เมื่อมีไข้ เป็นหวัด จาม ร่วมกับอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ให้นึกถึง “ยาลดไข้ บรรเทาหวัดสูตรผสม” ที่สามารถจัดการได้ทั้งอาการไข้หวัด และภูมิแพ้ในเม็ดเดียว! ยาชนิดนี้จะมีสรรพคุณอย่างไร ทำไมต้องสูตรผสม? มาดูคำตอบกัน… ส่วนใครเป็นหวัดบ่อยต้องมีติดบ้านไว้!
- ยาพาราเซตามอล กินให้ถูก กินให้ดี ต้องกินอย่างไร?
- โรคไข้หวัด โรคยอดฮิตตลอดปี มีอาการยังไง เป็นกี่วันหาย กินยาอะไรดี?
- 9 วิธีป้องกันหวัดและภูมิแพ้ ไร้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหล ฉบับชาวออฟฟิศ
ทำความรู้จักกับ ยาลดไข้ บรรเทาหวัดสูตรผสม มีสรรพคุณอย่างไร?
ยาลดไข้ บรรเทาหวัดสูตรผสม ที่มีตัวยา “พาราเซตามอล” และ “คลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต” เป็นยาแก้ปวด และลดไข้ สำหรับอาการปวดเล็กน้อย ถึงปานกลางเนื่องจากมีประสิทธิภาพ และมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดผลข้างเคียง จึงมีความปลอดภัยสูง โดยสรรพคุณของยา มีดังนี้
• ยาพาราเซตามอล Paracetamol (PAR)
ยาพาราเซตามอล (หรือ อะเซตามีโนเฟน) เป็นยาแก้ปวดลดไข้ ที่ได้รับความนิยมและใช้กันทั่วโลก เป็นยาในกลุ่มลดไข้ บรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึง ปานกลาง เช่น
- ปวดศีรษะ
- ปวดหลัง
- ปวดเมื่อยจากไข้หวัด
- ปวดกล้ามเนื้อ
- ลดไข้ บรรเทาหวัด
พาราเซตามอล ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการสังเคราะห์พรอสตาแกลนดิน (prostaglandin) ในระบบประสาทส่วนกลาง และเพิ่มระดับกั้นความเจ็บปวด ส่วนฤทธิ์ลดไข้ จะผ่านกลไกยับยั้งการสังเคราะห์ และการหลั่งของพรอสตาแกลนดินในระบบประสาทส่วนกลางเช่นกัน พร้อมกับยับยั้งศูนย์ควบคุมอุณหภูมิร่างกายที่ไฮโปธาลามัส (hypothalamus) โดยยาถูกดูดซึมได้ดีอย่างรวดเร็วผ่านทางเดินอาหารเกือบทั้งหมด และขับออกส่วนใหญ่ในปัสสาวะ
• ยาคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต Chlorpheniramine Maleate (CPM)
ยาคลอร์เฟนิรามีน เป็นยาแก้แพ้ (antihistamines) มีสรรพคุณ ใช้บรรเทาอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น
ยานี้ออกฤทธิ์ต้านสารฮีสตามีนตามธรรมชาติ ที่ร่างกายผลิตขึ้นระหว่างเกิดอาการแพ้ โดยต้านสารธรรมชาติอื่น ๆ ที่ผลิตโดยร่างกายของคุณ เช่น สารอะซีทิลโคลีน (Acetylcholine) จะช่วยให้ของเหลวในร่างกายแห้งลง และบรรเทาอาการต่าง ๆ เช่น น้ำตา และน้ำมูกไหล
ข้อควรรู้ : ยาพาราเซตามอล และคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต ไม่ใช่ยาปฎิชีวนะ
ยาลดไข้ บรรเทาหวัดสูตรผสม ที่มีตัวยา 2 ชนิด ใน 1 เม็ด
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ยาแก้หวัดสูตรผสมกลุ่มนี้ คือ ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen) เหมาะกับผู้เป็นไข้ที่มีอาการหวัดร่วมด้วย เช่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย น้ำมูกไหล จาม เป็นต้น ประกอบด้วย
- ยาพาราเซตามอล ปริมาณ 500 มิลลิกรัม
- ผสมกับยาคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต ปริมาณ 2 มิลลิกรัม
* ยาชนิดนี้ไม่จัดอยู่ในกลุ่มยาอันตราย สามารถโฆษณา และซื้อขายได้ตามร้านขายยาทั่วไป
ขนาดรับประทานสำหรับยากลุ่มนี้คือ
- ผู้ใหญ่ รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมง
- เด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด ทุก 6-8 ชั่วโมง
ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้บ่อย คือ อาการง่วงนอนจากฤทธิ์ยาคลอร์เฟนิรามีน ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการเรียน และการทำงาน จึงอาจเปลี่ยนชนิดการใช้ยาเป็นยาแก้แพ้กลุ่มที่ไม่ง่วงนอนในช่วงเวลากลางวัน และใช้ยาแก้หวัดสูตรผสมในเวลากลางคืนแทน
คำแนะนำ และข้อควรระวังในการใช้ยา
1. ควรใช้ยานี้ตามวิธีใช้ที่ระบุไว้บนฉลากยา หรือตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด ห้ามใช้ยาในขนาดที่น้อยกว่า หรือมากกว่าที่ระบุไว้ ควรระมัดระวังการใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ระยะ 3 เดือนแรก) และหญิงให้นมบุตร ซึ่งการใช้ยาในผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น ผู้ป่วยห้ามหาซื้อยามารับประทานด้วยตัวเอง
2. ควรระมัดระวังการใช้ยานี้ในเด็ก และผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 7 ปี การใช้ยาจะต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากเด็ก และผู้สูงอายุจะมีการตอบสนองต่อยาที่ไวมากขึ้น ทำให้อาจจะมีอาการง่วงนอน วิงเวียน ประสาทหลอน ความดันโลหิตต่ำ นอนไม่หลับ ปากแห้ง ปัสสาวะคั่ง และบางรายอาจมีอาการชักได้
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการง่วงนอน วิงเวียน สับสน ปากแห้ง ตาพร่า เสมหะเหนียวข้น ปัสสาวะขัด หลังการรับประทานยาจึงควรหลีกเลี่ยง หรือเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง โดยหากมีข้อสงสัยควรสอบถามแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง และเหมาะสม
4. เมื่อใช้ยาสูตรผสมแล้ว ไม่จำเป็นต้องกินยาพาราเซตามอลอีก เรื่องนี้มักเกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยซื้อยาแก้ไข้หวัดแบบเม็ดรวม เช่น Decolgen มาทาน และยังทานพาราเซตามอลร่วมด้วย โดยที่ไม่รู้ว่าในยาเม็ดรวม หรือ Decolgen นั้นก็มียาพาราเซตามอลอยู่แล้ว ดังนั้นจึงทำให้ผู้ป่วยได้รับยามากเกินความจำเป็น และอาจเพิ่มโอกาสเกิดพิษจากการใช้ยาได้
5. สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงเล็กน้อย เช่น ง่วงนอน วิงเวียน ปากแห้ง ในผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการผื่นคันตามมา หากมีข้อสงสัยเรื่องการใช้ยา ควรปรึกษาเภสัชกรใกล้บ้าน
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
อ้างอิง : 1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) 1/2 2. ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม 3. hellokhunmor