อาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดจากอะไร ควรทำไงดี?

27 มิ.ย. 24

 

อาการคลื่นไส้อาเจียน เป็นอาการที่ไม่ว่าเด็ก ผู้ใหญ่ ต้องเคยเจอกันแทบทุกคน เพราะเป็นอาการเริ่มต้นของอาการป่วยหลาย ๆ อาการ หรือ แม้แต่เดินทาง ขึ้นรถ ลงเรือ ก็ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ แล้วอาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดจากอะไรกันแน่ ถ้ามีอาการจะทำอย่างไรดี มาดูคำตอบกันเลย!

อาการคลื่นไส้อาเจียน (Nausea and Vomiting)

อาการคลื่นไส้อาเจียนเป็นอาการที่พบบ่อย โดยส่วนใหญ่ อาการทั้งสองนี้มักเกิดขึ้นร่วมกัน โดยเริ่มต้นจากอาการคลื่นไส้ วิงเวียนก่อน จากนั้นเมื่อมีอาการมากขึ้น อาจทำให้อาเจียนตามมา แต่จริง ๆ แล้ว บางคนอาจมีอาการแค่คลื่นไส้ หรือ อาเจียน แค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

คลื่นไส้ (nausea) หมายถึง อาการผะอืดผะอม อึดอัดมวนภายในท้อง ทำให้รู้สึกอยากอาเจียน แต่ยังไม่อาเจียน มักจะทำให้รู้สึกไม่สบายตัว ถ้าคลื่นไส้มาก ๆ อาจทำให้อ่อนเพลียได้

อาเจียน (vomiting) หมายถึง อาการสำรอกอย่างแรง เพื่อให้สิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารย้อนกลับออกมาทางปากอย่างรวดเร็ว โดยใช้กำลังของกล้ามเนื้อท้องและกล้ามเนื้อหายใจ รวมทั้งกะบังลม

อาการอาเจียนเกิดขึ้นได้อย่างไร?

อาการอาเจียน เริ่มต้นจากศูนย์ในสมอง 2 ศูนย์ คือ ศูนย์อาเจียน (Vomiting Centre) และศูนย์ซีทีแซด (CTZ) เมื่อศูนย์อาเจียนได้รับสิ่งกระตุ้นจากภายนอก เช่น จากทางเดินอาหาร หรือ จากศูนย์ซีทีแซด ศูนย์อาเจียนก็จะส่งสัญญาณประสาทออกจากศูนย์ไปยังกะบังลม ทำให้กะบังลมบีบตัวส่งสัญญาณไปยังกล้ามเนื้อหน้าท้องเกิดการเกร็ง และไปยังกระเพาะอาหาร และหลอดอาหาร ทำให้คลายตัว ทำให้เศษอาหารถูกผลักออกจากปาก และเกิดอาเจียนในที่สุด

อาการคลื่นไส้อาเจียน

อาการคลื่นไส้อาเจียน เกิดจากอะไรได้บ้าง?

– การติดเชื้อ ที่ทำให้เกิดการอาเจียนที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก คือ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันโดยเฉพาะการติดเชื้อไวรัส เช่น ลำไส้อักเสบ หรือติดเชื้อ, โรตาไวรัส

– ภาวะที่มีการอักเสบของทางเดินอาหาร เช่น แพ้อาหาร ก็ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ในเด็กมักเกิดจากแพ้โปรตีนนมวัว และ นมถั่วเหลือง

– ความผิดปกติของระบบประสาท เช่น ปวดหัว ไมเกรน ความดันในสมองสูง ความผิดปกติของระบบการทรงตัวในหูชั้นในทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เมารถ เมาเรือ เป็นต้น

– ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหารเป็นพิษ อาหารไม่ย่อยเรื้อรัง การอุดตัน หรือโรคมะเร็งในทางเดินอาหาร ตับอ่อนอักเสบ เป็นต้น

– การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น อาการแพ้ท้อง อาการคลื่นไส้อาเจียนของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

– ได้รับยาและสารบางชนิด เช่น ยาสลบ ยารักษามะเร็ง ยาเคมีบำบัด ซึ่งยาบางชนิดอาจมีผลข้างเคียง ทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนตามมา

– ท้องอืด หากกินข้าวเสร็จแล้วนอนทันที ทำให้อาหารไม่ย่อย จึงอาจทำให้อาเจียนได้เล็กน้อย

– โรคหัวใจบางชนิดหรือภาวะหัวใจล้มเหลว

– ความผิดปกติของเมตาบอลิค เช่น ภาวะไตวาย ภาวะตับแข็ง โรคระบบต่อมไร้ท่อ

– คลื่นไส้อาเจียน ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป

– คลื่นไส้อาเจียน จากอุบัติเหตุจากแรงกระแทก

มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรทำไงดี?

หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนที่ไม่รุนแรง หรือ ไม่มีอาการอย่างอื่นร่วมด้วย สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้น ดังนี้

– นอนพักนิ่ง ๆ อย่าพยายามเคลื่อนไหว ลุกเดินไปมา

– พยายามจิบน้ำเปล่า หรือ น้ำเกลือแร่ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ

– หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด กลิ่นฉุน ควรกินอาหารอ่อน ๆ แทน

– กินอาหารมื้อเล็ก ๆ แต่กินบ่อย ๆ อาจจะมีของว่างระหว่างมื้อ

– นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอนน้อยอาจเป็นสาเหตุให้เวียนหัว คลื่นไส้ได้

– ดื่มน้ำขิง น้ำขิงมีสรรพคุณช่วยขับลม ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน

– ใช้ยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน ยาที่มีส่วนช่วยทำให้อาเจียนน้อยลง หรือที่เรียกว่ายาแก้อาเจียน มีทั้งยาที่ออกฤทธิ์ที่ทางเดินอาหาร และยาที่ออกฤทธิ์ในสมอง เช่น domperodine cisapride แต่การใช้ยา จำเป็นต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรด้วยทุกครั้ง

คลื่นไส้อาเจียนแบบนี้อันตราย! ควรรีบไปพบแพทย์

หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนดังนี้ ควรไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นอาการของโรค หรือความผิดปกติรุนแรง ต้องรีบรักษาโดยเร็ว

– มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนทั้งวัน หรือมากกว่า 24 ชั่วโมง

– เด็กเล็กอาเจียนติดต่อกันนานเกิน 2 ชั่วโมง กินน้ำไม่ได้ และไม่ได้ปัสสาวะนานกว่า 4-6 ชั่วโมงร่วมด้วย เพราะร่างกายอาจขาดน้ำ จนเกิดภาวะช็อกได้

– คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมกับมีอาการปวดหัวอย่างรุนแรง และมีอาการคอแข็ง

– คลื่นไส้ อาเจียน หลังจากหัวกระแทก หรือได้รับการกระทบกระเทือน อาจมีอาการเลือดคั่งในสมอง

– อาเจียน และมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หรือ ท้องเสียร่วมด้วย

– คลื่นไส้ อาเจียน และ มีอาการหายใจเร็ว และชีพจรเต้นผิดปกติ

– คลื่นไส้อาเจียน จนมีภาวะขาดน้ำ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตาโหล ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลงและมีสีเข้ม

– อาเจียนมีสีผิดปกติ เช่น สีเขียวอ่อน หรือมีสีแดง หรือสีดำปนออกมาด้วย

รู้หรือไม่! คลื่นไส้อาเจียนก็มีประโยชน์

เวลาที่รู้สึกคลื่นไส้อยากจะอาเจียนเราจะอึดอัด ทรมาน แต่ถ้าได้อาเจียนแล้วส่วนใหญ่จะทำให้รู้สึกโล่งสบายท้อง สบายตัวมากขึ้น นอกจากนี้อาการคลื่นไส้อาเจียน ยังเป็นเหมือนสัญญาณเตือนภัยว่า ร่างกายอาจจะมีความผิดปกติ หรือกำลังเจ็บป่วยอยู่ ช่วยเตือนให้เรารู้ล่วงหน้า จะได้ป้องกัน หรือรักษาได้ทันท่วงที ก่อนลุกลาม

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save