ยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน” มีสรรพคุณ และวิธีใช้อย่างไร?

28 มิ.ย. 24

ยาแก้ไอละลายเสมหะ

 

ใครไอมีเสมหะบ่อย ต้องไม่พลาด! เพราะบทความนี้ GedGoodLife จะพาไปทำความรู้จักกับ “ยาแก้ไอละลายเสมหะ คาร์โบซิสเทอีน” ที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการละลายเสมหะได้ดี มีราคาไม่แพง และผลข้างเคียงน้อย แต่ยาชนิดนี้จะมีวิธีใช้อย่างไรให้ถูกต้อง มาติดตามกัน

ทำความรู้จักกับ “คาร์โบซิสเทอีน” มีสรรพคุณอะไรบ้าง?

คาร์โบซิสเทอีน (Carbocisteine) ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ยาแก้ไอละลายเสมหะ” บรรเทาอาการไอจากการมีเสมหะมาก เป็นยาที่ออกฤทธิ์เข้าไปย่อยโปรตีน มีผลทำลายการรวมตัวกันของโปรตีนที่จับตัวเป็นก้อนเสมหะเหนียวข้น รวมถึงลดแรงตึงผิวของเสมหะ ทำให้เสมหะใสขึ้น เหนียวข้นน้อยลง จนกลไกของร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้ง่ายยิ่งขึ้น

สรรพคุณของยาคาร์โบซิสเทอีน

  • บรรเทาอาการไอมีเสมหะ และลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรียที่ปอด
  • ลดการเหนียวข้นของเสมหะ ทำให้เสมหะถูกขับออกได้ง่ายขึ้น
  • บรรเทาอาการไอ เนื่องจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • บรรเทาอาการไอ ที่เกิดจากโพรงจมูกอักเสบ

สังเกตสีของเสมหะอยู่เสมอ เพื่อการเลือกใช้ยาที่ถูกต้อง

ไอมีเสมหะ หรือมีเสลด เป็นอาการไอที่พบได้บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไข้หวัด เกิดจากไวรัส ภูมิแพ้ น้ำมูกลงคอ โดยอาการไอมีเสมหะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ไอมีเสมหะใส ไม่มีสี หรือมีสีขาวขุ่น – สาเหตุอาจเกิดจากไวรัส หรือภูมิแพ้ กรณีนี้ควรให้ยารักษาตามอาการ เช่น ยาละลายเสมหะ หรือยาขับเสมหะ โดยไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ เพราะว่าไม่มีการติดเชื้อของแบคทีเรีย

2. ไอมีเสมหะข้นสีเขียว หรือสีเหลือง – แสดงว่าอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียในทางเดินหายใจ แพทย์อาจใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาละลาย หรือขับเสมหะ

อ่านบทความเพิ่มเติม -> สีเสมหะ บอกโรคอะไรเราได้บ้าง?

ขนาด และวิธีใช้ยาแก้ไอคาร์โบซิสเทอีน

ตัวยามีอยู่หลายแบบ เช่น ยาน้ำเชื่อม ยาน้ำแขวนตะกอน ยาเม็ด หรือแคปซูล โดยปริมาณ และระยะเวลาในการใช้ จะขึ้นอยู่กับอาการ ความรุนแรงของโรค

ชนิดแคปซูล : คาร์โบซิสเทอีน 500 มก.

  • ผู้ใหญ่ และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป : ครั้งละ 1 แคปซูล วันละ 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง

ชนิดน้ำ : คาร์โบซิสเทอีน 200 มก. / 5 มล.

  • เด็ก 2 – 5 ปี : 2.5 มล. หรือ ½ ช้อนชา วันละ 3-4 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง
  • เด็ก 5 – 12 ปี : 5 มล. หรือ 1 ช้อนชา วันละ 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง

ชนิดน้ำ : คาร์โบซิสเทอีน 500 มก. / 5 มล.

  • เด็ก 5 – 12 ปี : ครั้งละ ½ ช้อนชา วันละ 3 ครั้ง หรือตามแพทย์สั่ง
  • ผู้ใหญ่ : 1½ ช้อนชา : วันละ 3 ครั้ง หลังจากนั้นให้ 1 ช้อนชา วันละ 3 ครั้ง จนอาการดีขึ้น

ข้อแนะนำอื่น ๆ ในการใช้ยาแก้ไอ

  • การกินยาเม็ด หรือแคปซูล ให้กลืนยาทั้งเม็ด หรือแคปซูลพร้อมน้ำ โดยไม่ต้องเคี้ยวยา
  • ยาชนิดเม็ด ควรกลืนไปทั้งเม็ดแล้วดื่มน้ำตามมาก ๆ
  • การกินยาน้ำ สำหรับยาน้ำแก้ไอชนิดแขวนตะกอน ต้องเขย่าขวดก่อนกินทุกครั้ง เพื่อให้ตัวยากระจายทั่วขวด จึงจะทำให้ขนาดยาที่ใช้ในแต่ละครั้งมีตัวยาเท่า ๆ กัน
  • ปิดฝาให้สนิทเมื่อไม่ได้ใช้ยา ในอากาศจะมีก๊าซต่าง ๆ ที่สามารถเร่งให้ยาเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น ดังนั้น จึงควรเก็บยาในภาชนะที่สามารถปิดได้สนิทมิดชิด
  • ไม่ควรรับประทานยาที่หมดอายุ นอกจากจะไม่ช่วยให้อาการไอหายไป ยังอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้
  • การเก็บยาควรเก็บไว้ในอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส ห่างจากความร้อน ความชื้น แสงแดด และพ้นจากมือเด็ก

หากลืมกินยา ควรทำอย่างไร?

ในกรณีที่ลืมรับประทานยาตามเวลาที่กำหนด สามารถรับประทานยาได้ทันที แต่หากใกล้ถึงเวลาให้ข้ามไปรับประทานยาในรอบถัดไป ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า และเมื่อมีอาการผิดปกติ หรือรุนแรงขึ้น ควรพบแพทย์

ยาแก้ไอละลายเสมหะ คาร์โบซิสเทอีน ใช้ลดอาการไอจากโรคโควิด-19 ได้ไหม?

อาการไอมีเสมหะ ที่เกิดจากโรคโควิด-19 สามารถใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะที่มีส่วนผสมของคาร์โบซิสเทอีนได้ และเป็นยาพื้นฐานที่ควรมีติดบ้านไว้

คำเตือน

เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา ผู้ป่วยควรระมัดระวัง และปฏิบัติตามคำแนะนำ ต่อไปนี้

  • หากเคยมีประวัติการแพ้ยา ควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกรให้ทราบ รวมทั้งโรคประจำตัว เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ยา
  • หญิงที่วางแผนตั้งครรภ์ กำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา
  • การใช้ยาสำหรับผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
  • ยานี้อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หลังรับประทานยาจึงควรหลีกเลี่ยงการขับยาพาหนะ หรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย
  • การดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงที่รับประทานยานี้อาจทำให้อาการแย่ลง
  • ห้ามใช้ในผู้ที่มีแผลในเยื่อบุทางเดินอาหาร หรือมีภาวะภูมิไวเกินต่อคาร์โบซิสเตอีน
  • เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี อาจใช้ยานี้ได้ แต่ควรได้รับอนุญาตจากแพทย์ก่อน

สิ่งสำคัญสุดท้าย คือ เมื่อมีอาการไอควรหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร จะได้แก้ไขได้ถูกจุด โดยเฉพาะอาการไอเรื้อรัง ที่ไม่หายสักที ควรเข้าพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัย และการรักษาต่อไป ส่วนการกินยาแก้ไอ เป็นการบรรเทาอาการไอ ผู้ป่วยจึงควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมด้วย เพื่อจะได้หายขาดจากอาการไอนั่นเอง

 

อ้างอิง : 1. pobpad 2. หมอชาวบ้าน 3.  gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save