“การใช้ยา และ สมุนไพร” สำหรับผู้สูงวัย ควรใช้อย่างไรถึงจะดี และปลอดภัย?

27 มิ.ย. 24

 

การใช้ยาอย่างถูกต้องย่อมปลอดภัย และเกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ แต่ถ้าใช้ยาผิดพลาด! อาจทําให้ได้รับอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาในผู้สูงอายุ ซึ่งพบว่าเป็น ผู้ที่มีความเสี่ยง หรือมีโอกาสที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยามากกว่าบุคคลทั่วไป ฉะนั้นมาดูกันดีกว่าว่า “การใช้ยา และ สมุนไพร” สำหรับผู้สูงวัย ควรใช้อย่างไรจึงจะดี และปลอดภัย?

ดีคอลเจน

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาในผู้สูงอายุ

1. เมื่ออายุมากขึ้น การทํางานของไตจะลดลง ทําให้มีโอกาสที่ยาจะสะสมในร่างกายสูงขึ้น

2. การที่ประสิทธิภาพของตับลดลง ทําให้มีระดับยาในเลือดสูงจนอาจเกิดอันตรายได้

3. เมื่ออัลบูมินซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งในเลือด ทําหน้าที่เป็นพาหนะขนส่ง ยาลดลงจะทําให้ยาอยู่ในรูปอิสระมากขึ้น ส่งผลให้ยาออกฤทธิ์ได้แรงขึ้น

4. ผู้สูงอายุมักจะมีความไวต่อยาที่ออกฤทธิ์บริเวณระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งระบบการทํางานของหลอดเลือดและหัวใจ ทําให้เกิดอาการข้างเคียงของยาเพิ่มขึ้น

5. ผู้สูงอายุอาจจะมีอาการหลงลืมได้ง่าย อาจเกิดปัญหาการใช้ยาไม่ครบตามที่กําหนด หรือการใช้ยาซ้ำซ้อน

6. น้ำหนักผู้สูงอายุจําเป็นต้องพิจารณาขนาดยาให้เหมาะสม เพราะยาที่ละลายได้ดีในไขมัน เมื่อให้แก่ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ยาจะไปอยู่ตามเนื้อเยื่อไขมัน ทําให้ระดับยาในเลือดต่ำกว่าที่ต้องการ ดังนั้นอาจต้องให้ยาในขนาดที่สูงกว่าคนรูปร่างปกติ

7. ผู้สูงอายุมักเป็นหลายโรค จะได้รับยาหลายขนานที่อาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาเพิ่มขึ้น

"การใช้ยา และ สมุนไพร" สำหรับผู้สูงวัย

ข้อควรปฏิบัติในการใช้ยาของผู้สูงอายุ

1. แจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาที่ใช้อยู่

2. แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น

3. แจ้งให้ทราบถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนยา เพื่อแพทย์ หรือเภสัชกรจะได้เลือกชนิดยาที่เหมาะสม

4. ศึกษาเกี่ยวกับยาที่ผู้สูงอายุใช้อยู่เป็นประจํา เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา

5. สอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับระยะเวลาการใช้ยาให้ชัดเจน

6. สอบถามแพทย์ หรือเภสัชกรเกี่ยวกับอาหารที่รับกินว่า มีผลต่อการใช้ยา
หรือไม่ อย่างไร

7. อ่านฉลากยา และปฏิบัติตามคําแนะนําทุกขั้นตอนก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

8. กินยาตามที่แพทย์ หรือเภสัชกรแนะนําอย่างเคร่งครัด

การใช้ยาในผู้สูงอายุ เป็นสิ่งที่ควร ระมัดระวัง ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรใส่ใจในการใช้ยาของผู้สูงอายุเป็นพิเศษ ส่วนผู้สูงอายุเองควรศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับยาที่ใช้ เพื่อประโยชน์ในการรักษา


สมุนไพรในผู้สูงอายุ

การใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกหนึ่ง ของผู้สูงอายุ สมุนไพรหลายชนิดมี ประสิทธิภาพในการรักษา การเลือกซื้อ หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ปลอดภัยนั้น ควรศึกษาข้อมูลที่ถูกต้อง หรือปรึกษาเภสัชกร

ผู้สูงอายุอาจกินสมุนไพรควบคู่กับการกินยาที่ใช้รักษาโรคของแพทย์แผนปัจจุบันได้ แต่ต้องแจ้งชื่อ สมุนไพรให้แพทย์ผู้ตรวจทราบด้วย ถ้าเกิดมีอาการ ผิดปกติ หรือข้อสงสัยในการใช้สมุนไพร อาจสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ

สมุนไพรที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุมีหลายชนิด เช่น

1. สมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในเลือด

กระเทียม (หอมขาว หอมเทียม เทียม)

ส่วนที่ใช้ : กระเทียมสด

วิธีใช้ : ใช้รับกินเป็นอาหาร สําหรับผู้ที่มีระดับไขมันในเลือดสูง โดยให้กินครั้งละ 5 กรัม (ประมาณ 5-7 ลิป) วันละ 3 ครั้ง พร้อมอาหาร หรือ หลังอาหารเป็นเวลา 1 เดือน แล้วให้กินต่อไปวันละ 5 กรัม (ประมาณ 5 – 7 กลีบ)

2. สมุนไพรลดระดับน้ำตาลในเลือด

มะระขี้นก (มะระเล็ก ผักไห่ มะไห่ ผักเหย)

ส่วนที่ใช้ : ผล

วิธีใช้ : นําผลสดมาปั้นหยาบๆ
คั้นเป็นน้ำสมุนไพรดื่ม หรือนําผลมาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัด ต้ม แกง เป็นต้น

3. สมุนไพรช่วยระบาย

"การใช้ยา และ สมุนไพร" สำหรับผู้สูงวัย

แมงลัก (มงลัก ก้อมก้อขาว)

ส่วนที่ใช้ : เมล็ด

วิธีที่ใช้ : ใช้เมล็ด 1 – 2 ช้อนชา
นํามาแช่น้ําจนพองตัว เต็มที่ก่อนกิน ควรกินก่อนนอน

ข้อควรระวัง : การแช่เมล็ดแมงลักในน้ำต้องให้มีปริมาณน้ำที่มากพอ เพื่อให้เมล็ดพองตัวเต็มที่ ซึ่งถ้าเมล็ดแมงลักไม่พองตัวเต็มที่ เมื่อกินเข้าไปแล้วจะดูดน้ำในกระเพาะอาหาร และลําไส้ เมื่อเมล็ดพองตัว จะทําให้เกิดการแข็ง และอุดตัน ของกากอาหารมากยิ่งขึ้น

4. สมุนไพรช่วยลดอาการท้องอืด แน่นท้อง

"การใช้ยา และ สมุนไพร" สำหรับผู้สูงวัย

ขมิ้นชัน (ขมิ้น ขมิ้นแกง ขมิ้นอ้อย)

ส่วนที่ใช้ : เหง้า

วิธีที่ใช้ : ฝานขมิ้นตากแดด บดเป็นผง แล้วปั้นเป็นลูกกลอน กินครั้งละ 2 – 3 เม็ด วันละ 3 – 4 ครั้ง หลังอาหาร

เป็นอย่างไรกันบ้างเอ่ย กับเคล็ดลับ “การใช้ยา และ สมุนไพร” สำหรับผู้สูงวัย ใครที่มีผู้สูงวัยอยู่ในบ้าน สามารถนำเอาเคล็ดลับดีดีเหล่านี้ไปใช้กันได้นะคะ สุดท้ายนี้ GedGoodLife ขอให้ผู้สูงวัยทุกท่าน มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืน เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ลูกหลานไปนาน ๆ นะคะ

ถามหมอออนไลน์ ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ดีคอลเจน

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save