ไอบ่อยในหน้าฝน ต้องระวัง 6 โรคนี้!

28 มิ.ย. 24

ไอบ่อยในหน้าฝน

 

ในช่วงฤดูฝน ทำให้คนเราป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะอาการไอ มีไข้ มีน้ำมูก เจ็บคอ เป็นต้น และมีหลายคนที่มักจะมีอาการไอบ่อยทุกครั้งที่ฤดูฝนมาเยือน สาเหตุนี้เป็นเพราะอะไร จะมีโรคอะไรบ้างที่ทำให้ “ไอบ่อยในหน้าฝน” GEDgoodlife มีคำตอบรออยู่แล้ว มาติดตามกันเลย!

– อาการไอมีกี่แบบ แบบไหนควรรีบไปพบแพทย์ ?
– เมื่อมีอาการไอ ควรเลือกใช้ยาแก้ไอยังไงดี ?
– อาการไอในเด็ก มักเกิดจากสาเหตุใด ไอแบบไหนอันตราย? พร้อมวิธีเลือกซื้อยาแก้ไอเด็ก

ไอบ่อยในหน้าฝน ต้องระวัง 6 โรคนี้!

นพ.วินัย โบเวจา อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจและภาวะวิกฤตทางเดินหายใจ ได้กล่าวไว้ว่า ในฤดูฝนมักทำให้คนป่วย มีอาการไอได้ง่าย โดยมีสาเหตุจากความชื้น ละอองฝน เชื้อโรค และอื่น ๆ โดยคุณหมอได้สรุป 6 โรค ที่ทำให้ ไอบ่อยในหน้าฝน ไว้ดังนี้…

1. ไอจาก… โรคไข้หวัด

ไข้หวัดทั่วไป (common cold) โรคยอดฮิตในหน้าฝน แต่หากมีไข้สูง และมีอาการไอบ่อย ยิ่งในช่วงโควิด-19 ระบาดนี้ อาจจะไม่ใช่แค่ไข้ธรรมดา แต่อาจจะเกิดจากโรคโควิดก็เป็นได้ ฉะนั้น อย่านิ่งนอนใจ! ควรใช้ที่ตรวจโควิด Antigen test kit (ATK) หรือเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ตามโรงพยาบาลใกล้บ้าน เพื่อให้มั่นใจว่า เกิดจากโควิดหรือไม่

อาการ : มีไข้ ไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล อ่อนเพลีย

วิธีดูแลรักษา : นอนหลับพักผ่อนให้มาก ๆ ทำร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ กินอาหารอ่อน ๆ สามารถ กินยาลดไข้ เพื่อลดอาการของโรคได้ แต่ไม่ควรทาน ยาแอสไพริน เพราะผลข้างเคียงสูง

อ่านเพิ่มเติม -> โรคไข้หวัด โรคยอดฮิตตลอดปี! เป็นกี่วันหาย กินยาอะไรดี? สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

2. ไอจาก… โรคภูมิแพ้อากาศ

ภูมิแพ้ยอดฮิตที่ทำให้เกิดอาการไอบ่อยในหน้าฝน คือ ภูมิแพ้อากาศ (หรือภูมิแพ้จมูก – Allergic Rhinitis) เพราะอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย ฝนตกเป็นประจำ อากาศชื้นและเย็น เป็นเหตุทำให้เกิดภูมิแพ้ทางเดินหายใจได้ง่าย

อาการ : คนไข้มักมีอาการไออันเนื่องมาจากจมูกอักเสบ ไอเรื้อรัง คัดจมูก แน่นจมูก มีน้ำมูก กระแอมบ่อย มีเสมหะในคอ

วิธีดูแลรักษา : พยายามหลีกเลี่ยงอากาศเย็น ทำตัวให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่เปิดพัดลม หรือแอร์เย็นจนเกินไป กิน ยาแก้แพ้ เพื่อบรรเทาอาการแพ้

อ่านเพิ่มเติม -> ภูมิแพ้ คืออะไร มีสาเหตุ อาการอะไรบ้าง หายขาดได้หรือไม่? พร้อมวิธีรักษาภูมิแพ้

3. ไอจาก… โรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis) เป็นโรคระบบทางเดินหายใจ ที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม มักเกิดขึ้นหลังจากเป็นหวัด พบได้มากกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี และผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป

อาการ : มีอาการไอมาก ไอบ่อย ไอมีเสียงวีด ไอกลางดึก มีเสมหะ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่หนัก ทำงานในสถานที่ที่มีฝุ่นควันมาก เป็นต้น

วิธีดูแลรักษา : ดื่มน้ำอุ่นบ่อย ๆ ลดละเลิกสูบบุหรี่ ถ้ามีอาการไอแบบมีเสมหะ เลือกกิน ยาแก้ไอละลายเสมหะ ได้ (ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนใช้ยา)

อ่านเพิ่มเติม -> โรคหลอดลมอักเสบ มีกี่ชนิด อาการ และวิธีป้องกันโรค

4. ไอจาก… โรคหอบหืด

ฤดูฝน ถือเป็นฤดูของโรคหอบหืด (Asthma) ได้เลยทีเดียว เพราะ ในหน้าฝน ทำให้อากาศชื้น และในอากาศชื้นจะมีละอองเป็นพาหะนำพาเชื้อโรค ไวรัส สิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เข้าสู่จมูก ปอด ทำให้เกิดอาการไอได้

อาการ : มีอาการไอ หอบเหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงดังวี้ด หายใจลำบาก หรือหายใจเร็ว โดยเฉพาะตอนกลางคืน ตอนเช้ามืด หรือขณะออกกำลังกาย หรือขณะเป็นไข้หวัด

วิธีดูแลรักษา : หลีกเลี่ยง หรือกำจัดสิ่งที่แพ้ เป็นการรักษาที่สำคัญที่สุด ทำความสะอาดบ้าน โดยเฉพาะห้องนอน ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาสุขภาพจิตให้สดชื่น แจ่มใส

อ่านเพิ่มเติม -> โรคหอบหืด รู้ทันอาการ เซฟชีวิตคุณได้!

5. ไอจาก… โรคถุงลมโป่งพองกำเริบ

โรคถุงลมโป่งพอง (Pulmonary emphysema) เป็นส่วนหนึ่งของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคที่มักเจอกับผู้ป่วยที่สูบบุหรี่บ่อย เมื่อเข้าสู่หน้าฝน ก็จะทำให้อาการกำเริบได้ ส่วนใหญ่พบในวัยสูงอายุ ผู้ชายพบได้มากกว่าผู้หญิง

อาการ : มีอาการไอ มีเสมหะเรื้อรัง เหนื่อยหอบง่าย มักจะเป็นมากในช่วงเช้า อาจมีอาการ หายใจเสียงดังวี๊ด ๆ รู้สึกเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้

วิธีดูแลรักษา : หยุดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงมลภาวะในอากาศ ใช้ยาขยายหลอดลม (เข้าพบแพทย์) พยายามไม่ให้น้ำหนักลดลงเรื่อย ๆ เพราะจะทำให้ยิ่งเหนื่อย

อ่านเพิ่มเติม ->  ถุงลมโป่งพอง โรคร้ายบนซองบุหรี่

6. ไอจาก… โรคหลอดลมโป่งพองอักเสบ

หลอดลมโป่งพอง (Bronchiectasis) คือ ภาวะที่หลอดลมโป่ง และพอง กว้างขึ้นกว่าปกติอย่างถาวร เป็นโรคที่พอเจออากาศชื้น ก็จะมีอาการกำเริบได้  พบได้ในคนทุกวัย แต่พบมากในช่วงอายุ 20-40 ปี

อาการ : ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด มีไข้ มีเสมหะเยอะ ทั้งสีเหลือง สีขาว สีเขียว ติดเชื้อได้บ่อย ต้องกินยาฆ่าเชื้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด

วิธีดูแลรักษา : ดื่มน้ำให้มาก เลิกสูบบุหรี่ ลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลี่ยงมลพิษ ออกกำลังกาย ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ หากติดเชื้ออย่าซื้อยากินเอง ให้ปรึกษาแพทย์

ไอบ่อยในหน้าฝน


อ้างอิง : 1. โรคปอดและทางเดินหายใจ หมอวินัยโบเวจา 2. ราชวิทยาลัยโสต ศอ นาสิกแพทย์แห่งประเทศไทย 3. สำนักงานสาธารณสุข

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ยาละลายเสมหะ เพื่อบรรเทาอาการไอ

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save