สูงวัยฝากบอก! 9 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้จักป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้

3 ก.ค. 24

โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ

“เพราะความแก่ชราเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้” หากปลายทางชีวิตของเรา คือ การอยากอยู่อย่างมีความสุข มีสุขภาพที่ดี ก็คงต้องเตรียมความพร้อมทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจตั้งแต่ยังหนุ่มสาว หรือในวัยกลางคนไว้ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ วันนี้ GED good life จะพาไปรู้จัก 8 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ และวิธีส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในยามชราภาพ มาดูกันเลย!

เหตุผลที่ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่สูงวัย

  • เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความพึงพอใจ และเป็นไปตามความปรารถนาของตนประกอบด้วย การมีอายุยืนยาวที่มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี
  • เพื่อไม่ให้เป็นภาระของลูกหลานจนเกินไป และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นอย่างดีเมื่อต้องเข้าสู่สูงวัย
  • เมื่อร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส ก็จะมีอิสระในการใช้ชีวิตอยู่ในช่วงบั้นปลายชีวิต พร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร
  • การรู้ก่อน เตรียมการได้ก่อน นำไปสู่ความมั่นคงในชีวิตเมื่อสูงอายุ

รู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน! 9 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง?

โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ

1. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) 

เป็นภาวะที่ความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคิดเป็นประชากรประมาณ 23 ล้านคน ของประชากรไทย ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง สิ่งที่น่ากลัวที่สุดของโรคความดันโลหิตสูง อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงตามมา จนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

  • ควรรับการตรวจวัดค่าระดับความดันโลหิตเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • เลี่ยงการรับประทานอาหารรสเค็ม
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกฮอล์

อ่านเพิ่มเติม -> ความดันโลหิตสูง ควรกิน-ควรเลี่ยง อะไรบ้าง?

2. โรคเบาหวาน (Diabetes)

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคเบาหวานซึ่งมีจำนวนร้อยละ 21.12 หรือเป็นอันดับ 2 รองจากโรคความดันโลหิตสูง โรคนี้เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปัสสาวะและกระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำในปริมาณมากต่อครั้ง อ่อนเพลีย

วิธีป้องกันโรคเบาหวาน

  • ควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์
  • เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง

อ่านเพิ่มเติม -> โรคเบาหวาน เกิดจากอะไร ? พร้อมอาหารที่ควร-ไม่ควรทาน สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

3. โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)

เป็นอาการป่วยที่เป็นไปตามวัย แต่น้อยคนที่จะรู้ว่าตัวเองมีภาวะกระดูกพรุน กว่าจะทราบก็เมื่อหกล้มกระดูกหักแล้ว ส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน และผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี

วิธีป้องกันภาวะกระดูกพรุน

  • ผู้หญิงอายุมากกว่า 55 ปีและผู้ชายอายุมากกว่า 70 ปี ควรได้รับการตรวจความหนาแน่นมวลกระดูก (bone mineral density หรือ BMD) ซึ่งจะบ่งบอกถึงความหนาบางของมวลกระดูกเมื่อเทียบกับค่ามวลกระดูกที่ปกติในผู้ใหญ่ทั่วไป
  • ควรได้รับแคลเซียมจากอาหาร หรือยาอย่างน้อย 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
4. โรคหัวใจขาดเลือด  หรือโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischaemic heart disease; Myocardial ischemia)

เกิดจากหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบหรือตัน ทำให้เลือดที่จะไหลเวียนไปยังหัวใจไม่พอ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรม เช่น การใช้ยาเสพติด ความเครียด และการสูบบุหรี่

วิธีป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

  1. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ใช้ยาเสพติด
  2. ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายแบบแอโรบิคสม่ำเสมอ
  3. บริโภคอาหารไขมันต่ำ
5. โรคเกาต์ (Gout)

โรคเกาต์ คือโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยเกิดขึ้นได้ในทุกเพศและทุกวัย มักพบในชายสูงอายุมากกว่าหญิง ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ ซึ่งเกิดจากการมีกรดยูริกสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตามข้อ

วิธีป้องกันโรคเกาต์

  • รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  • ควบคุมการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เช่น เนื้อไก่ เป็ด ห่าน เครื่องในสัตว์ เป็นต้น
  • ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยในการขับถ่ายกรดยูริค
6. โรคข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis)

เกิดจากกระดูกอ่อนของข้อเข่า หรือผิวข้อสึกกร่อน มักพบในผู้หญิงสูงอายุมากกว่าชายถึง 2 เท่า เกิดการใช้ข้อเข่ามานาน การรับน้ำหนักตัวที่มากเกินไป

วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

  • ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการยืน หรือนั่งท่าเดียวนาน ๆ
  • เลือกทานอาหารที่ช่วยบำรุงข้อเข่า เช่น แคลเซียม กินผักเป็นประจำ เป็นต้น

ข้อเข่า ไม่แก่ก็เสื่อมได้นะ! มาดู วิธีดูแลรักษาข้อเข่า ก่อนจะสายไป

7. โรคตา (Eye Diseases)

โรคตาที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก คือ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และน้ำวุ้นตาเสื่อม แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตาเกิดจากความเสื่อม เนื่องจากอายุที่มากขึ้น ทำให้การมองเห็นลดลง

วิธีป้องกันโรคตา

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ พักผ่อนสายตาบ่อย ๆ
  • สวมแว่นกันแดดที่กรองแสง Ultra Violet
  • ตรวจสุขภาพตาเป็นประจำ
8. โรคไต (Kidney disease)

เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไตจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านโครงสร้าง และการทำงานโดยรวม โดยไตจะมีขนาดเล็กลง น้ำหนักและปริมาตรจะลดลง ข้อสำคัญคือในผู้สูงอายุเมื่อเกิดความเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บของไตขึ้น การฟื้นฟูสภาพให้กลับมาดีดังเดิมนั้นจะค่อนข้างช้า

วิธีป้องกันโรคไต

  1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง มีรสเค็ม หรือมีน้ำตาลสูง
  3. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา

อ่านเพิ่มเติม -> 8 วิธีบำรุงไต ให้แข็งแรง! พร้อมคำแนะนำ อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไต

9. โรคทางสมอง

โรคสมองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ส่วนใหญ่จะพบในคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป

วิธีป้องกันโรคสมองเสื่อม

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 3 – 5 ครั้ง
  • ระวังเรื่องอุบัติเหตุ สมองถูกกระแทก
  • นอนหลับอย่างเพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
  • ลดความเครียดและระวังภาวะซึมเศร้า

5 วิธีส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเมื่อต้องเข้าสู่สูงวัย

1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
โดยเน้นไปที่การออกกำลังกายแบบง่าย ๆ เป็นประจำทุกวัน เช่น การเดินเร็ว การแกว่งแขน ทำงานบ้าน เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงตามวัย และยังเป็นการป้องกันโรคชราภาพได้ในอนาคตอีกด้วย

2. การมีภาวะโภชนการที่เหมาะสม
เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย “You are what you eat” คำกล่าวนี้เป็นจริงเสมอมา เพราะสิ่งต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นตัวเรานั้น ล้วนมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป

3. ตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ
อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือทุก 6 เดือน และอย่าลืมรักษาสุขภาพในช่องปาก พบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4. การมีสุขภาพจิตที่ดี
สุขภาพกายดีแล้ว สุขภาพจิตก็ต้องดีด้วย เพราะเมื่อชราภาพไป สภาพจิตใจอาจไม่แข็งแรงแบบตอนหนุ่มสาว จะแก้ไขก็ลำบาก

5. หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ร่างกายต้องป่วยเรื้อรัง
เช่น การหกล้มโดยเฉพาะในห้องน้ำ, การใช้ยาเกินขนาด และใช้ยาผิดวิธี, ปล่อยตัวเองให้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ จนเป็นโรคอ้วนเรื้อรัง เป็นต้น

 

อ้างอิง : 1. กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ 2. กรมอนามัย 3. bumrungrad 4. bangkokhospital 5. RAMA Channel 6. กรมกิจการผู้สูงอายุ

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save