โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดความรุนแรงและมีอาการที่รุนแรง ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เป็นไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัวได้ ซึ่งจากอาการที่เปลี่ยนแปลงบ่อย รวมถึงสภาวะแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ทำให้เกิดโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย ข้อมูลจากกรมควบคุมโรคพบว่าสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในช่วง 1 ม.ค.-24 ก.พ.2568 พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 1.6 เท่า เมื่อเทียบกับช่วง 1 ม.ค.-24 ก.พ.2567
โรคไข้หวัดใหญ่ คืออะไร
โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) เกิดได้ที่จมูก ลำคอ และปอด ต่างจากการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ เช่น adenovirus ซึ่งสามารถหายได้เอง หรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดความรุนแรงได้
อาการไข้หวัดใหญ่ เป็นแบบไหน
อาการไข้หวัดใหญ่ เกิดจากการแพร่กระจายของไวรัส โดยสัมผัสจากสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย หรือได้รับจากการหายใจในที่แออัดที่ได้รับเชื้อเข้าไป ซึ่งการติดต่ออาจเกิดจากการที่ใช้มือสัมผัสจมูกและปาก ซึ่งหากสภาพร่างกายอ่อนแอ มีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ หรือเกิดจากได้รับเชื้อที่แตกต่างไปจากเดิม จากการเปลี่ยนสายพันธุ์ใหม่ ทำให้เกิดความรุนแรงมากขึ้น
สัญญาณเตือนของอาการไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่อาจมีอาการรุนแรงกว่า ไข้หวัดธรรมดา และอาจก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว หากมีอาการดังต่อไปนี้
1. อาการปวดศีรษะ
อาการปวดศีรษะ อาจมีความรุนแรง หากมีไข้ร่วมด้วย อาจมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง โดยเฉพาะบริเวณหน้าผากและรอบดวงตา หากมีไข้ร่วมด้วย อาจเป็นสัญญาณของ การติดเชื้อรุนแรง หรือภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
2. อาการไอแห้งรุนแรง
อาการไอแห้ง อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อย หอบตามมาได้ ไอแห้งต่อเนื่อง จะทำให้เกิดอาการเหนื่อยและหอบหายใจลำบาก หากไอรุนแรงจนมีเสมหะสีเขียว เหลือง หรือมีเลือดปน ควรรีบพบแพทย์ เพราะอาจเป็น อาการของปอดอักเสบหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
3. อาการน้ำมูกไหลและคัดจมูก
อาการไข้หวัด มีน้ำมูก คัดจมูก ที่มีอาการแน่นจมูกมาก หายใจลำบาก อาจเริ่มจากน้ำมูกใส และพัฒนาเป็นข้นหนืดหรือมีสีเหลือง-เขียว ซึ่งอาจบ่งบอกถึง การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ควรรีบไปพบแพทย์
4. อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรง
อาจรู้สึกปวดเมื่อยไปทั้งตัว โดยเฉพาะหลัง ขา และแขน อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หากมีอาการปวดมาก ควรให้รีบพบแพทย์ เพื่อตรวจอาการผิดปกติ
5. มีไข้สูงมากกว่าปกติ 38 องศาเซลเซียสขึ้นไป
อาการไข้สูงเกิน 38°C เป็นหนึ่งในสัญญาณสำคัญของไข้หวัดใหญ่ โดยอาการไข้สูงจะเสี่ยงกับภาวะชักได้ในเด็กเล็ก และเกิดความอันตรายได้ในผู้สูงอายุ
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่มักหายได้เอง แต่ในบางกรณีอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว โดยภาวะแทรกซ้อนพบได้ดังนี้
- โรคหอบหืดกำเริบ
- หลอดลมอักเสบ
- หูอักเสบ
- โรคหัวใจ
- โรคปอดบวม หรือปอดอักเสบ ซึ่งอันตรายมากในผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
- ภาวะหายใจลําบากเฉียบพลัน
วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
การป้องกันไข้หวัดใหญ่ ทำได้โดยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง หมั่นล้างมือ กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย และฉีดวัคซีนป้องกันทุกปี โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคเรื้อรัง
- ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ทั้งผู้ป่วยและไม่ป่วย
- หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ ช้อนอาหาร หลอดดูดน้ำ
- หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หรือสวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็น
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ นม ไข่
- กินอาหารปรุงสุกใหม่ และใช้ช้อนกลาง
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
- ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น
- เด็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี
- ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น หอบหืด หัวใจ ไตวาย มะเร็ง เบาหวาน
- ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย หรือผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ป่วยโรคอ้วน
- หญิงตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
หากพบว่าติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ให้รีบใช้ยาฆ่าเชื้อไวรัส โดยรับประทานให้ครบตามแพทย์สั่ง และหากมีอาการอื่นร่วมด้วย ควรได้รับยาบรรเทาตามอาการที่เกิดขึ้น เช่น ยาบรรเทาอาการน้ำมูก ยาบรรเทาอาการไอ
- นอนหลับพักผ่อนมาก ๆ ในห้องที่อากาศถ่ายเทดี ไม่ควรออกกำลังกาย
- ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ น้ำผลไม้ มาก ๆ งดดื่มน้ำเย็น
- รักษาตามอาการ หากมีไข้ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัว หากไข้ไม่ลดให้รับประทานยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอลห้ามใช้ยาแอสไพริน หากทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น ภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์
- พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น
เมื่อเริ่มมีอาการน้ำมูก เจ็บคอ ไอ ไม่สบาย ให้เริ่มดูแลสุขภาพ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่ารอให้อาการรุนแรงจนเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรใช้ยาบรรเทาอาการที่เหมาะสม เช่น ยาลดไข้ บรรเทาหวัดสูตรผสม ที่มีตัวยา 2 ชนิด ใน 1 เม็ด หรือผลิตภัณฑ์ ยาแก้หวัดสูตรผสมที่ประกอบด้วยยาพาราเซตามอล (Paracetamol) 500 มก.และยาคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine Maleate) 2 มก.เพื่อลดไข้ ลดน้ำมูก บรรเทาอาการปวดศีรษะ ลดไขและบรรเทาอาการเบื้องต้นไปก่อน
Reference:
- https://www.medparkhospital.com/disease-and-treatment/influenza
- https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=13
- https://www.bangkokhospital.com/content/influenza-prevention