ไขข้อสงสัย! ง่วงนอนตลอดเวลา “แค่ง่วง” หรือ “ป่วย” กันแน่?!

1 ก.ค. 24

ง่วงนอนตลอดเวลา

 

เคยสงสัยกันไหม ทำไมเราถึงได้รู้สึกง่วงนอนได้ตลอดเวลา? แค่หัวถึงหมอนก็หลับได้เลยทันที หรือแค่นั่งเก้าอี้ก็รู้สึกง่วงแล้ว อาการแบบนี้มันแค่ง่วง หรือป่วยกันแน่นะ? วันนี้ Ged Good Life จะพาไปไขข้อสงสัยนี้กัน หากใครที่กำลังมีอาการ ง่วงนอนตลอดเวลา ต้องไม่พลาด!

decolgen ดีคอลเจน

ภาวะง่วงนอน เกิดจากอะไร?

1. นาฬิกาชีวิตที่ควบคุมอยู่ภายในร่างกาย ส่งสัญญาณทำให้เกิดภาวะง่วงนอนสองช่วงเวลาในหนึ่งวัน โดยครั้งแรกจะเป็นช่วงค่ำที่จะเข้านอน ส่วนครั้งที่สองจะเกิดซ้ำในอีก 12 ชั่วโมงถัดไป หรือช่วงบ่ายนั่นเอง ช่วงเวลากลางวัน และช่วงเวลากลางคืน ก็มีผลต่อนาฬิกาชีวิตที่ควบคุมอยู่ภายในร่างกายเช่นกัน

2. ปัญหาสุขภาพจิต การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพจิต และอารมณ์ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนได้ โดยสาเหตุของอาการง่วงนอนส่วนใหญ่มักมาจากอาการเบื่อหน่าย ขณะที่ภาวะซึมเศร้าก็ส่งผลให้เกิดความอ่อนเพลียจนเป็นสาเหตุของอาการง่วงเหงาหาวนอน

ง่วงนอนตลอดเวลา อาจสัมพันธ์กับโรคต่าง ๆ ดังนี้

1. โรคง่วงนอนมากผิดปกติ (Hypersomnia) หรือ โรคนอนเกิน

เป็นโรคที่หลับเกินพอดี ขี้เซา นอนเท่าไรก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา แม้แต่ในเวลากินข้าว หรือพูดคุยกับคนอื่นก็ยังหลับได้ มีการนอนที่นานเกิน 8 ชั่วโมง โรคนี้ไม่ได้เกิดจากพฤติกรรม นิสัยเกียจคร้าน หรือบุคลิกภาพส่วนตัว แต่เกิดจากโรคทางกายหรือทางใจ ต้องรีบพบแพทย์

อาการของโรคนอนเกิน เฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา, กินน้อยแต่อ้วนง่าย, หงุดหงิดง่าย วิตกกังวล, สมองช้า ความคิดไม่แล่น

2. โรคลมหลับ (Narcolepsy)

เป็นโรคเกี่ยวกับการนอนหลับที่มีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ง่วงมากจนผิดสังเกต และหลับในช่วงเวลาต่าง ๆ อย่างผิดปกติ และไม่ว่าจะนอนเท่าใดก็ยังรู้สึกง่วง แต่ในประเทศไทยนั้นยังพบได้น้อย  โรคลมหลับเกิดจากสารสื่อประสาทไฮโปคริติน (Hypocretin) ในสมองลดน้อยลง ทำให้ความรู้สึกตัวของเราลดน้อยลงตามไป ก่อให้เกิดอาหารหลับแบบฉับพลันได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมจะมีอันตรายต่อชีวิตมาก

อาการของโรคลมหลับ ง่วงนอนมากผิดปกติ, อ่อนแรงฉับพลัน อยู่ ๆ ก็เผลอหลับไป, ตอนกลางคืนจะนอนหลับเหมือนคนปกติ แต่กลางวันจะมีอาการของโรคลมหลับ, เห็นภาพหลอน ครึ่งหลับครึ่งตื่น

3. โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome)

เกิดจากการดำเนินชีวิตแบบผิด ๆ ส่งผลให้ร่างกายมี “ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ” ไม่มีเรี่ยวแรงทำอะไรตลอดทั้งวัน โรคนี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทำงานช่วงอายุราว ๆ 25-45 ปี โดยสาเหตุที่แท้จริงยังไม่ชัดเจน แต่สามารถป้องกันได้โดยเฉพาะการ “หลีกเลี่ยงน้ำตาล”

อาการของโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง ง่วง ๆ ซึม ๆ เบลอ ๆ เหนื่อยหน่ายกับชีวิต

4. โรคนอนกรน Obstructive sleep apnea syndrome (OSAS)

อาจมีสาเหตุจากทางเดินหายใจอุดตัน ทำให้เกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ส่งผลให้นอนหลับได้ไม่ต่อเนื่อง รู้สึกเพลีย และง่วงนอนตลอดเวลา

อาการของโรคนอนกรน ขี้ลืม ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน, รู้สึกสมองตื้อ คิดอะไรไม่ออกเพราะง่วงนอนขี้ลืม, จุกแน่นคอเหมือนมีอะไรติดคอ, หูอื้อ, หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห

5. โรคประจำตัวอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการนอนโดยตรง

โรคประจำตัวบางโรค อาจทำให้ระบบไหลเวียนเลือดไม่สมบูรณ์ นำมาสู่อาการอ่อนเพลีย และทำให้รู้สึกอยากนอนหลับพักผ่อนมากกว่าปกติได้ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคเครียด โรคโลหิตจาง เป็นต้น

ง่วงนอนตลอดเวลา

วิธีแก้และป้องกันอาการ ง่วงนอนตลอดเวลา

หลายคนเมื่อรู้สึกง่วงนอนในเวลากลางวัน หรือช่วงเวลาที่ยังไม่ควรนอน ก็จะแก้ด้วยการงีบหลับสักพัก เพื่อให้หายง่วง แต่การงีบหลับก็เป็นเพียงแค่การแก้ที่ปลายเหตุเท่านั้น เพราะในที่สุดแล้วก็จะกลับมามีอาการง่วงเหงาหาวนอนอีก ดังนั้นจึงควรแก้ไขที่ต้นเหตุจึงจะดีที่สุด โดยวิธีการกำจัดอาการง่วงนอนระหว่างวันให้หายขาดทำได้ดังนี้

1. นอนหลับให้เป็นเวลา พร้อมปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในห้องนอน – ด้วยการจัดห้องนอนให้น่านอน ปลอดโปร่ง โล่งสบาย ไร้เสียงรบกวน

2. เสริมสร้างวิตามิน – การเหนื่อยตลอดเวลาอาจเป็นสัญญาณของการขาดวิตามินได้เช่นกัน เช่น วิตามินดี วิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก แมกนีเซียม หรือโพแทสเซียม

3. ควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียดจนเกินไป – ความเครียด คือหนึ่งสาเหตุที่ทำให้นอนไม่หลับ ดังนั้นจึงควรผ่อนคลายความเครียดลง

4. หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารเสพติด – เพราะสารเสพติดจะทำให้การนอนหลับแย่ลง โดยการใช้ยานอนหลับจะทำให้วงจรการนอนไม่สมบูรณ์ และทำให้ตื่นมาอ่อนเพลีย

5. รู้จักควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้อ้วน หรือมีไขมันในร่างกายเกินไป – น้ำหนักตัวที่มากขึ้นจะส่งผลให้ร่างกายทำงานหนักขึ้นจนเกิดความอ่อนเพลีย และง่วงนอนระหว่างวัน

6. รักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ – แม้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนแล้ว แต่ยังไม่หาย แนะนำให้เข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

 

จะเห็นได้ว่า อาการง่วงนอนตลอดเวลาอาจมาจากสาเหตุต่าง ๆ ได้มากมาย ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ ดังนั้นเราจึงควรหมั่นสังเกตตัวเอง ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีอย่างสม่ำเสมอ แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นก็ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อการตรวจรักษาที่เหมาะสม

อ้างอิง : 1. ramachannel 2. pobpad

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save