“เชื้อราแมว” สามารถติดต่อสู่คน ทำป่วยโรคผิวหนังได้ •สาเหตุ •อาการ •วิธีรักษา

1 ก.ค. 24

เชื้อราแมว

 

เชื้อราแมว หรือกลากแมว คือโรคจากสัตว์แสนรักอย่างแมว ที่สามารถติดต่อสู่คนหรือที่นิยมเรียกว่า “ทาสแมว” ได้ ยิ่งในปัจจุบันผู้คนหันมานิยมเลี้ยงแมวกันมากขึ้น บางคนก็เลี้ยงไว้เพื่อแก้เหงา บางคนก็เลี้ยงเพราะเชื่อว่าช่วยรักษาอาการซึมเศร้าได้ แต่ไม่ว่าจะเลี้ยงด้วยสาเหตุอะไร ทาสแมวทั้งหลายก็ควรรู้จักโรคที่มาจากเจ้านาย หรือแมวไว้ด้วย จะได้รู้เท่าทัน ป้องกันได้ โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก อากาศชื้นแบบนี้ ยิ่งต้องระวังเชื้อราแมวกันให้ดี!

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด กลุ่มไม่ทำให้ง่วง

ทำความรู้จักกับ “เชื้อราแมว – Ringworm in Cats”

เชื้อราแมวมีหลายชนิด แต่ที่พบได้บ่อยคือเชื้อ Microsporum canis อาศัยอยู่ตามผิวหนังของสัตว์ สาเหตุของการเกิดเชื้อราชนิดนี้มาจากความชื้นสะสมส่วนต่าง ๆ ในร่างกายของแมว สามารถสังเกตได้จากผิวหนังของแมวที่มีลักษณะแห้ง แดง และอาจมีอาการลอกของผิวหนัง และขนร่วงเป็นหย่อม ๆ โดยแมวขนยาวจะมีความเสี่ยงในการเกิดเชื้อราได้มากกว่าแมวที่มีขนสั้น (เช่นแมวเปอร์เซีย) เพราะสามารถสะสมความชื้นได้มากกว่า

นอกจากแมวแล้วสัตว์อื่น ๆ เช่น สุนัข กระต่าย หนูแฮมสเตอร์และสัตว์ขนยาว ก็สามารถติดเชื้อนี้เช่นกัน จากการทำความสะอาดไม่เพียงพอ เชื้อราแมวสามารถติดต่อสู่คนได้ และต้องใช้เวลานานสักระยะหนึ่งในการรักษา (อาจมากกว่า 6 เดือนก็ได้) แถมโรคนี้ยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำ และเพิ่มรอยดำจากแผลเป็นมากขึ้นอีก

แมวที่มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อราแมว

• แมวที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เครียด
• แมวมีความชื้นสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ
• ลูกแมว หรือแมวที่มีอายุมาก
• ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

คนที่มีโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อราแมว

• ร่างกายไม่แข็งแรง มีโรคประจำตัว
• นอนดึก หรือคนที่มีความเครียด
• คลุกคลีกับแมวที่ติดเชื้อรา

เชื้อราแมวติดต่อสู่คนได้อย่างไร?

เชื้อราแมวสามารถติดต่อสู่คนได้จากการสัมผัสกับผิว หรือขนของแมว โดยไม่จำเป็นต้องมีบาดแผล ก็ทำให้คนเลี้ยงติดเชื้อราจากแมวได้ หรือแม้แต่บริเวณบ้านที่แมวอยู่มักจะมีเชื้อราอยู่ โดยสปอร์ของเชื้อราจะหลุดร่วงมาจากผิว หรือขนของแมว และสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานเป็นเดือน หรือเป็นปีเลยทีเดียว การทำลายสปอร์ควรใช้สารฟอกขาว ละลายในน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 10 เพื่อทำลายสปอร์ในอุปกรณ์ของสัตว์เลี้ยง และสิ่งแวดล้อม

วิธีสังเกตเชื้อราในแมว

• แมวมีอาการคัน ขนร่วงเป็นหย่อม ๆ
• มีตุ่มเล็ก ๆ ขึ้นตามผิวหนัง หรือเป็นสะเก็ด
• ขนเริ่มร่วง อาจพบขนร่วงหายไปเป็นจุดเล็กจนถึงเป็นวงกว้าง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร
• ลูกแมวที่เป็นเชื้อรามักมีร่องรอยเริ่มต้นที่หน้า โดยเฉพาะสันจมูก และใบหู

ลักษณะอาการเชื้อราแมวที่ติดต่อสู่คน

ลักษณะอาการของโรคนี้สังเกตได้ไม่ยาก แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ได้แยกลักษณะเชื้อราแมวที่ติดในคน ไว้ดังนี้

• มีลักษณะเป็นผื่นกลม มีขุย สีแดง ขอบเขตชัด

• มีอาการคัน เกิดขึ้นได้ในบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งบริเวณใบหน้า มือ เท้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายที่สัมผัสกับแมว

• คนที่ถูกเชื้อราจากแมว อาจเกิดจากมีภูมิคุ้มกันน้อย และอาจเกิดจากผิวหนังบอบบางแพ้ง่าย

ข้อควรระวัง! นิ้วที่เกาเชื้อราแมว หากเผลอไปเกาบริเวณอื่นอาจทำให้บริเวณนั้นติดเชื้อราด้วยได้

เชื้อราแมว

กลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อราแมว

  • เด็กเล็ก
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • ผู้เลี้ยงสัตว์หลายชนิด
  • ผู้ที่คลุกคลีใกล้ชิดกับแมว

วิธีรักษาเชื้อราแมวในคน

ปกติแล้วสภาพผิวหนังปกติของคนจะมีแบคทีเรียที่รักษาความสมดุลบนผิวหนังไว้ไม่ให้ง่ายต่อการติดเชื้อ แต่ช่วงเวลาที่เราเครียดบ่อย หรือป่วย จะทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง หรือแม้แต่การรบกวนผิวหนังมากเกินไป เช่น ล้างมือด้วยสบู่ หรือสเปรย์แอลกอฮอล์บ่อย อาจทำให้แบคทีเรียดี ๆ บนผิวตายไป ง่ายต่อการติดเชื้อรามากขึ้น ส่วนวิธีจัดการกับเชื้อราแมว มีดังต่อไปนี้

1. หากมีอาการน้อย มีผื่นขึ้นไม่มาก 1-2 จุด ใช้ยาทาฆ่าเชื้อราต่อเนื่องประมาณ 3 สัปดาห์ ผื่นจะค่อย ๆ หายไป

2. หากมีอาการมาก ผื่นขึ้นทั่วร่างกาย ต้องใช้ทั้งยาทาและยากินร่วมกัน ระยะเวลาในการรักษาตั้งแต่ 3 สัปดาห์ขึ้นไป

3. หากจะซื้อยามารักษาเอง ควรปรึกษาเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาอย่างถูกต้อง

4. ควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ด้วย เพื่อรักษาเชื้อราให้หายดี

ในส่วนนี้เป็นการรักษาอาการติดเชื้อ ซึ่งไม่ใช่การรักษารอยดำที่เกิดจากการติดเชื้อ และถึงแม้ว่าอาการเชื้อราจะหายแล้ว รอยดำจากเชื้อจะยังคงอยู่ โดยจะจางไปเองภายใน 2-3 เดือน และมักไม่มีแผลเป็นเกิดขึ้น

การป้องกันการติดเชื้อราแมว โดยแพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ

1. ล้างมือหลังสัมผัสแมวทุกครั้ง

2. หมั่นทำความสะอาดสิ่งของภายในบ้านที่แมวมีการสัมผัส เช่น โซฟา หมอน พรมปูพื้น

3. ไม่คลุกคลีกับแมวมากเกินไป

4. นำแมวฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อราเมื่อแมวอายุ 2 เดือนขึ้นไป และฉีดวัคซีนหลักครบแล้ว ควรฉีดกระตุ้นซ้ำ 3 เข็ม หลังจากนั้นกระตุ้นทุก 1 ปี

5. หมั่นดูแลทำความสะอาดขนของแมว อาบน้ำเป่าขนให้แห้ง และหากแมวมีผื่น ขุย หรือขนร่วงควรรีบพาไปพบสัตวแพทย์โดยด่วน

 

การจะเป็นทาสแมวอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องหมั่นดูแลเรื่องสุขภาพของเจ้านาย (น้องแมว) ทั้งเรื่องอาหารการกิน ค่ายารักษา รวมถึงสถานที่ต้องสะอาดด้วย ฉะนั้นใครที่อยากเป็นทาสแมว ก็ต้องทุ่มทั้งแรงกาย แรงใจกันหน่อย และหากทาสคนไหนเป็นภูมิแพ้ขนแมว GED good life แนะนำให้อ่านบทความนี้ เพื่อเป็นแนวทางในการเลี้ยงแมวต่อไป -> แพ้ขนแมว แต่อยากเลี้ยง ต้องทำไง?


อ้างอิง : 1. โรงพยาบาลเพชรเวช 2. สถาบันโรคผิวหนัง  3. ramachannel 4. gatoro

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

โรคภูมิแพ้ดูแลด้วย อัลเลอร์นิค ยาแก้แพ้ชนิดเม็ด กลุ่มไม่ทำให้ง่วง

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save