอกรน” ให้ครบตามที่แพทย์กำหนด เพราะ การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันไอกรน
2. เมื่อไอ หรือจาม ให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีความเสี่ยง
3. ดูและสุขภาพของตนเอง และคนในครอบครัวให้สมบูรณ์แข็งแรง

“โรคไอกรน” สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย นอกจากจะพาลูกน้อยไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคแล้ว คุณพ่อคุณแม่เองก็อย่าลืมดูแลสุขภาพของตัวเองด้วยนะ และหากมีอาการไม่น่าไว้ใจ ให้ รีบไปพบแพทย์จะเป็นการดีที่สุด


ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save