8 ต้นเหตุโรคกรดไหลย้อน รู้เท่าทัน ป้องกันได้!
กรดไหลย้อนเป็นหนึ่งในโรคที่ทำให้ผู้คนต้องล้มป่วยมากมาย โดยไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรคือต้นเหตุให้ตัวเองเป็นโรคนี้! วันนี้ Ged Good Life จึงจะมาเผยถึง 8 ต้นเหตุโรคกรดไหลย้อน ที่คุณอาจคาดไม่ถึงมาก่อน อย่ารอช้า! มาดูกันเลยว่าจะมีต้นเหตุจากอะไรบ้าง จะได้รู้เท่าทัน ป้องกันได้!
- เช็กอาการ! กรดไหลย้อน 4 ระยะ มีอาการ และวิธีรักษาอย่างไร?
- โรคกรดไหลย้อน กับ โรคแพนิค สัมพันธ์กันอย่างไร ปรับชีวิตยังไงดี?
- ยาลดกรด ยารักษากรดไหลย้อน คืออะไร มีกี่ชนิด ใช้อย่างไรให้ถูกต้อง?
8 ต้นเหตุโรคกรดไหลย้อน
1. โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes Mellitus)
โรคเบาหวานมีอยู่ 4 ชนิด ประมาณ 90-95% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะมีความชุกของโรคกรดไหลย้อน (GERD) สูงขึ้น มีผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าโรคเส้นประสาทที่เกิดจากเบาหวาน (Diabetic neuropathy) มีบทบาทต่อการพัฒนาของโรคกรดไหลย้อน เพราะ การเป็นเบาหวานทำให้เซลล์ประสาทเสียหาย จึงส่งผลให้ช่วงเวลาของกระเพาะว่างช้าลงสองเท่าของคนปกติ
กลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ สมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2, เพศชาย อายุ 40 ปีขึ้นไป, มีน้ำหนักเกิน รูปร่างท้วม หรืออ้วน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 23-24.90 เป็นต้น
2. โรคหอบหืด (Asthma)
ผู้ป่วยหอบหืดต้องระวัง! มีงานวิจัยได้ชี้ชัดว่า 25 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใหญ่ที่เป็นโรคหอบหืดก็เป็นโรคกรดไหลย้อนเช่นกัน
หลายคนอาจสงสัยว่า โรคหอบหืดกับโรคกรดไหลย้อน เกี่ยวข้องกันอย่างไร? คำตอบก็คือ เมื่อปอดบวมอันเนื่องมาจากหอบหืด ความกดดันที่เพิ่มขึ้นในกระเพาะอาหารอาจทำให้กล้ามเนื้อที่ป้องกันกรดไหลย้อนหย่อนยานได้ ส่งผลให้กรด หรือแก๊สในกระเพาะอาหารไหลกลับเข้าไปในหลอดอาหารนั่นเอง
ผู้ป่วยโรคหอบหืดที่เป็นโรคกรดไหลย้อนด้วยนั้น อาจมีอาการโรคหอบหืดรุนแรงมากขึ้นได้ ฉะนั้นการรักษาโรคกรดไหลย้อน ก็จะช่วยบรรเทาโรคหอบหืดได้ด้วย และไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้าพบแพทย์ ก่อนจะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้
3. อายุเพิ่มมากขึ้น (Aging)
ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงวัย 60-70 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเกิดกรดไหลย้อนสูงขึ้น เนื่องจากหูรูดกระเพาะอาหารจะหย่อนมากกว่าปกติ และเยื่อบุต่าง ๆ เสื่อมสภาพลง น้ำลายลดลง หรือต้องรับประทานยาต่าง ๆ หลายชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้น้ำลายลดลง หรือกินยาบางอย่างที่ทำให้หูรูดกระเพาะปิดไม่สนิท ก็มีอาการของโรคกรดไหลย้อนตามมา
4. ยารักษาโรค และอาหารเสริม (Medications and dietary supplements)
สำหรับใครที่มีโรคประจำตัวอยู่ อาจต้องระวังเรื่องการกินยาสักหน่อย เพราะ ยาและอาหารเสริมบางชนิดอาจทำให้เยื่อบุหลอดอาหารระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก เป็นกรดไหลย้อนได้ เช่น
- ยาโรคซึมเศร้า
- ยาแก้ปวด เช่น แอสไพริน ไอบิวพรอเฟน
- ยาปฏิชีวนะ
- ยาโรคกระดูกพรุน
- อาหารเสริมอย่าง ธาตุเหล็ก และ โพแทสเซียม เป็นต้น
5. มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกรดไหลย้อน
สาเหตุที่พบได้บ่อยในการเกิดกรดไหลย้อนมักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร เช่น
- กินแล้วนอนทันที
- เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด
- กินมากเกินไป และชอบกินอาหารทอด อาหารมัน อาหารรสจัด
- สูบบุหรี่ ดื่มน้ำอัดลม ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ใส่เสื้อผ้ารัดเกินไป
พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดความผิดปกติของหูรูดส่วนปลายหลอดอาหาร ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันกรดไหลย้อนจากกระเพาะอาหาร ส่งผลต่อความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหารในที่สุด
6. โรคอ้วน (Obesity)
อาหารการกิน และไลฟ์สไตล์ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับการทำงานของระบบทางเดินอาหาร ผู้ที่ป่วยด้วยโรคกรดไหลย้อน ส่วนใหญ่มีจุดเริ่มต้นมาจากการมีภาวะน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน โดยในผู้ป่วยโรคอ้วน จะมีไขมันในช่องท้องมาก ซึ่งมีผลต่อการเกิดแรงดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้มีโอกาสเป็นโรคกรดไหลย้อนได้ง่ายนั่นเอง
การมีภาวะน้ำหนักเกินไม่เพียงแต่เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคกรดไหลย้อนเท่านั้น แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารอื่น ๆ เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งตับอ่อน มะเร็งลำไส้ เป็นต้น
7. ผู้หญิงตั้งครรภ์
กรดไหลย้อน คือ หนึ่งในโรคยอดฮิตของคุณแม่ระหว่างตั้งครรภ์ที่เป็นได้ง่าย และบ่อยมาก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน และระบบภายในของร่างกาย รวมทั้งช่องท้องของคุณแม่จะเติบโตขึ้นผันแปรกับการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์ ทำให้ดันไปที่กระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย โดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน หรือหลังรับประทานอาหาร คุณแม่จะรู้สึกแสบร้อนที่หน้าอก และมักเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 6-12 สัปดาห์ รวมทั้งระหว่างตั้งครรภ์ 3-6 เดือน และช่วงใกล้คลอด
คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
8. ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ (Weak immune system)
การมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับไม่เพียงพอ, การไม่ออกกำลังกาย, โภชนาการทางอาหารไม่ดีพอ จะทำให้เชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้เราป่วยบ่อย ซึ่งโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอนั้น มีส่วนทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้เช่นกัน เช่น โรคหอบหืด โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น
3 สิ่งอันตรายที่ควรรู้! เมื่อกรดไหลย้อนออกไปนอกหลอดอาหาร
1. กรดไหลย้อนไปที่เยื่อบุจมูกทางด้านบน ทำให้มีอาการคัน, จาม, คัดจมูก, น้ำมูกไหล หรือมีเสมหะไหลลงคอได้ หรือทำให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิแพ้ของจมูกอยู่แล้ว มีอาการแย่ลงได้
3. กรดขึ้นไปสูงถึงรูเปิดของหูชั้นกลางที่อยู่ที่โพรงหลังจมูก อาจทำให้รูเปิดดังกล่าวบวม ทำให้ท่อยูสเตเชียนที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลาง และโพรงหลังจมูกทำหน้าที่ผิดปกติไป ทำให้เกิดหูอื้อ เป็น ๆ หาย ๆ หรือมีอาการปวดหูได้
3. กรดไหลเข้าไปในช่องปาก อาจกระตุ้นต่อมสร้างน้ำลาย ทำให้มีน้ำลายมากผิดปกติ หรือกรดไปกัดกร่อนฟัน ทำให้เกิดฟันผุ หรือเสียวฟันได้ การที่กรดไหลย้อนขึ้นมาทำให้พาเอากลิ่นอาหารในกระเพาะอาหารขึ้นมาด้วย จึงอาจเป็นสาเหตุของการมีกลิ่นปากได้
การรักษากรดไหลย้อนด้วย ยาลดกรด (Antacid)
ยาลดกรด เป็นยาที่ช่วยปรับสภาพความเป็นกรดภายในกระเพาะอาหารให้มีความเป็นกลางมากขึ้น เช่น ตัวยาอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (Aluminum Hydroxide) เป็นยาที่สามารถยับยั้งการหลั่งกรดได้ดี ปลอดภัย ออกฤทธิ์ที่กระเพาะอาหาร ดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดน้อย นอกจากนี้ยาที่วางขายในท้องตลาดมักผสมตัวยา ไซเม็ททิโคน (simethicone) เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการขับลม ท้องอืด แน่นท้อง
ปัจจุบันมียาสูตรผสม (combination drug) หลายตัวที่ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด แน่น จุกเสียด แสบร้อนกลางอก เช่น เครมิล แก๊สเปคเอส เนื่องจากให้ประโยชน์มากกว่ายาเดี่ยวหลายประการ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพยา ให้ผลในการรักษาเร็วขึ้น รักษาได้หลายอาการมากขึ้น ลดอาการไม่พึงประสงค์ (เนื่องจากการใช้ยาเดี่ยวอาจต้องใช้ยาขนาดสูง) เพิ่มความสะดวกในการใช้ยา (กินยาเพียงครั้งเดียว) และทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการใช้ยาง่ายขึ้น
การรักษาโรคกรดไหลย้อน ควรรับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่งไม่ควรลดขนาดของยา หรือหยุดยาเอง
อ้างอิง : 1. healthline 1/2 2. mayoclinic 3. sanook 4. paolohospital
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่