Work From Home กิน เครียด นั่งนาน ไม่ขยับ เสี่ยง! 5 โรคทางเดินอาหาร

3 ก.ค. 24

 

กาลเวลาผ่านมา 2 ปี โรคโควิด-19 ก็ยังคงระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวออฟฟิศหลาย ๆ คน ยังต้องทำงานที่บ้าน หรือที่เรียกติดปากว่า work from home ส่งผลให้ผู้ที่ต้องทำงานที่บ้าน อาจต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญ และต้องใส่ใจ ฉะนั้นมาดูกันว่า พฤติกรรมแบบไหน ที่เราควรปรับเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นอาจต้องเผชิญกับ 5 โรคทางเดินอาหาร ก็เป็นได้!

Work ไร้ Balance ต้องระวัง! 5 โรคทางเดินอาหาร

เมื่อต้องทำงานที่บ้าน ตื่นมาก็ลุกไปนั่งหน้าคอม ไม่ต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ ทำให้ร่างกายไม่ค่อยได้ขยับไปไหน แถมยังต้องทำงานคนเดียวไม่มีเพื่อนคุย อาจก่อให้เกิดความเครียดได้ ส่วนบางคนก็กินข้าวหน้าโต๊ะทำงานทั้งวัน แทบไม่ได้ลุกจากเก้าอี้เลย พฤติกรรมเหล่านี้ สามารถส่งผลร้ายต่อระบบทางเดินอาหาร ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ดังนี้

1. อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)

อาการอาหารไม่ย่อย คือ ภาวะความไม่สบายที่เกิดบริเวณหน้าอก หรือใต้ลิ้นปี่ ความรู้สึกอิ่มแน่นเกินไป ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่าง หรือหลังการรับประทานอาหาร อาจมีเพียงอาการเดียว หรือหลายอาการร่วมได้ เช่น ท้องอืด แน่นท้อง หรือมีลมในท้อง โดยสามารถเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว หรือเกิดได้ทุกวัน

สาเหตุของอาการอาหารไม่ย่อยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ได้แก่ การรับประทานอาหารมากเกินไป หรือเร็วเกินไป โดยเฉพาะอาหารรสจัด และไขมันสูง ดื่มแอลกอฮอล์ กินช็อกโกแลต ดื่มชา กาแฟ หรือน้ำอัดลมมากเกินไป การสูบบุหรี่ รวมไปถึงความวิตกกังวล หรือความเครียดด้วยเช่นกัน

ฉะนั้นผู้ที่ต้อง work from home ต้องรับประทานอาหารให้พอดี ไม่มากเกินไป ไม่วางอาหาร หรือขนมขบเคี้ยว ไว้บนโต๊ะทำงาน รวมถึงลดความเครียดด้วยการลุกเดิน ไปมองใบไม้สีเขียว หรือพักสายตาลงบ้าง

2. โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)

โรคลำไส้แปรปรวน หรืออาจเรียกว่า โรคเครียดลงกระเพาะ เป็นโรคที่มีภาวะการทำงานของลำไส้ผิดปกติ ทำให้เกิดอาการท้องอืด มีแก๊ส และปวดท้อง ร่วมกับการขับถ่ายผิดปกติ เช่น ท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสีย อีกทั้งยังเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้บ่อย พบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มเป็นโรคลำไส้แปรปรวนมากกว่าเพศชายถึง 2 เท่า

สาเหตุของโรคลำไส้แปรปรวน สามารถเกิดได้จาก ความเครียดที่สะสมในแต่ละวันเป็นตัวการที่ไปกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งน้ำย่อยออกมามากกว่าปกติ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะกำเริบได้

ผู้ที่ทำงานทางบ้าน จึงควรจัดการกับความเครียด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เมื่อปฏิบัติตามวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อปรึกษา และรับการรักษาอย่างถูกวิธี

3. ท้องผูก (Constipation)

ท้องผูก คือ อาการขับถ่ายยาก หลายครั้งต้องนั่งนานถึงครึ่งชั่วโมงเพื่อเบ่งถ่าย บางครั้งต้องใช้น้ำฉีด ใช้นิ้วล้วงช่วย ถ่ายไม่สุด เหมือนมีอะไรมาอุดกั้นอยู่ ถ่ายออกมาน้อย อุจจาระแข็งมีลักษณะเป็นเม็ด ผิวขรุขระหรือแห้งแตก รู้สึกอึดอัดแน่นท้อง ทั้งหมดนี้บ่งบอกว่า คุณมีอาการท้องผูกอย่างแน่นอน

สาเหตุที่ทำให้ท้องผูก ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย ดื่มน้ำน้อย ไม่ออกกำลังกาย หรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย กลั้นอุจจาระบ่อย ๆ ซึ่งผู้ที่มีอาการท้องผูกมากถึง 50% มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมเหล่านี้

ดังนั้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมขณะ work from home เพื่อหลีกเลี่ยงท้องผูก ก็ได้แก่ หมั่นดื่มน้ำให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีกากใย อย่างเช่น ผัก ผลไม้ เป็นต้น ถ้าหากปวดอุจจาระไม่ควรกลั้นไว้ ควรพักจากงานไปเข้าห้องน้ำได้เลย

4. โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease (GERD)

เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร อาการของกรดไหลย้อน ได้แก่ แสบยอดอก ร่วมกับมีภาวะเรอเปรี้ยว คือมีกรด ซึ่งเป็นน้ำรสเปรี้ยว หรือขมไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือปาก

พฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ชาวออฟฟิศที่ต้อง work from home เป็นกรดไหลย้อนนั้น ได้แก่ กินแล้วนอนทันทีในช่วงพัก กินอาหารมากเกินไป โดยเฉพาะในมื้อเย็น กินของทอด ของมัน ชา กาแฟ เป็นประจำทุกวัน ความเครียดจากการนั่งทำงานอยู่คนเดียว ก็มีส่วนสัมพันธ์กับเรื่องกรดไหลย้อนโดยตรง

หากพบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับโรคกรดไหลย้อน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน และลดความเครียดลง สามารถกินยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการลงได้

5. มะเร็งลำไส้ (Colorectal cancer)

มีงานวิจัยพบว่า การนั่งทำงานนาน ๆ ทุก ๆ 2 ชั่วโมง จะเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ 8% และมะเร็งมดลูก 10% แม้แต่การนั่งดูทีวี หรือส่อง Facebook เป็นเวลานาน ๆ ก็มีโอกาสเสี่ยงมากขึ้น 54% และถ้าระหว่างนั้นทานขนมกรุบกรอบ ดื่มแอลกอฮอล์ น้ำอัดลมไปด้วย ก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้นเป็นเท่าตัว ซึ่งหากร่วมกับอาการท้องผูกเรื้อรัง ก็ยิ่งเท่ากับเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ให้เพิ่มสูงขึ้นไปอีก เพราะเมื่อไหร่ที่มีอาการท้องผูกนั่นแสดงว่าระบบลำไส้ทำงานไม่ปกติ

American Journal of Epidemiology รายงานว่า คนที่ต้องทำงานนาน ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมงต่อวัน โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานทั้งวันเป็นเวลานานเกินกว่า 10 ปี ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่าตัว แล้วยังมีโอกาสเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มขึ้นอีก 30% รู้แบบนี้แล้วอย่ามัวแต่นั่งทำงานเพลิน ลุกขึ้นมายืน เดิน ออกไปเข้าห้องน้ำ สูดอากาศบริสุทธิ์บ้างน่าจะดีกว่า

โรคทางเดินอาหาร


ปรับพฤติกรรมอย่างไร ให้ห่างไกล… โรคทางเดินอาหาร

ไม่ใช่เพียงแค่ชาวออฟฟิศที่ต้องwork from home แต่ทุกคนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเป็น โรคทางเดินอาหาร ตามข้างต้น ก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองด้วย เพื่อสุขภาพที่ดีแก่ตัวเราเอง ดังต่อไปนี้

1. ไม่นั่งทำงานนานจนเกินไป ลุกขึ้นมายืดเส้นยืดสายบ้าง เช่นการยืนขึ้น และบิดตัว หรือยืดแขนทั้งสองค้างครู่หนึ่ง หรือลุกเดิน แล้วค่อยกลับมานั่งพิมพ์ต่อ

2. อย่าเครียดจนเกินไป หากิจกรรมที่ทำให้รู้สึกเพลิดเพลิน หัวเราะได้ หรือจะทำสมาธิก่อนนอนสัก 5 นาที ก็ช่วยได้เช่นกัน

3. กินอาหารให้ตรงเวลา และไม่กินเยอะจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเดินอาหารต่าง ๆ

4. ไม่ควรเอนตัว หรือนอนทันที ควรรออย่างน้อย 3 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารเสร็จ

5. ควรงดการสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม แอลกอฮอล์

6. ควรลดอาหารทอดน้ำมัน อาหารรสเผ็ดจัด รวมทั้งอาหารที่ย่อยยาก

7. กินอาหารที่มีประโยชน์ มีกากใย และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อวัน เพื่อช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น

8. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง และระบบย่อยอาหารทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

 

อ้างอิง : 1. ร.พ. สิโรรส ยะลา 2. ร.พ.เปาโล

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save