ใช่เราหรือเปล่า? 7 อาการเด่นโรคซึมเศร้า และวิธีเรียนรู้เข้าใจโรค

28 มิ.ย. 24

 

หากคุณกำลังมีอาการจิตตก หดหู่ เศร้าใจ แต่ไม่แน่ใจว่าตัวเองกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้าอยู่หรือไม่? Ged Good Life ขอแนะนำให้ลองเช็ก  “7 อาการเด่นโรคซึมเศร้า” กันดูว่าตรงกับสิ่งที่เราเป็นหรือไม่ ถ้าใช่… แนะนำให้พบจิตแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป

decolgen ดีคอลเจน

7 อาการเด่นโรคซึมเศร้า

1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป
ที่พบบ่อยคือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจน แต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เคยทำแล้วเพลินใจ หรือสบายใจ เช่น ฟังเพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำ หรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามา บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน

2. ความคิดเปลี่ยนไป
มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไร ๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต บางคนกลายเป็นคนไม่มั่นใจตนเองไป จะตัดสินใจอะไรก็ลังเลไปหมด รู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ ไร้คุณค่า เป็นภาระแก่คนอื่น ทั้ง ๆ ที่ญาติ หรือเพื่อน ๆ ก็ยืนยันว่ายินดีช่วยเหลือ เขาไม่เป็นภาระอะไรแต่ก็ยังคงคิดเช่นนั้นอยู่

ความรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ความคับข้องใจ ทรมานจิตใจ เหล่านี้อาจทำให้เจ้าตัวคิดถึงเรื่องการตายอยู่บ่อย ๆ แรก ๆ ก็อาจคิดเพียงแค่อยากไปให้พ้น ๆ จากสภาพตอนนี้ ต่อมาเริ่มคิดอยากตายแต่ก็ไม่ได้คิดถึงแผนการณ์อะไรที่แน่นอน เมื่ออารมณ์เศร้า หรือความรู้สึกหมดหวังมีมากขึ้น ก็จะเริ่มคิดเป็นเรื่องเป็นราวว่าจะทำอย่างไร ในช่วงนี้หากมีเหตุการณ์มากระทบกระเทือนจิตใจก็อาจเกิดการทำร้ายตนเองขึ้นได้จากอารมณ์ชั่ววูบ

3. สมาธิความจำแย่ลง
จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นาน ๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิด ๆ ถูก ๆ

4. มีอาการทางร่างกายต่าง ๆ ร่วม
ที่พบบ่อยคือ จะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ก็จะทำให้คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้เกียจ ปัญหาด้านการนอนก็พบบ่อยเช่นกัน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับ ๆ ตื่น ๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้ำหนักลดลงมาก บางคนลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน นอกจากนี้ยังอาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง บางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว

5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป
ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูก ๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงระหว่างคู่ครองบ่อย ๆ

6. การงานแย่ลง
ความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง ถ้าเป็นแม่บ้านงานบ้านก็ไม่ได้ทำ หรือทำลวก ๆ เพียงให้ผ่าน ๆ ไป คนที่ทำงานสำนักงานก็จะทำงานที่ละเอียดไม่ได้เพราะสมาธิไม่มี ในช่วงแรก ๆ ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็นมาก ๆ ขึ้นก็จะหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อย ๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจ หรือให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจากงาน

7. อาการโรคจิต
จะพบในรายที่เป็นรุนแรง ซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิต ได้แก่ อาการหลงผิด หรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้มักจะเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อได้รับการรักษา อารมณ์เศร้าดีขึ้น อาการโรคจิตก็มักทุเลาตาม


ความเศร้าที่เป็นอยู่ คือ อารมณ์เศร้า ภาวะซึมเศร้า หรือโรคซึมเศร้า?

– อารมณ์เศร้า เป็นสภาวะอารมณ์ที่เป็นหนึ่งในอาการของภาวะเศร้า และโรคซึมเศร้า เช่น หดหู่ ไม่เบิกบานใจ หม่นหมอง ฯลฯ ส่วนใหญ่จะรู้สึกเศร้าในช่วงเช้า และค่อย ๆ ดีขึ้นตอนเย็น จนหายไปเอง

– ภาวะซึมเศร้า เป็นภาวะที่มีอาการเศร้า เสียใจ รู้สึกว่างเปล่าเป็นเวลานานติดต่อกัน แม้จะได้รับคำปลอบใจ หรือพูดคุยกับผู้อื่นก็ไม่รู้สึกดีขึ้น อาจเกิดจากการเผชิญการสูญเสีย หรือความรุนแรงทางร่างกาย

– โรคซึมเศร้า เป็นโรคที่มีอาการเศร้าอย่างเห็นได้ชัด เป็นซ้ำ ๆ วน ๆ นานหลายสัปดาห์ ไม่มีแรงกายแรงใจในการทำงาน เรียน หรือเข้าสังคม และเกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย อย่างการนอนหลับยาก หรือนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ เบื่ออาหารหรืออยากอาหารมากกว่าปกติ

คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าสามารถหายขาดได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเช่นกัน ขึ้นอยู่กับมุมมองความคิดของผู้ป่วย สภาพแวดล้อม แรงกดดันต่าง ๆ หรืออาจมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้นในชีวิต ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจึงควรดูแลตนเองทั้งสุขภาพกาย และสุขภาพใจ เพราะทั้งสองส่วนส่งผลซึ่งกันและกัน ผู้ป่วยซึมเศร้าสามารถป้องกันตัวเอง หรือลดความเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้าได้ ดังนี้

– กำจัดความเครียด เลี่ยงสิ่งกระตุ้น ไม่เสพโซเชี่ยลจนเกินไป

– หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ

– กินอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ

– นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

– งดแอลกอฮอล์ และสารเสพติด


อ้างอิง : 1. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 2. doctorraksa

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save