ปวดท้องด้านซ้ายล่าง เป็นเพราะอะไร อันตรายหรือเปล่า?

27 มิ.ย. 24

ปวดท้องด้านซ้ายล่าง

 

มีทางบ้านส่งคำถามเข้ามาในหน้า ASK EXPERT ว่า “ปวดท้องด้านซ้ายล่าง” เป็นเพราะอะไร? วันนี้ GedGoodLife จึงขอนำคำถามนี้มาขยายให้กระจ่างชัดขึ้น มาติดตามกันได้เลย

ทำความรู้จัก อวัยวะในช่องท้อง

ในทางการแพทย์ หน้าท้อง อาจแบ่งออกเป็น 9 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนจะมีอวัยวะที่ต่างกันไป

1. ใต้ชายโครงขวา (Right Hypochondriac)
2. ส่วนลิ้นปี่ หรือส่วนยอดอก (Epigastric)
3. ส่วนใต้ชายโครงซ้าย (Left Hypochondriac)
4. ส่วนเอวขวา (Right Lumbar)
5. ส่วนสะดือ (Umbilical)
6. ส่วนเอวซ้าย (Left Lumbar)
7. ส่วนท้องน้อยขวา (Right Inguinal)
8. ท้องน้อยส่วนกลาง (Hypogastric)
9. ท้องน้อยซ้าย (Left Inguinal)

ท้องด้านซ้ายล่าง เป็นตำแหน่งของอวัยวะอะไรบ้าง?

ท้องน้อยซ้าย (left iliac) ส่วนนี้มีอวัยวะที่สำคัญคือ ลำไส้ใหญ่ซ้าย และลำไส้เล็ก ซึ่งหากเจ็บ หรือปวดท้องบริเวณนี้ อาจเป็นอาการของโรค เช่น โรคลำไส้ใหญ่ซ้าย และลำไส้เล็ก แต่ก็อาจเป็นความเจ็บปวดของอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ท่อไต รังไข่ และปีกมดลูกซ้าย โดยรังไข่ที่โตมาก ๆ ก็อาจจะลอยขึ้นมาอยู่ในส่วนนี้ได้

ปวดท้องด้านซ้านล่าง อาจเป็นโรคอะไรได้บ้าง?

  • ไส้เลื่อน
  • โรคไต
  • โรคถุงผนังลำไส้อีกเสบ
  • ท้องนอกมดลูก
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ซีสต์ในรังไข่

ปวดท้องด้านซ้ายล่าง

ตัวอย่างโรคที่อาจทำให้เกิดอาการ ปวดท้องข้างซ้ายล่าง

1. นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)

นิ่วในท่อไต นิ่วในท่อไตเกือบทั้งหมดเกิดจากนิ่วในไต แล้วหลุดมาติดในท่อไต เนื่องจากท่อไตมีขนาดเล็ก นิ่วที่ท่อไตจึงมักมีขนาดเล็ก เมื่อคาอยู่ในท่อไต ท่อไตก็พยายามบีบขับก้อนนิ่วออกมากับปัสสาวะได้เอง แต่อาจมีนิ่วในท่อไตบางส่วน ที่มีขนาดใหญ่คาอยู่ไม่ยอมหลุด ทำให้มีอาการปวดท้อง เป็น ๆ หาย ๆ ติดเชื้ออักเสบของทางเดินปัสสาวะ ไตอักเสบเรื้อรัง หรืออาจจะไตวายพิการได้

สาเหตุ

– การกินอาหารที่มีสารออกซาเลตสูง เช่น ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำชา มันเทศ หน่อไม้ ใบชะพลู ผักโขม ผักเสม็ด ผักกระโดน

– การกินอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่ว สาหร่าย หน่อไม้ ฯลฯ ในปริมาณมากเกินไป

– ดื่มน้ำน้อย หรืออยู่ในที่ร้อน ทำให้ปัสสาวะมีความเข้มข้นของสารเหล่านี้ จนตกผลึกกลายเป็นก้อนนิ่วได้

มีโรคในระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบทางเดินอาหาร เช่น ไตอักเสบ โรคหลอดเลือดในท่อไต ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคลำไส้อักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง โรคเกาต์

อาการนิ่วในท่อไต

– ปวดรุนแรงเป็นช่วง ๆ บริเวณข้างลำตัวและหลัง
– บางครั้งอาจปวดช่องท้องด้านล่างลงไปจนถึงขาหนีบ
– ปวดขณะปัสสาวะ ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย น้ำปัสสาวะน้อยผิดปกติ
– ปัสสาวะมีเลือดปน มีสีน้ำตาลหรือสีชมพู
คลื่นไส้ อาเจียน
– มีไข้ หนาวสั่น
– อาการปวดท้องอาจเป็น ๆ หาย ๆ แต่ถ้านิ่วยังไม่หลุดออก ก็ปวดได้เรื่อย ๆ

วิธีรักษานิ่วในท่อไต

– ถ้าพบว่าเป็นนิ่วในท่อไต แพทย์จะให้ยากลุ่มแอนตี้สปาสโมดิก กินบรรเทาอาการปวดท้อง แล้วนัดให้มาตรวจซ้ำภายใน 1-2 สัปดาห์
– ถ้าหากก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ ไม่สามารถหลุดออกมาได้เอง อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรือใช้เครื่องสลายนิ่ว

2. ปีกมดลูกอักเสบ (Salpingitis)

ปีกมดลูกอักเสบส่วนใหญ่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อย่างหนึ่ง เชื้อโรคที่พบบ่อยคือ เชื้อหนองใน รองลงมาคือเชื้อคลามัยเดีย ซึ่งอาการที่พบ คือ อาการปวดท้องน้อย ตกขาว

สาเหตุปีกมดลูกอักเสบ

– ติดเชื้อจากการสวนล้างช่องคลอด
– เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ จากเชื้อหนองใน และเชื้อคลามัยเดีย
– เกิดจากการทำแท้งที่ไม่สะอาด และมีเชื้อโรคแพร่กระจายเข้าในมดลูกและปีกมดลูก

อาการปีกมดลูกอักเสบ

– มีไข้สูง หนาวสั่น
– ปวดท้องน้อยทั้งสองข้าง หรือ ข้างใดข้างหนึ่ง
– ตกขาวออกเป็นหนอง มีกลิ่นเหม็น
– อาจมีอาการปวดหลัง คลื่นไส้ อาเจียน
– อาจมีประจำเดือนออกมาก และมีกลิ่นเหม็นในรายที่เกิดจากการติดเชื้อหนองใน
– อาจมีอาการขัดเบา ปัสสาวะปวดแสบขัดร่วมด้วย

วิธีรักษาปีกมดลูกอักเสบ

ถ้าตรวจแล้วว่ามีอาการติดเชื้อ ปีกมดลูกอักเสบ อาการไม่มาก แพทย์ก็จะให้ยาปฏิชีวนะชนิดกิน แต่ถ้าติดเชื้อรุนแรง หรือมีอาการปวดมาก อาจจะต้องได้รับยาปฏิชีวนะชนิดยาฉีด

เมื่อมีอาการ ปวดท้องด้านซ้ายล่าง ควรไปหาหมอเมื่อไหร่?

  • มีอาการปวดรุนแรง
  • กดหรือแตะถูกเจ็บ
  • หรือหน้ามืดเป็นลม
  • มีไข้สูง
  • กินยาบรรเทาปวดแล้วไม่ทุเลา

อาการปวดท้องข้างซ้าย หรือจะข้างขวา อาจเป็นอาการที่เราเจอกันได้บ่อย ๆ หลายครั้งเป็นอาการปวดท้องทั่วไป ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ที่แค่กิน ยาลดกรด ก็หายได้ แต่อาการปวดท้องบางอย่าง อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของความผิดปกติภายใน ดังนั้นควรสังเกตตัวเอง ถ้าหากกินยาแล้วไม่หายปวด อาจจะต้องไปพบแพทย์ต่อไป

คำถามเรื่องปวดท้องด้านซ้ายจากทางบ้าน

สำหรับใครที่มีอาการปวดท้อง หรือปัญหาทางด้านสุขภาพอื่น ๆ สามารถสอบถามเข้ามาได้ที่บอร์ด ASK EXPERT ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามได้เลยทันที ง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องโหลดแอพฯ

ปวดท้องด้านซ้ายล่าง

คำถาม : สวัสดีค่ะ ปวดท้องบริเวณหน้าท้องด้านซ้ายมาตั้งแต่เช้าแล้วค่ะ เวลาขยับตัวก็เจ็บ แลัวเวลานอนพอนอนตะแคงซ้าย จะเจ็บจนนอนไม่ได้เลยค่ะ อยากทราบว่าเป็นเพราะอะไร ?

หมอกอล์ฟตอบ : ต้องระวังเรื่องของการปวดจากกรดในกระเพาะอาหารเกินครับ ลองเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัด ไม่กินปิ้ง ทอด ย่าง และเคี้ยวให้ละเอียดดูนะครับถ้าอาการไม่ดีขึ้นต้องไปตรวจนะครับ

คำถาม : เคยเป็นลำไส้โป่งพองเมื่อตอนทารกครับ เมื่อวานอยู่ ๆ ก็ปวดบริเวณนั้นขึ้นมา กล้ามเนื้อท้องด้านซ้ายเกร็งกว่าด้านขวา รู้สึกมีลมในลำไส้ มีเสียงอืดเหมือนลมพยายามผ่านผนังเนื้อ ไม่มีผิวหนังนูนออกมาแสดงอาการไส้เลื่อน ก้มแล้วไม่ปวด แต่ถ้าลุกขึ้นไว ๆ จะปวด เคยทานยาแก้จุกเสียดเมื่อวันก่อนแต่ยังไม่หาย ยังไม่มีอาการท้องเสีย อาการปวดเหมือนการอั้นปัสสาวะไว้นาน ๆ

คลำแถวสีข้างไม่ปวดครับ มีโอกาสเป็นอาการใดได้บ้างครับ?

หมอกอล์ฟตอบ : สวัสดีครับ คุณแอล คนที่เป็นไส้เลื่อนมาก่อนผนังหน้าท้องก็จะอ่อนแอและบาง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นลำไส้อักเสบ ลำไส้ติดเชื้อหรือมีก้อนในช่องท้องทางที่ดีลองไปตรวจดูเพิ่มเติมก็ดีครับ

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save