“โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” TOP3 โรคมะเร็งคนไทยเป็นมากสุด! สาเหตุ อาการ วิธีป้องกัน

1 ก.ค. 24

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

 

เมื่อพูดถึง มะเร็ง ใคร ๆ ก็คงรู้สึกหวาดกลัว ไม่มีใครอยากเผชิญกับโรคนี้อย่างแน่นอน แต่มีโรคมะเร็งหนึ่งที่คนไทยเราเป็นกันเยอะ และสามารถเป็นกันได้ทุกเพศ ทุกวัย นั่นก็คือ “โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่” ฉะนั้น ไม่ว่าคุณจะอยู่ในวัยไหน ก็ควรตระหนัก และรู้จักโรคนี้ไว้ โดยในวันนี้ Ged Good Life จะพาไปรู้จัก วิธีป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ และอาหารที่ควรกินเพื่อเสริมสร้างให้ลำไส้แข็งแรงห่างไกลมะเร็ง

รู้จักกับ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีสาเหตุจากอะไร?

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer) – เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุลำไส้ใหญ่บริเวณทางเดินอาหารส่วนปลาย ลำไส้ใหญ่ (Colon) และลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย หรือเรียกว่าลำไส้ตรง (Rectum) การเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นส่วนลำไส้ใหญ่ช่วงต้น หรือช่วงปลายล้วนเรียกว่า “มะเร็งลำไส้ใหญ่”

สาเหตุของการเกิด โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โดยทางทฤษฎีแล้วในกลุ่มโรคมะเร็งนั้น อาจจะยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่าอะไรคือปัจจัย หรือสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เซลล์ทำงานผิดปกติ แต่ในปัจจุบันมีการรายงานถึงปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ ได้แก่

  1. อายุและกรรมพันธุ์ เช่น ผู้มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติในครอบครัวเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
  2. ผู้ที่เป็นโรคลำไส้อักเสบบางชนิด เช่น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง
  3. คนที่เคยมีติ่งเนื้อ (Polyps) ในลำไส้ใหญ่ หรือเป็นมะเร็งรังไข่, มะเร็งมดลูก และมะเร็งเต้านมมาก่อน
  4. พฤติกรรมการกิน เช่น กินเนื้อสัตว์มาก อาหารที่กินมีเส้นใยน้อย กินแต่อาหารไขมันสูง หรือประเภทปิ้งย่างเป็นประจำ

ทั้งนี้ การมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ได้หมายความว่า บุคคลนั้นจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป โดยแนะนำให้บุคคลนั้นไปพบแพทย์ เพื่อขอคำปรึกษาเพิ่มเติม โดยเฉพาะในกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง หรือมีอาการที่สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งเพื่อรับการตรวจคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรค หรือช่วยเพิ่มโอกาสหายขาดของโรคได้

เผยสถิติ! มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย อันดับ 2 ในผู้หญิง

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง เป็นมะเร็งที่พบบ่อย 1 ใน 5 ของประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง และมีผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 รายต่อปี ปัจจุบันพบผู้ป่วยชาย 6,874 รายต่อปี ผู้ป่วยหญิง 5,593 รายต่อปี จัดเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับ 4 ในเพศหญิง 

ประเทศไทยมีแนวโน้มอุบัติการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปคล้ายชาวตะวันตก หากไม่มีนโยบายคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่ฯอย่างจริงจัง จํานวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ภายในระยะเวลา 10 ปี มาอยู่ที่ราว 20,000 ราย ซึ่งย่อมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มักพบโรคในผู้สูงอายุวัย 50-70 ปี ส่วนกลุ่มอายุน้อยกว่า 50 ปี ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ฯ อาจมีโอกาสเกิดโรคสูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ มะเร็งลำไส้ใหญ่ส่วนหนึ่งป้องกันได้หากหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ และตรวจคัดกรองตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก จะทำให้การรักษาได้ผลดี และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

อวัยวะบริเวณหน้าท้อง

สัญญาณ และอาการของ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

บ่อยครั้งอาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรก ๆ นั้น อาจไม่ได้แสดงอาการออกมามากนัก (ซึ่งก็เหมือนกับอาการของโรคมะเร็งอื่น ๆ) ทำให้เราไม่ทันระวังตัว จนเป็นเหตุให้ลุกลามจนกลายเป็นมะเร็งได้ ฉะนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ อาจต้องเข้าพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยที่แม่นยำต่อไป

  1. ท้องอืด ท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก
  2. มีอาการแน่นท้อง ท้องอืด ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  3. มีเลือดปนมาในอุจจาระ
  4. มีเลือดออกทางทวารหนัก
  5. อุจจาระมีขนาดเล็ก หรือบางลง
  6. อาการจุกเสียด แน่น หรือปวดท้องบ่อย ๆ
  7. ซีด อ่อนเพลีย น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  8. อาจคลำได้ก้อนในช่องท้องมักพบด้านขวาตอนล่าง
  9. ปวดเบ่งบริเวณทวารหนักคล้ายปวดอุจจาระตลอดเวลา

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

  • รับประทานอาหารถูกสุขลักษณะ รับประทานอาหารที่มีผักผลไม้มาก ๆ
  • หลีกเลี่ยงอาหารพลังงานสูง เช่น ของหวาน ของมัน เพื่อหลีกเลี่ยงโรคอ้วน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • งดสูบบุหรี่
  • ทำการตรวจคัดกรองโรคกรณีที่มีปัจจัยเสี่ยง โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป หรือมีอาการชวนสงสัยว่าอาจจะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

กินอย่างไรให้ห่างไกล มะเร็งลำไส้ใหญ่

ผศ.ดร.ชนิพรรณ บุตรยี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านพิษวิทยาศาสตร์ทางอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า

ภาวะโภชนาการที่มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ

  • ผู้ที่กินผักผลไม้น้อย
  • ชอบกินเนื้อหมู เนื้อวัว
  • ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำ เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน แหนม กุนเชียง

ดังนั้น ข้อแนะนำสำหรับประชาชนให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ คือ

  • ไม่ควรรับประทานเนื้อแดงเกิน 500 กรัม หรือครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์
  • ควรกินสลับกับเนื้อไก่ เนื้อปลา
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์แปรรูปบ่อย ๆ
  • ควรเพิ่มการบริโภคผัก ผลไม้ เพราะใยอาหารจะช่วยเร่งการขับถ่ายทำให้ของเสียไม่ตกค้างในลำไส้ และเพิ่มจำนวนแบคทีเรียที่ดีที่เจริญในลำไส้ใหญ่ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้

 

อ้างอิง : 1. medinfo2 2. bangkokbiznews 3. hfocus

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save