กรมควบคุมโรคเตือน! 9 อาหารเสี่ยงบูดง่าย ทำท้องเสีย หน้าร้อนนี้!

28 มิ.ย. 24

อาหารเสี่ยงบูดง่าย

 

อากาศร้อนเปรี้ยงขนาดนี้ ต้องระวังเรื่องอาหารการกินให้ดี ไม่งั้นอาจท้องเสียได้! เพราะความร้อนระอุ ปรอทแตกนี้แหละ มีส่วนทำให้อาหารบูดง่าย เสียง่าย จึงต้องยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” เพื่อป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางอาหาร ในวันนี้ Ged Good Life จะมาเตือนถึง 9 อาหารเสี่ยงบูดง่าย ทำท้องเสียได้ในช่วงหน้าร้อนนี้ จะมีอาหารประเภทไหนบ้าง ที่เราต้องเลี่ยง มาติดตามกัน

กรมควบคุมโรคเตือน โรคอุจจาระร่วง สามารถพบได้บ่อยตลอดทั้งปี และพบได้ในประชากรทุกกลุ่มวัย โดยพบมากในผู้สูงอายุ และกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งการติดเชื้อ เช่น โปรโตซัว ปรสิต หนอนพยาธิ และอื่น ๆ และในช่วงฤดูร้อน เป็นปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค ซึ่งส่งผลให้อาหารที่เตรียมไว้รับประทานบูดเสียได้ง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกัน

ผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วง จะมีอาการถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายปนมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง อาจมีอาการอาเจียน และขาดน้ำร่วมด้วย โดยส่วนมากมักหายได้เอง แต่หากมีการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายอุจจาระเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ช็อก หมดสติได้

สำหรับประชาชนที่มีอาการป่วยข้างต้น ให้ผู้ป่วยจิบนํ้าผสมสารละลายเกลือแร่ (ORS) บ่อย ๆ เพื่อป้องกันการขาดนํ้า และควรรับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ทันที สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422


9 อาหารเสี่ยงบูดง่าย ทำท้องเสียหน้าร้อนนี้!

1. ส้มตำ จ่อม ลาบ ก้อยดิบ

2. อาหารทะเล

3. อาหารประเภทยำ

4. ข้าวผัดโรยเนื้อปู

5. อาหาร หรือขนม ที่มีส่วนประกอบของกะทิสด 

6. ขนมจีน

7. ข้าวมันไก่

8. ส้มตำ

9. สลัดผัก

กรมควบคุมโรคแนะนำ เมนูอาหารเหล่านี้ ประชาชนควรรับประทานเฉพาะที่ปรุงสุกใหม่ ขอให้หลีกเลี่ยงการปรุงโดยวิธีลวก หรือพล่าสุก ๆ ดิบ ๆ นอกจากนี้ อาหารกล่องควรแยกกับข้าวออกจากข้าว ควรรับประทานภายใน 2-4 ชั่วโมง หลังจากปรุงเสร็จ และหากมีกลิ่นผิดปกติไม่ควรรับประทาน รวมถึงน้ำแข็งที่ไม่สะอาด ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ก็ควรหลีกเลี่ยง เพราะ อาจทำให้ท้องเสียได้เช่นกัน

และหากอาหารเป็นพิษจากการรับประทานของบูด ของเสีย ให้สังเกตอาการตัวเองดังนี้ มีอาการคลื่นไส้ พะอืดพะอม อาเจียน ปวดท้องแบบบิดเกร็งเป็นพัก ๆ ถ่ายอุจจาระ ปวดหัว คอแห้งกระหายนํ้า และอาจมีไข้ร่วมด้วย

อาหารเสี่ยงบูดง่าย


วิธีลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางอาหาร และน้ำ

  • ยึดหลัก กินร้อน ช้อนกลางส่วนตัว ล้างมือให้สะอาดก่อน และหลังรับประทานอาหาร
  • เลือกซื้อวัตถุดิบ ที่สดสะอาดได้มาตรฐาน มาปรุงอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่ปรุงสุก ๆ ดิบ ๆ
  • อาหารแบ่งทานหลายมื้อควรอุ่นร้อน ให้ทั่วถึงก่อนรับประทาน
  • เลือกบริโภคน้ำดื่ม น้ำแข็งที่สะอาดได้มาตรฐาน
  • ปรุงอาหารอย่างถูกสุขลักษณะ เพื่อลดความเสี่ยง ของการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว พยาธิฯ

 

อ้างอิง : 1. กรมควบคุมโรค

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save