ถึงแม้ว่าอวัยวะต่าง ๆ ของเรานั้น ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่ถ้าหากเราใส่ใจ และรู้จักวิธีดูแลตัวเองอย่างถูกต้อง อวัยวะต่าง ๆ ก็จะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และแข็งแรงกว่าคนอื่น ๆ ในวัยเดียวกันได้ Ged Good Life จึงขอแนะนำ วิธียืดอายุ 10 อวัยวะสำคัญของร่างกาย เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน ห่างไกลหมอ แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!
วิธีดูแล 10 อวัยวะสำคัญของร่างกาย แนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
1. ผิวหนัง (Skin)
หลังอายุ 18 ปี คอลลาเจน และอีลาสตินที่ยืดหยุ่นได้ จะลดลงประมาณ 1% ต่อปี ลองนึกภาพถ้าเราไม่ใส่ใจดูแลผิวของเรา ใบหน้าของเราจะแก่กว่าวัยแค่ไหน
วิธีดูแลสุขภาพผิวหนัง
1. ทาครีมกันแดดที่มีประสิทธิภาพ และไม่ทำให้ผิวเราแพ้
2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอาหารที่ช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส
3. ลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ ตัวการทำลายผิวโดยตรง รวมถึงนอนหลับให้เพียงพอ
2. ปอด (Lungs)
หลังอายุ 30 ปี การทำงานของปอดจะเริ่มลดลง 1% ต่อปี และลดลงในคนที่อยู่นิ่ง ๆ มากกว่าคนที่กระตือรือร้น กล่าวโดย Dr. Thomas Perls แพทย์ผู้สูงอายุและผู้วิจัยหลักของ New England Centenarian Study ที่ศูนย์การแพทย์บอสตัน
วิธีดูแลสุขภาพปอด
1. ออกกำลังกายที่มีส่วนช่วยให้ปอดแข็งแรง เช่น การว่ายน้ำ หรือ วิ่ง
2. หลีกเลี่ยงมลพิษที่ทำร้ายปอด เช่น PM2.5 ควันธูป ควันจากการประกอบอาหาร ฝุ่นขนาดเล็ก และสารเคมีที่มีไอระเหยต่าง ๆ
อ่านเพิ่มเติม -> 10 อาหารบำรุงปอด ให้แข็งแรง แถมหากินง๊ายง่าย โดยกรมอนามัย
3. กระดูก (Bone)
หลังอายุ 35 ปี มวลกระดูกมีแนวโน้มที่จะลดลงในอัตราสูงถึง 1% (และจะมีอัตราลดลงเร็วขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน)
วิธีดูแลสุขภาพกระดูก
1. ออกกำลังกายแบบยกน้ำหนัก ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกดีขึ้นได้
2. การกระโดด 20 ครั้งต่อวัน ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกสะโพกดีขึ้นได้
3. ระวังการล้ม และการใช้ยาบางชนิด เพื่อป้องกันกระดูกหัก กระดูกพรุน และควรเสริมสร้างแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
4. ดวงตา (Eyes)
หลังอายุ 40 ปี ดวงตา จอประสาตา เลนส์ตาจะเสื่อมลง ในอัตราที่ไม่สม่ำเสมอ ระยะการมองเห็นก็ลดลงตามวัย
วิธีดูแลสุขภาพดวงตา
1. สวมแว่นตากันแดด เพื่อปกป้องสายตาของคุณจากรังสี UV
2. พักสายตาจากการจ้องมองคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ทีวี เป็นเวลานาน
3. งดการสูบบุหรี่ เพราะสามารถเร่งการก่อตัวของต้อกระจกได้
อ่านเพิ่มเติม -> วิธีดูแลดวงตา ไม่ให้เสื่อมก่อนวัย พร้อมอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตา
5. กล้ามเนื้อ (Muscles)
หลังอายุ 40 ปี มวลกล้ามเนื้อจะลดลง และเปลี่ยนเป็นไขมันเมื่อเราอายุมากขึ้น กล่าวโดย Dr. Luigi Ferrucci ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันผู้สูงอายุแห่งชาติ
วิธีดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อ
Dr. Luigi แนะนำว่า คุณต้องแทรกกิจกรรมการออกกำลังกายลงในกิจวัตรประจำวัน หากคุณต้องการหลีกเลี่ยงการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเมื่อสูงวัยขึ้น
6. ไต (kidneys)
หลังอายุ 50 ปี การทำงานของไตจะเริ่มเสื่อมลงที่ละเล็กที่ละน้อย ที่เราไม่อาจรู้สึกถึงการเสื่อมถอยนี้ได้ ฉะนั้นอย่าประมาทคิดว่าไม่รู้สึกแล้วจะไม่เป็นไร
วิธียืดอายุไต
1. ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เป็นสิ่งสำคัญสุด ๆ ในการคงสุขภาพไตให้สมบูรณ์ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. อาหารรสจัด ก็ควรหลีกเลี่ยง
อ่านเพิ่มเติม -> ไต มีหน้าที่สำคัญอย่างไร? พร้อม 7 วิธี ดูแลสุขภาพไตให้แข็งแรง
7. สำไส้ (Gut)
หลังอายุ 60 ปี ปุ่มเล็ก ๆ ที่ทำหน้าที่ดูดซึมสารอาหารในลำไส้เล็กจะบางลง ร่างกายจึงดูดซึมสารอาหารได้น้อยลงตามไปด้วย
วิธีดูแลสุขภาพลำไส้
1. กินอาหารย่อยง่าย กินปลา ถั่ว เห็ด รวมถึงผักผลไม้ให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารทอด
2. กินโยเกิร์ต 1 ถ้วยทุกวัน เสริมโปรไบโอติก เพิ่มปริมาณแบคทีเรียดีในลำไส้
3. ฝึกโยคะ 4 ท่าช่วยระบบย่อยทุกเช้าหลังตื่นนอน ดังนี้ ท่าแมว ท่าสุนัข ท่าสามเหลี่ยม ท่าสะพาน และปิดท้ายด้วยท่าศพ ครั้งละ 3-5 ลมหายใจ แต่ละท่าทำ 5 ครั้ง นับเป็น 1 เซ็ต
อ่านเพิ่มเติม -> “โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” TOP3 โรคมะเร็งคนไทยเป็นมากสุด! สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน
8. หู (ears)
หลังอายุ 60 ปี 1 ใน 3 คนในช่วงวัย 65-74 ปี จะเริ่มการสูญเสียการได้ยิน
วิธีดูแลสุขภาพหู
1. หลีกเลี่ยงการทำงาน หรืออาศัยอยู่ในที่ ๆ มีเสียงดัง หากจำเป็นต้องใส่เครื่องป้องกัน
2. เลี่ยงการฟังเพลงเสียงดัง โดยเฉพาะการใช้หูฟังครอบหู หรือแบบเสียบเข้าหู
3. หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู
อ่านเพิ่มเติม -> คุณภาพชีวิตที่สูญไปเมื่อมีอาการ “หูตึง” สาเหตุ อาการ ทางแก้ไข
9. หัวใจ (Heart)
หลังอายุ 65 ปี เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจจะลดจำนวนลง แต่ขยายขนาดขึ้น ซึ่งทำให้ผนังหัวใจของคุณหนาขึ้น หลอดเลือดแดงของคุณมักจะแข็งขึ้นเช่นกัน เริ่มตั้งแต่อายุ 20 ถึง 30 ปี และโรคหัวใจมักจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 65 ปี
วิธีดูแลสุขภาพหัวใจ
1. งดอาหารหวาน มัน เค็ม รักษาความดันโลหิต และน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. ว่ายน้ำ เดิน วิ่ง โยคะ ร่วมถึงการยกน้ำหนัก ช่วยให้หัวใจทำงานต่อเนื่อง กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง
3. ปลูกต้นไม้ ไปทำกิจกรรมในสวนสาธารณะ หรือมีสัตว์เลี้ยง ผู้ที่มีงานอดิเรกเหล่านี้ มีความเสี่ยงโรคหัวใจน้อยกว่าคนทั่วไป
10. สมอง (Brain)
หลังอายุ 70 ปี จะเริ่มพบความผิดปกติที่เกิดจากความเสื่อมของสมอง ซึ่งมักเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในคราวเดียว
วิธีดูแลสุขภาพสมอง
รศ.ดร.ภญ.อรพรรณ มาตังคสมบัติ อดีตคณบดีเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แนะนำวิธีดูแลสุขภาพสมองไว้ดังนี้
1. นิวโรบิกส์ เอ็กเซอร์ไซส์ (Neurobics Exercise) หรือการทำกิจกรรมที่ต้องใช้มือทั้ง 2 ข้าง ทำงานประสานกัน เช่น ทำสวน เย็บผ้า ทำกับข้าว ช่วยให้สมองทั้งซีกซ้ายและขวา ได้รับการกระตุ้น และทำงานไปพร้อมกัน
2. กิน ปลาทะเล ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืช แหล่งสุดยอดสารอาหารบำรุงเป็นประจำ .
3. ฝึกเจริญสติก่อนนอน ใช้วิธีกำหนดรู้ลมหายใจเข้าและออก จนกว่าจะหลับ ช่วยลดความเครียด และทำให้สมองปลอดโปร่งในวันรุ่งขึ้น
สุดท้ายนี้ สิ่งสำคัญคือ สุขภาพดีดี เริ่มด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เสริมด้วยการทำจิตใจให้ผ่อนใส ไม่เครียดจนเกินไป และอย่าลืมไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อจะได้รู้ว่า สุขภาพของเราเป็นอย่างไร จะได้รับมือได้ทันการณ์นั่นเอง
อ้างอิง : 1. Time magazine 2. mgronline