อาการไอหลังกินข้าว ใครไม่เป็นคงไม่รู้ว่ามันทรมานแค่ไหน เพราะเราต้องกินข้าวทุกวัน วันนึงก็หลายมื้อ ถ้าต้องไอทุกครั้งหลังกินข้าวก็จะอันตรายต่อสุขภาพได้ ฉะนั้นเรามาค้นหาสาเหตุ และวิธีดูแลรักษาอาการไอหลังกินข้าวกันดีกว่า
• อาการไอมีกี่แบบ แบบไหนควรรีบไปพบแพทย์ ?
• ยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน” สรรพคุณ วิธีใช้ให้ถูกต้อง ปลอดภัย
• อาการไอในเด็ก มักเกิดจากสาเหตุใด ไอแบบไหนอันตราย? พร้อมวิธีเลือกซื้อยาแก้ไอเด็ก
ลักษณะอาการไอหลังกินข้าว
ผู้ป่วยมักจะมีอาการไอเรื้อรัง โดยสัมพันธ์กับมื้ออาหาร โดยเฉพาะกลางวัน หรือตอนเย็น รับประทานอาหารเสร็จทีไร มักจะรู้สึกคันคอ ไอ หรือมีเสมหะร่วมด้วย บางคนไอหลังทานข้าวเสร็จไปประมาณ 2 ชั่วโมง หรือบางคนไม่ทันจะถึง 10 นาที ก็เกิดอาการไอขึ้นมาแล้ว ยิ่งในผู้สูงวัยจะพบอาการไอหลังกินข้าวได้บ่อย เพราะ มักจะมีพฤติกรรมกินข้าวแล้วนอนต่อเลย
ฉะนั้นอาการไอหลังกินข้าว มักจะมีลักษณะไอเรื้อรังเนื่องจากมีพฤติกรรมเดิม ๆ ไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น ไอมีเสมหะ หรืออาจไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะก็ได้ แล้วแต่บุคคลไป
อาการไอมีเสมหะหลังกินข้าว มีสาเหตุจากอะไร?
นายแพทย์ วินัย โบเวจา หมอโรคปอดและทางเดินหายใจ ได้เผยถึง 6 สาเหตุ และวิธีแก้ไขอาการไอหลังกินข้าว ไว้ดังนี้
1. ภาวะกรดไหลย้อน
เจอได้ในทุกวัย เกิดจากการกินข้าวเสร็จ ง่วงนอนก็เอนตัวนอนลง ทำให้ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ ตื่นมาก็ยังไอ เนื่องจากอาหารยังไม่ทันย่อยก็ไปนอนแล้ว เนื่องจากเกิดภาวะกรดไหลย้อน โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ และในผู้ป่วยที่เป็นโรคกรดไหลย้อนมาก่อน ฉะนั้นถ้าใครมีพฤติกรรมกินแล้วนอนทันที ให้ปรับพฤติกรรมด่วน ถ้าง่วงจริง ๆ อย่านอนราบ ให้นอน 30-45 องศา อย่านอนต่ำกว่านี้ ไม่งั้นจะเสี่ยงเกิดภาวะกรดไหลย้อนสูงมาก
อ่านเพิ่มเติม -> 8 ต้นเหตุโรคกรดไหลย้อน รู้เท่าทัน ป้องกันได้! / ยารักษากรดไหลย้อน
2. แพ้อาหาร
อาหารที่มักทำให้ไอ มีเสมหะ คันคอ ได้แก่ อาหารรสจัด อาหารทอด อาหารที่มีเครื่องเทศเยอะ ๆ เครื่องดื่มเย็น ๆ เป็นต้น แต่ในบางคนอาจแพ้อาหาร เช่น แพ้ชีส แพ้ถั่ว แพ้ของหวาน ทำให้มีอาการคันยิบ ๆ ในคอ จึงทำให้อยากไอ ไอแห้ง ๆ หรือมีเสมหะนิดหน่อย แต่จะคันคอเยอะมาก ฉะนั้น ลองสังเกตดูว่า อาหารประเภทไหนที่เรากินแล้ว ทำให้เราไอ ก็พยายามเลี่ยงอาหารเหล่านั้น
อ่านเพิ่มเติม -> 8 อาหารกินแล้วไอ เลี่ยงได้เลี่ยง ในยุคโควิดระบาด! / ยาแก้แพ้อาหาร
3. หอบหืดกำเริบ
ในคนไข้ที่มีประวัติแพ้อาหารมาก เมื่อกินอาหารที่แพ้เข้าไปเยอะ เช่น ถั่ว โปรตีน ไข่ขาว แอลกอฮอล์ จะทำให้เกิดหอบหืดกำเริบ เกิดภาวะหลอดลมหดเกร็ง หลอดลมตีบ ไอแห้ง ๆ ไอมีเสียงวี๊ด หอบ และอาจมีผื่นขึ้นตามตัวได้
4. สำลักอาหาร
มักเจอมากในผู้สูงอายุ หรือในคนไข้ที่มีปัญหากล่องเสียง เคยผ่าตัด เคยใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นอัมพฤต อัมพาต เป็นต้น เมื่อกลืนอาหารลงไปแล้ว อาหารบางอย่างอาจเล็ดรอดลงไปในหลอดลม ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอติดต่อกันหลาย ๆ ครั้งเพื่อขับดันให้เศษอาหารนั้นหลุดออกไปจากหลอดลม หากเป็นบ่อยจะอันตราย ทำให้เกิดโรคภาวะปอดอักเสบเรื้อรังได้ ฉะนั้นถ้าใครสำลักอาหารบ่อย ๆ หลังทานอาหารเสร็จ ควรเข้าพบแพทย์ รักษาอย่างถูกวิธี
5. โรคปอดเรื้อรัง
คนไข้โดยเฉพาะที่เป็นโรคหลอดลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง เมื่อกินอาหารที่กระตุ้นให้ไอ จะไอง่ายกว่าคนปกติ โดยเฉพาะในมื้อเที่ยงจะเป็นมื้อที่เสมหะออกมาเยอะ ทำให้กระตุ้นการไอได้ง่ายกว่าปกติ มักมีอาการไอมีเสมหะออกมาเยอะมาก ไม่ว่าจะสีเหลือง สีเขียว หรือสีขาว ฉะนั้นใครที่เป็นโรคปอดอาจต้องระวังการกิน และควรดูแลรักษาตนเองตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
อ่านเพิ่มเติม -> ยาแก้ไอละลายเสมหะ
6. ภูมิแพ้จมูก
โดยเฉพาะอาหารรสจัด อาหารเผ็ด ๆ จะทำให้น้ำมูกไหลลงคอ ทำให้เกิดอาการไอได้ง่าย อาจไอระหว่างกินข้าว หรือหลังกินข้าวก็ได้ หากไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นภูมิแพ้จมูกหรือไม่ แนะนำให้เข้าพบแพทย์เพื่อตรวจจมูก หาสาเหตุต่อไป
อ่านเพิ่มเติม -> ยาแก้แพ้อากาศ
5 วิธีป้องกันอาการไอหลังกินข้าว
1. รับประทานอาหารให้ช้าลง เคี้ยวให้ละเอียด
2. สังเกตอาหารที่ทำให้เรากินแล้วไอเป็นประจำ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านั้น
3. ไม่กินแล้วนอนทันที เพื่อป้องกันภาวะกรดไหลย้อน
4. ห้ามรับประทานอาหารระหว่างที่มีอาการไอ เพราะอาจทำให้สำลักได้
5. ทานยาเพื่อรักษาสาเหตุของอาการไอ เช่น ยารักษาโรคกรดไหลย้อน และยาแก้แพ้อากาศ
เช็กให้ชัวร์! ว่าเราไอ หรือแค่กระแอม
อาการไอ กับ อาการกระแอม นั้นมีความแตกต่างกัน บางคนกินข้าวเสร็จต้องกระแอมบ่อย ๆ เพื่อเคลียร์ลำคอ แต่บางคนก็ถึงขั้นไอออกมา ฉะนั้น 2 อาการนี้อาจทำให้เราสับสนได้ มาแยกแยะให้ถูกว่า ไอ กับ กระแอม แตกต่างกันยังไง ดังนี้
• อาการไอ คือ อาการที่ลมพุ่งขึ้นมาจากปอดโดยแรง เพื่อขับสิ่งที่อาจจะเป็นอันตรายออกมา ทำให้เกิดเสียงพิเศษดังจากลำคอโดยไม่ตั้งใจ เมื่อได้ยินก็รู้ว่า “ไอ”
• อาการกระแอม คือ อาการที่ทำเสียงในลำคอคล้ายไอ เพื่อให้โปร่งคอ หรือให้เสียงหายเครือ หรือเพื่อให้เขารู้(เพื่อเตือนหรือดุ) หรืออาจใช้คู่กับไอ เช่น กระแอมกระไอ เป็นต้น
อ้างอิง: 1. หมอวินัยโบเวจา 2. verywellhealth 3. หมอชาวบ้าน
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok : @gedgoodlife