การกินยา แต่เดิมก็เป็นสิ่งที่ควรทำอย่างระมัดระวังอยู่แล้ว ยิ่งเมื่อเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ก็ต้องยิ่งระวังเพิ่มมากขึ้นไปอีก คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จึงห้ามซื้อยามากินเองโดยเด็ดขาด! แม้ว่าจะเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ดูไม่มีพิษมีภัยอะไรก็ตาม เพราะมียาจำนวนมากที่อาจทำอันตรายต่อลูกน้อยของคุณในขณะตั้งครรภ์ได้ ฉนั้นมาดูกันดีกว่าว่า มียาอะไรบ้างที่เป็น ยาต้องห้ามขณะตั้งครรภ์
ประเทศไทยจัดกลุ่มยาตามความปลอดภัยต่อทารกในครรภ์ (Pregnancy Category) ตามการแบ่งขององค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (US FDA) ซึ่งแบ่งเป็น 5 ประเภท ดังนี้
1. Category A: จากการศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ไตรมาสแรก พบว่ายาไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติ ของทารกในครรภ์ (และไม่มีหลักฐานแสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ เมื่อมีการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3)
2. Category B: จากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่ายาไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ หรือจากการศึกษาในสัตว์ทดลอง พบว่ายามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์แต่ไม่พบผลดังกล่าวจากการศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ไตรมาสแรก (และไม่มีหลักฐานแสดงว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ เมื่อมีการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3)
3. Category C: การศึกษาการใช้ยาในสัตว์ทดลอง พบว่ายามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ แต่ไม่มีการศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์หรือไม่มีรายงานการศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์และสัตว์ทดลอง การใช้ยากลุ่มนี้ให้คำนึงถึงประโยชน์ และความเสี่ยงของยาต่อทารกในครรภ์
4. Category D: การศึกษาการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ พบว่ามีหลักฐานที่แสดงว่ายามีความเสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ แต่อาจมีความจ าเป็นต้องใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ (เช่น ยาที่ใช้ในภาวะช่วยชีวิต-life-threatening หรือยาที่ใช้รักษาโรคที่รุนแรงซึ่งไม่มียาอื่นที่ปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพ)
5. Category X: การศึกษาการใช้ยาในสัตว์ทดลองหรือหญิงมีครรภ์ พบว่ายาท าให้เกิดความผิดปกติของตัวอ่อนและทารกในครรภ์ หรือมีรายงานจากการใช้ยาในหญิงมีครรภ์ท าให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ยากลุ่มนี้มีความเสี่ยงมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ยา ดังนั้นจึงจัดเป็นยาที่ห้ามใช้ในหญิงมีครรภ์ หรือกำลังจะตั้งครรภ์
การเลือกใช้ยาในสตรีมีครรภ์ นอกจากพิจารณาความปลอดภัยของยาต่อทารกในครรภ์ตาม Pregnancy Category แล้ว อาจต้องคำนึงถึงหลักการ ดังต่อไปนี้
1. ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ – ส่งผลต่อพัฒนาการของลูกในท้อง และอาจทำให้แท้งบุตรได้
2. ยาแก้ปวด ลดไข้ – ถ้ากินในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร 5-6 เท่า
3. ยาแก้คัน แก้แพ้ – ถ้าใช้ชั่วคราวอาจไม่ส่งผลต่อคุณแม่มากนัก แต่ถ้าใช้ติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้มีเกล็ดเลือดต่ำ
4. ยาแก้ไอ – โดยเฉพาะยาแก้ไอชนิดที่มีไอโอดีน เพราะอาจทำให้ลูกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้
5. ยานอนหลับ และยากล่อมประสาท – ใช้ตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ห้ามซื้อยาประเภทนี้มาใช้เองเด็ดขาด เพราะอาจทำให้ลูกที่เกิดมามีอาการหายใจไม่ปกติ เคลื่อนไหวได้ช้า มีอาการคล้ายคนติดยา
6. ยารักษาสิว – มีความเสี่ยงสูงที่จะทำให้ลูกมีความบกพร่องทางสมอง หรือทำให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิด
7. ยาต้านการแข็งตัวของเลือด – ห้ามใช้ยากลุ่มนี้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะอาจทำให้ลูกพิการได้
8. ยาสเตียรอยด์ทุกชนิด – การเจริญเติบโตของเด็กทารกในครรภ์ไม่ดี หรือมีความพิการแต่กำเนิด และยังเพิ่มโอกาสในการแท้งบุตรด้วย
9. ยาขับปัสสาวะ – ห้ามใช้ในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เพราะมีผลทำให้เลือดของทารกผิดปกติได้
10. ยารักษาต่อมไทรอยด์ผิดปกติ – อาจส่งผลให้เกิดคอพอกเป็นพิษ
ยาต้องห้ามขณะตั้งครรภ์ แม้แต่ยาแก้แพ้ท้อง ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ คุณแม่ทุกคนจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนกินยาทุกชนิดอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยที่คุณรักนั่นเอง
“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี