เทคนิค “เคาะปอด” ช่วยลดอาการไอ ขับเสมหะให้ลูกน้อย

27 มิ.ย. 24

เคาะปอด

 

เวลาที่เด็ก ๆ มีเสมหะ มีอาการไอ คนเป็นพ่อแม่คงพยายามใช้ทุกวิถีทางเพื่อช่วยให้ลูกเอาเสมหะออกมาให้ได้ ในเด็กโตก็ไม่ค่อยมีปัญหามาก แต่สำหรับเด็กเล็กที่ยังขับเสมหะ ยังไอไม่ได้ อาจจะเจอปัญหามีเสมหะคั่งค้าง เรามารู้จักวิธีที่เรียกว่า เคาะปอด เพื่อระบายเสมหะกัน

การเคาะปอดเพื่อระบายเสมหะ (percussion) คือ การทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนผ่านผนังทรวงอกลงไปถึงแขนงหลอดลม ทำให้เสมหะที่เกาะอยู่บริเวณต่าง ๆ ของทางเดินหายใจส่วนปลายค่อย ๆหลุดเลื่อนและไหลออกมา ตามแขนงหลอดลมจากเล็กไปใหญ่ และกระตุ้นให้ผู้ป่วยไอเพื่อระบายเสมหะออกมา

ทำไมต้อง… เคาะปอด?

– เสมหะเหนียว ถ้าเด็กไอมีเสมหะ อาจจะให้ ยาแก้ไอ ละลายเสมหะได้ แต่ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมาก ต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลม หรือน้ำเกลือผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอด และดูดเสมหะออก

– การเคาะปอด ช่วยให้เสมหะที่คั่งค้างหลุดออกได้ง่าย และไม่ให้มีเสมหะคั่งค้าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้

– เด็กเล็กที่ยังไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วยตัวเอง จำเป็นต้องใช้การเคาะปอด และจัดท่าระบายเสมหะช่วย

เมื่อไหร่ที่ควรเคาะปอด

  • มีอาการไอ มีเสมหะมาก หายใจเสียงดังครืดคราด
  • มีเสมหะคั่งค้างในหลอดลมจำนวนมาก
  • เด็กที่มีปัญหาระบบประสาท กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถไอ หรือระบายเสมหะออกได้ด้วยตัวเอง

วิธีการ เคาะปอด

– จัดท่าเด็กให้ดี การเคาะปอด จะอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เสมหะไหลออกจากหลอดลมเล็กส่วนปลายเข้าสู่หลอดลมใหญ่ตรงกลาง เมื่อเด็กไอ เสมหะก็จะขับออกได้ง่าย ขั้นแรกจึงต้องจับตั้งท่าเด็กให้เหมาะสม ซึ่งแล้วแต่ว่าจะเคาะปอดบริเวณไหน

– การเคาะ ใช้อุ้งมือ ไม่ควรใช้ฝ่ามือ ให้ทำมือให้เป็นลักษณะงุ้มโค้งขึ้นเป็นหลังเต่า ให้อุ้งนิ้วทั้ง 5 ชิดติดกัน หรือเรียกการทำมือแบบนี้ว่า cupped hand แล้วเอามือเคาะไปบริเวณส่วนที่ต้องการระบายเสมหะออกมา ใช้ผ้ารองบริเวณส่วนที่จะเคาะด้วย

– ระยะเวลาการเคาะ การเคาะแต่ละท่า หากเป็นเด็กเล็ก ควรใช้เวลาประมาณ 1-3 นาที แต่ถ้าเด็กโต อาจจะใช้เวลาประมาณท่าละ 3-5 นาที

ขณะเคาะหากเด็กไอ ควรใช้ การสั่นสะเทือนช่วย โดยใช้มือวางราบ พร้อมทั้งเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณต้นแขน และหัวไหล่ทำให้มือสั่น ในระหว่างที่กำลังไอ หรือช่วงที่เด็กหายใจออก

คลิป สาธิตการเคาะปอดเด็ก

7 ท่าการเคาะปอดแบบต่าง ๆ

ท่าที่ 1 ท่าเคาะปอด กลีบซ้ายบนส่วนยอด
จัดให้เด็กอยู่ในท่านั่งเอนตัวมาข้างหลัง ประมาณ 30 องศา เคาะบริเวณด้านบน เหนือทรวงอกด้านซ้าย ระหว่างกระดูกไหปลาร้า และ กระดูกสะบัก

ท่าที่ 2 ท่าเคาะปอด กลีบซ้ายบนด้านหลัง
จัดท่าให้เด็กนั่งคร่อมตัวมาทางด้านหน้าเล็กน้อย บนแขนของผู้ที่จะทำการเคาะปอด แล้วเคาะบริเวณด้านหลังตอนบน เหนือกระดูกสะบัก ระหว่างกระดูกต้นคอและหัวไหล่

ท่าที่ 3 ท่าเคาะปอด กลีบซ้ายบนด้านหน้า
จัดท่านอนหงายราบ เคาะบริเวณเหนือราวนมต่ำจากกระดูกไหปลาร้าเล็กน้อย

ท่าที่ 4 ท่าเคาะปอด กลีบซ้ายส่วนกลาง
จัดท่าให้ศีรษะต่ำลงประมาณ 15 องศา และตะแคงด้านซ้ายขึ้นมาประมาณ ¼ จากแนวราบ และเคาะบริเวณราวนมด้านซ้าย

ท่าที่ 5 ท่าเคาะปอด กลีบซ้ายล่างส่วนชายปอดด้านหน้า
จัดให้เด็กนอนตะแคงกึ่งคว่ำหน้า ศีรษะต่ำ 30 องศา ประคองทรวงอกบริเวณชายโครงด้านซ้ายหงายขึ้นมาเล็กน้อย เคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้างตอนหน้า ต่ำจากราวนมลงมาเล็กน้อย

ท่าที่ 6 ท่าเคาะปอด กลีบซ้ายล่าง ส่วนชายปอดด้านข้าง
จัดท่าศีรษะต่ำ ประมาณ 30 องศา นอนตะแคงเกือบคว่ำ เคาะบริเวณด้านข้าง เหนือชายโครงระดับเดียวกับท่าที่ 5 ใต้ต่อรักแร้ของเด็ก

ท่าที่ 7 ท่าเคาะปอด กลีบซ้ายด้านล่างส่วนหลัง
จัดท่าศีรษะต่ำ 30 องศา นอนคว่ำ เคาะบริเวณด้านหลัง ต่ำจากกระดูกสะบักลงมาในะดับเดียวกับชายโครงด้านหน้า

คำแนะนำ ข้อควรระวังในการ เคาะปอด

– การเคาะปอด สามารถทำได้ทั้งเด็กเล็ก และเด็กโต

– การเคาะปอด พ่อแม่สามารถทำให้ลูกได้ แต่อาจจะขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หรือนักบำบัด

– ในการเคาะปอด ควรเคาะเป็นจังหวะสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ใช้แรงพอดี ไม่เบาเกินไป แต่ก็ไม่แรงจนเกินไป

– ไม่ควรเคาะปอดหลังกินอาหาร หรือกินนมอิ่มใหม่ ๆ ควรทำก่อนอาหาร หรือ หลังอาหาร 1-2 ชั่วโมง

– หากเด็กมีอาการหอบให้หยุด หากสังเกตเด็ก เหนื่อยเพิ่มมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำ หายใจจมูกบาน ให้หยุดการเคาะปอด

– หากเด็กร้องไห้ งอแง มากกว่าปกติ ก็ควรหยุดการเคาะปอด

– ห้ามทำถ้าเด็กมีกระดูกซี่โครงหัก หรือมีอาการเกี่ยวกับหัวใจ หลอดเลือด ปอดบวมน้ำ ห้ามทำเด็ดขาด

– นอกจากการเคาะปอดแล้ว อาจจะใช้วิธีอื่นเพื่อช่วยระบายเสมหะ เช่น ดื่มน้ำอุ่น หรือให้ยาแก้ไอ ละลายเสมหะ หากลูกมีอาการไอร่วมด้วย

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save