อาหารเผ็ดกับคนไทยนั้นเป็นของคู่กัน เพราะอาหารไทยมักจะมีรสชาติจัดจ้าน เผ็ดจี๊ดดดหลายเมนูเลยทีเดียว! แต่หากคุณป่วยกรดไหลย้อน มีอาการแสบร้อนกลางอกเมื่อกินเผ็ด คงสงสัยว่า “ป่วยกรดไหลย้อน กินเผ็ดได้มั้ย?” ไม่ต้องกังวลไป เพราะ GED good life มีคำตอบมาให้คุณแล้ว พร้อมคำแนะนำเรื่อง กินอย่างไรให้ห่างไกลกรดไหลย้อน และการใช้ยาลดกรดบรรเทาอาการกรดไหลย้อน…
- 20 ข้อดีของพริก ทั้งซี๊ดดด! ทั้งดีต่อสุขภาพ!
- 6 อาหารต้องห้าม! เมื่อป่วยเป็นกรดไหลย้อน
- 15 คำถามเรื่องกรดไหลย้อน
ป่วยกรดไหลย้อน กินเผ็ดได้มั้ย?
อาหารรสเผ็ดประกอบด้วยสารแคปไซซิน (Capsaicin) เป็นสารที่ให้ความเผ็ดในพริก โดยมีงานวิจัย พบว่าแคปไซซินในพริก สามารถกระตุ้นอาการ แสบร้อนกลางอก และเจ็บหน้าอกใน 28 คนจาก 31 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคกรดไหลย้อน Gastroesophageal reflux disease (GERD) และ 6 ใน 17 คนที่มีสุขภาพแข็งแรง ในขณะเดียวกัน การศึกษาในสหรัฐอเมริกาพบว่า การเติมแคปไซซินในอาหารทำให้เกิดอาการเสียดท้องสูงเร็วขึ้นหลังจากรับประทานอาหาร
ส่วนการแพทย์ไทยก็ได้ชี้แจงว่า ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ต้องหลีกเลี่ยงพฤติกรรมการรับประทานอาหารซึ่งเป็นสาเหตุทำให้สภาวะของไหล (ลม) ภายในกระเพาะอาหารกำเริบ ได้แก่ การกินอาหารที่ย่อยยาก เช่น อาหารทอด อาหารมัน กะทิ และอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น รวมถึงการกินอาหารในลักษณะรีบเคี้ยว รีบกลืน หรือเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด และรับประทานอาหารครั้งละมาก ๆ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลที่น่าสนใจจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดย พญ.ฐนิสา พัชรตระกูล ได้กล่าวไว้ว่า การกินอาหารเผ็ดเป็นประจำต่อเนื่อง พบว่าช่วยลดอาการปวดแสบร้อนในทางเดินอาหารได้ ซึ่งตรงกับการศึกษาในไต้หวัน ที่พบว่า แม้ว่าแคปไซซินจะเพิ่มอาการเสียดท้องหากคุณกินเพียงครั้งเดียว แต่การรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดอาการได้อย่างมากในปริมาณที่สูงขึ้น
จึงสรุปได้ว่า ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน โรคกระเพาะอาหาร โรคลำไส้แปรปรวน ที่กินอาหารเผ็ดเป็นครั้งคราว ไม่ได้กินเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเผ็ด เพราะอาหารเผ็ดจะทำให้อาการแย่ลง แต่หากกินอาหารเผ็ดเป็นประจำต่อเนื่อง พบว่าช่วยลดอาการปวดแสบร้อนในทางเดินอาหารได้
ถ้าอยากกินเผ็ดอยู่ และไม่ให้กระทบกับกรดไหลย้อน ควรทำอย่างไร?
ผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน หากต้องการกินเผ็ด ควรเริ่มรับประทานจากทีละน้อยก่อน แล้วค่อยปรับเพิ่มความเผ็ดขึ้นทีละน้อย จะทำให้สามารถรับประทานอาหารรสเผ็ดได้โดยไม่ทำให้เกิดอาการกำเริบ หรือสามารถปรึกษาแพทย์ประจำตัว เพื่อขอคำแนะนำในการกินอาหารเผ็ด
*หากกินเผ็ดแล้วรู้สึกแสบร้อนท้อง อาจแปลว่า เรากินเผ็ดเกินไป อาจลดความเผ็ดลง หรือหยุดกินเผ็ดไปจนกว่าอาการดีขึ้น
กินอย่างไรให้ห่างไกลกรดไหลย้อน?
- ไม่ควรนอน หรือเอนหลังภายใน 3 ชั่วโมง หลังมื้ออาหาร
- ไม่กินอาหารจนอิ่มกินไปโดยเฉพาะมื้อเย็น
- เคี้ยวอาหารให้ละเอียด ไม่กินเร็วเกินไป
- ควบคุมน้ำหนัก อย่าให้อ้วนจนเกินไป
- กินอาหารปริมาณน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ แทนการกินอาหารที่มากเกินไปในแต่ละมื้อ
- การเดินหลังมื้ออาหาร ช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ ในขณะเดียวกันก็ช่วยป้องกันอาการเสียดท้อง
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กินแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น กาแฟ อาหารมัน อาหารทอด อาหารรสจัด น้ำอัดลม เป็นต้น
- งดสูบบุหรี่ งดดื่มแอลกอฮอล์
- พยายามไม่ให้เกิดอาการท้องผูก โดยดื่มน้ำเปล่าให้มากขึ้น (ดื่มน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ)
การกินยาลดกรด (Antacid) เพื่อบรรเทาอาการกรดไหลย้อน
ยาลดกรดเป็นยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารให้มีความเป็นกลางมากขึ้น เช่น
1. อลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide, AlOH3) เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี ออกฤทธิ์ไว ปลอดภัย ออกฤทธิ์ที่กระเพาะอาหาร ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อย
2. แมกนีเซียมคาร์บอเนต (magnesium carbonate, MgCO3) ตัวยาจะเข้าทำปฏิกิริยากับกรดไฮโดรคลอริก (Hydrochloric acid) ในกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กรดมีฤทธิ์เจือจางลง ทำให้อาการระคายเคืองต่อแผลในกระเพาะอาหาร-ลำไส้ ลดน้อยลงไปด้วย
นอกจากตัวยาที่มีฤทธิ์ในการลดกรดแล้ว ยาที่วางขายในท้องตลาดมักผสมตัวยาชนิดอื่นเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการรักษา และบรรเทาอาการอันเนื่องมาจากกรดอีกด้วย ยาดังกล่าวได้แก่
• ไซเม็ททิโคน (simethicone) เป็นสารลดแรงตึงผิวที่ทำให้ฟอง และแก๊สในกระเพาะอาหาร สามารถระบายออกจากอาหารที่กำลังถูกย่อยได้ เสริมประสิทธิภาพในการขับลม ท้องอืด แน่นท้อง โดยยาประเภทนี้มีให้เลือกทั้ง ชนิดเม็ด และชนิดน้ำ ยาในกลุ่มนี้ เช่น เครมิล ชนิดเม็ด (Kremil Tablets)
วิธีใช้ยาลดกรด
• บรรเทาอาการที่เกิดจากแผลในกระเพาะอาหาร – รับประทานวันละ 2-4 เม็ด ทุก 4 ชั่วโมง หรือตามแพทย์สั่ง
• ลดกรดในกระเพาะอาหาร – รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด หลังอาหาร
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
อ้างอิง : 1. sciencefocus by Dr Emma Davies 2. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ เรื่อง การศึกษาความแตกต่างในการรักษาโรคกรดไหลย้อนของการแพทย์แผนปัจจุบัน
กับการแพทย์แผนไทย 3. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย 1 / 2 4. gedgoodlife.com