ท้องเสีย ปวดบิดกลางท้อง ให้ระวัง! โรคลำไส้แปรปรวน สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

28 มิ.ย. 24

โรคลำไส้แปรปรวน

 

คุณกำลังมีปัญหาระบบขับถ่ายอยู่หรือเปล่า? ไม่ว่าจะเป็น ท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง แน่นท้อง และมีอาการแบบนี้มานานหลายเดือน ถึงหลายปี ภาวะแบบนี้อาจบ่งบอกว่า คุณกำลังเผชิญอยู่กับ “โรคลำไส้แปรปรวน” เข้าแล้ว! แต่อย่าตกใจไป เพราะโรคนี้ไม่ได้อันตราย ตามมาดู สาเหตุ อาการ วิธีรักษา กันดีกว่า จะได้เข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้มากขึ้น!

ทำความรู้จักกับ โรคลำไส้แปรปรวน

โรคลำไส้แปรปรวน หรือ ไอบีเอส (Irritable bowel syndrome – IBS) เป็นโรคที่เกิดจากลำไส้ส่วนปลายทำงานผิดปกติ ได้แก่ ปลายลำไส้ใหญ่ และลำไส้เล็ก มีการบีบตัวมากเกินไป ทำให้เกิดอาการปวดท้อง แน่นท้อง มีอาการท้องเสีย หรือท้องผูก หรือท้องเสียสลับกับท้องผูก เป็นโรคเรื้อรังอาจเป็นปี ๆ หรืออาจเป็นตลอดชีวิต ทั้งนี้โรคลำไส้แปรปรวนไม่ใช่โรคอันตราย หรือทำให้เสียชีวิต

โรคลำไส้แปรปรวน มีสาเหตุจากอะไร?

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวนนั้น มีหลายประการด้วยกัน เช่น

  • การบีบตัว หรือการเคลื่อนตัวของลำไส้ผิดปกติ
  • ระบบประสาทที่ผนังลำไส้ไวต่อสิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้นมากผิดปกติ
  • ติดเชื้อในทางเดินอาหาร
  • ความเครียด ปัญหาทางด้านจิตใจ และอารมณ์
  • กรรมพันธุ์

อาการของโรคลำไส้แปรปรวน

ผู้ป่วยมักทรมานจากการปวดท้อง ซึ่งหลังได้ถ่ายอุจจาระ จะรู้สึกว่าอาการปวดหายไป มีอาการดีขึ้น ส่วนใหญ่มักปวดที่ท้องน้อย ลักษณะปวดเกร็ง หากใครกำลังสงสัยว่าตนเองกำลังป่วยด้วย โรคลำไส้แปรปรวน อยู่หรือไม่ ให้สังเกตจากอาการดังต่อไปนี้

  • ปวดท้อง อย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในช่วง 3 เดือน
  • เมื่อถ่ายอุจจาระจะต้องเบ่งแรง
  • ปวดท้องบิด ตรงกลาง เป็น ๆหาย ๆ
  • ลักษณะของก้อนอุจจาระจะเปลี่ยนไปจากแข็งกลายเป็นเหลวจนเป็นน้ำผิดปกติ
  • ท้องผูก และ/หรือ ท้องเสีย
  • ท้องอืด แน่นท้อง
  • ปวดเกร็งบริเวณท้องน้อย หรือใต้สะดือ
  • มีลมในท้อง
  • อาการปวดหายไปหลังขับถ่าย

ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ต้องกังวลจนเกินไป เพราะโดยส่วนใหญ่ไม่มีผลอันตรายอะไรร้ายแรง ไม่ทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ป่วยต้องมีอาการเป็นระยะเวลากว่า 6 เดือนขึ้นไป คุณหมอจึงจะทำการวินิจฉัยว่าเป็นโรคลำไส้แปรปรวนได้

วิธีรักษาโรคลำไส้แปรปรวน

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าเมื่อเป็นโรคนี้แล้ว ในปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายได้ ส่วนวิธีรักษาก็จะแบ่งเป็น 2 หลักใหญ่ ๆ ได้แก่

1. การรักษาทั่วไป

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมกับโรค เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ งดดื่มสุรา และสูบบุหรี่
  • หลีกเลี่ยงอาหารกลุ่ม FODMAPs คือ กลุ่มอาหารที่มีองค์ประกอบเป็นคาร์โบไฮเดรต น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว และโมเลกุลคู่รวมหลากชนิด

2. การรักษาจำเพาะ

  • ให้ยาลดอาการปวด เช่น ยาต้านการบีบเกร็ง ยาต้านอาการซึมเศร้า
  • ยาที่ออกฤทธิ์ที่ซีโรโทนินรีเซปเตอร์ ช่วยลดอาการปวท้อง ทำให้ขับถ่ายและลักษณะอุจจาระดีขึ้น
  • ยารักษาผู้ป่วย IBSC กลุ่มอาการท้องผูก

อาหารที่ควรเลี่ยง

ถึงแม้อาหารจะไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดลำไส้แปรปรวน แต่การรับประทานอาหารบางชนิดอาจมีผลที่ไม่ดีต่อลำไส้ หรือกระบวนการย่อยอาหาร จนก่อให้เกิดอาการลำไส้แปรปรวน หรือส่งผลให้อาการลำไส้แปรปรวนที่เป็นอยู่แย่ลงกว่าเดิม โดยอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

1. อาหารกลุ่มนม ไอศกรีม ชีส หรือโยเกิร์ต

2. ผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุกโตสบางชนิด เช่น แตงโม มะม่วง แอปเปิล พลัม หรือพีช เป็นต้น

3. ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง บร็อคโคลี หัวหอม ดอกกะหล่ำ หรือเห็ด เป็นต้น

4. พืชฝักตระกูลถั่วอย่างถั่วลูกไก่ ถั่วแดง หรือถั่วเหลือง

5. สารให้ความหวานแทนน้ำตาล เช่น Sorbitol, Xylitol

6. พาสต้า ซีเรียล หรือขนมปังที่ทำจากข้าวสาลี

7. เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และถั่วพิสตาชิโอ

8. อาหารทอดต่าง ๆ

 

อ้างอิง : 1.phyathai-sriracha 2. pobpad 3. hellokhunmor 4. siphhospital

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save