เคยสงสัยกันไหมว่า ทำไมหน้าฝนเป็นหวัดง่าย? แต่ในขณะอาบน้ำกลับไม่ป่วย ทั้ง ๆ ที่ก็โดนน้ำเหมือนกัน? หากคุณกำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่ และเป็นคนที่ป่วยได้ง่ายหลังโดนฝน ต้องไม่พลาดอ่านบทความนี้! พร้อมวิธีเสริมสร้างสุขภาพให้แข็งแรงในหน้าฝน มาติตดามกัน!
- ตากฝนทำให้เป็นหวัด จริงหรือไม่!? พร้อมวิธีกินยาลดไข้ แก้หวัด อย่างถูกต้อง
- 9 ข้อห้ามทำเมื่อเป็นหวัด ในหน้าฝน!
- 6 โรค ทำให้ไอบ่อย ไอกำเริบ ในหน้าฝน
ทำไมหน้าฝนเป็นหวัดง่าย?
สาเหตุที่ทำให้เราป่วยง่ายหลังจากเปียกฝน มาจากการสัมผัสกับไวรัส และแบคทีเรีย ที่มาพร้อมกับฝน เนื่องจากลม พายุ ได้พัดพาเอาเชื้อโรคต่าง ๆ เหล่านี้ มาติดที่เสื้อผ้าของเราบ้าง ร่างกายเราบ้าง และเมื่อเราสูดอากาศหายใจเข้าไป เชื้อโรคเหล่านี้ก็สามารถเข้าไปในระบบทางเดินหายใจ ทั้งทางจมูก และปาก เป็นเหตุให้เราป่วยเป็นไข้หวัดได้ง่ายนั่นเอง
นอกจากไวรัส และแบคทีเรียที่มาพร้อมหน้าฝนแล้ว ฝนยังหอบเอากองทัพสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ มาสู่เราอีกด้วย โดยเฉพาะไรฝุ่นที่ชอบอากาศชื้น อาจทำให้มีอาการจาม น้ำมูกไหล คัดจมูก หรือว่าหากเราได้รับฝุ่น เชื้อราในบ้านก็จะเกิดอาการภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้
กลุ่มเสี่ยงที่อาจป่วยเป็นหวัดได้ง่ายในช่วฤดูฝน คือ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กเล็ก ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้สูงวัย เป็นต้น อาจทำให้ป่วยเป็นหวัด มีไข้ 2-3 วัน หรืออาจจะประมาณหนึ่งสัปดาห์ กลุ่มเสี่ยงนี้จึงควรดูแลสุขภาพตนเองให้ดี ด้วยการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เช่น นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ เป็นต้น
ข้อควรรู้ : ฤดูฝนในประเทศไทย จะเริ่มตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม (รวมระยะเวลาประมาณ 5 เดือนครึ่ง) พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พายุฤดูร้อน” และหากสังเกตจะพบว่าในช่วงระยะนี้ พบผู้ป่วยเป็นไข้หวัด หรือโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าช่วงต้นปี
ทำไมเราไม่ป่วยหลังจากอาบน้ำเป็นเวลานาน?
บางคนก็อาจสงสัยว่า ทำไมคนเราถึงไม่ป่วยหลังจากอาบน้ำ ทั้งที่ก็โดนน้ำเหมือนโดนฝน? ทั้งนี้ก็เพราะว่า น้ำที่เราใช้อาบกันเป็นปกตินั้น เป็นน้ำที่สะอาด หรือน้ำกรองมาแล้ว ไม่มีเชื้อไวรัสติดตามมาแบบน้ำฝน และการอาบน้ำยังมีประโยชน์ช่วยกำจัดสิ่งสกปรกทั้งเชื้อไวรัส เชื้อโรค สิ่งสกปรกต่าง ๆ ออกไปจากร่างกายได้ ช่วยป้องกันโรคไข้หวัดได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการอาบน้ำที่เย็นจัด หรือร้อนจัด เพราะอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพผิวหนังได้ ส่วนใครที่เป็นภูมิแพ้อากาศ ก็ไม่ควรอาบน้ำนานเกินไป เพราะอาจกระตุ้นภูมิแพ้ได้
อ่านเพิ่มเติม -> โรคไข้หวัด VS โรคภูมิแพ้อากาศ ต่างกันอย่างไร?
นอกจากไข้หวัด ฤดูฝนยังนำพาโรคร้ายมาสู่เราได้อีก!
ฤดูฝน ทำให้เกิดปัญหาการติดเชื้อมากมาย เช่น ไข้ไทฟอยด์ โรคดีซ่าน เป็นต้น และยังมีโรคที่มียุงเป็นพาหะ เช่น ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนยา และมาลาเรียก็เพิ่มขึ้นในช่วงมรสุมเช่นกัน และปริมาณน้ำฝนนอกฤดูเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเรามากกว่าฝนที่ตกตามฤดูกาล คนส่วนใหญ่จะเป็นหวัด ไอ และมีไข้ หลังจากเปียกฝน
อาการท้องเสีย (ถ่ายมากกว่า 3 ครั้ง ใน 1 วัน) ก็ยังเกิดขึ้นได้บ่อยในช่วงฤดูฝนอีกด้วย เพราะในช่วงหน้าฝนอากาศจะค่อนข้างชื้นกว่าปกติ จึงอาจส่งผลกระทบต่อวัสถุดิบ เครื่องเทศบางชนิดอาจขึ้นรา เกิดเชื้อโรค และปนเปื้อนแบคทีเรียได้ง่ายกว่าปกติ
หน้าฝนนี้ ควรดูแลสุขภาพอย่างไรดี?
- ไม่เดินตากฝน เลี่ยงสถานที่มีน้ำท่วมขัง
- หากเปียกฝน ให้กลับบ้านอาบน้ำทันที
- ป้องกันตนเองจาก ยุงลาย
- เลี่ยงสถานที่แออัด และเสี่ยงต่อการป่วยโรคติดต่อ เช่น ในห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล โรงเรียน เป็นต้น
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เช่น อาหารที่มีวิตามินซีสูง ๆ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
- พกยาบรรเทาหวัด ลดไข้ หรือมีติดบ้านไว้
- รักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และรักษาสภาพแวดล้อมให้สะอาด
- ไม่อยู่ใกล้คนป่วย หรือใส่หน้ากากอนามัยเสมอ ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้
- ขับรถอย่างระมัดระวัง ไม่ขับเร็วขณะที่ถนนลื่น
อาการป่วยแค่ไหน ควรพบแพทย์?
- ไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส ติดต่อกันเกิน 4 วันขึ้นไป
- หายใจหอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก และหายใจมีเสียงหวีด
- เจ็บคออย่างรุนแรง ปวดศีรษะบ่อย
- พบจุดเลือดออกสีแดงเล็ก ๆ ตามผิวหนัง (สัญญาณของไข้เลือดออก)
อ้างอิง : onlymyhealth
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่