จิตตก! เพราะโซเชียล อยู่รึเปล่า? ต้องดู “5 เคล็ดลับใช้โซเชียล” ห่างไกลซึมเศร้า

28 มิ.ย. 24

เคล็ดลับใช้โซเชียล ห่างไกลซึมเศร้า

 

ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แพร่ระบาดหนัก อากาศข้างนอกก็เปลี่ยนแปลงบ่อย! ทำให้หลายคนต้องอยู่แต่บ้าน และใช้ช่วงเวลาอยู่กับ “โลกโซเชียลมีเดีย” หรือ “โลกออนไลน์” มากขึ้น หวังว่าจะช่วยแก้เหงา คลายเบื่อ แต่กลับกลายเป็นทำให้จิตตก ซึมเศร้า ไปสะอย่างงั้น!! สาเหตุนั้นจะเป็นเพราะอะไร พร้อม 5 เคล็ดลับใช้โซเชียล ห่างไกลซึมเศร้า เติมพลังบวกให้ชีวิต

ดีคอลเจน ชนิดเม็ด (Decolgen tablets) บรรเทาหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้

โรคเสพติดโซเชียลมีเดีย

หลายคนใช้โซเชียลมีเดียเป็นโลกใบที่ 2 สำหรับแสดงออกทางความรู้สึก อารมณ์ และความคิดของตนเอง และจะใช้มือถือตั้งแต่ตื่น ยันเข้านอน เพื่อติดตามข่าวสาร ฟีดแบค และคอมเมนท์ต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้เราเป็นโรคเสพติดโซเชียลมีเดีย (Social addiction) ได้โดยไม่รู้ตัว

แพทย์หญิงปรานี ปวีณชนา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น รพ.มนารมย์ ได้ให้เกณฑ์การวินิจฉัย โรคเสพติดโซเชียลมีเดีย ต้องมีอาการครบ 4 ข้อ ดังนี้

1. เล่นโซเชียลมากเกินไป เช่น ตื่นมาก็เล่นเลย ไม่กิน ไม่นอน จนเสียสุขภาพ เสียการเรียน การงาน
2. มีอาการถอนเมื่อไม่ได้เล่น เช่น หงุดหงิด อาละวาด ทำลายข้าวของ เครียด ซึมเศร้า
3. มีความต้องการที่จะเล่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น เพิ่มจำนวนเวลาในการเล่น ความทันสมัยของอุปกรณ์
4. มีพฤติกรรมแย่ ๆ ตามมาเพื่อให้ได้เล่น เช่น ขโมยเงิน โกหก ทะเลาะกับคนรอบข้าง

“โรคเสพติดโซเชียลมีเดีย” มักพบร่วมกับโรคทางจิตเวชอื่นได้บ่อย จำเป็นต้องให้การรักษาควบคู่กันไป เช่น โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคกลัวการเข้าสังคม โรคย้ำคิดย้ำทำ พฤติกรรมรุนแรงก้าวร้าว การใช้สารเสพติด เป็นต้น

เหตุผลที่ทำให้จิตตก ซึมเศร้า จากโลกโซเชียล

ในปัจจุบันความสัมพันธ์ของคนกับโซเชียลมีเดียได้พัฒนาเป็นวงจรแห่งปัญหา เพราะ โลกโซเชี่ยลเป็นโลกที่เข้าถึงได้ง่ายมาก และยิ่งเราเสพสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook Instagram Twitter TikTok มากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งใส่ความรู้สึก หลงไปกับภาพลักษณ์ที่คนอื่นสร้างไว้จนเกิดการเปรียบเทียบกับตัวเราเองมากเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น…

1. เห็นชีวิตคนอื่นดีกว่าเรา รวยกว่าเรา เลยทำให้รู้สึกแย่ที่ตัวเองมีไม่เหมือนเขา ไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี

2. เห็นคนอื่นมีความรักที่ดีกว่า เรียนจบสูงกว่า ครอบครัวอบอุ่นกว่า เลยทำให้ตัวเองเกิดความอิจฉา ริษยา

3. เห็นคนอื่นมีการมีงานที่ดีทำ เงินเดือนสูง มีหน้ามีตาในสังคม เลยรู้สึกกดดันตัวเอง ที่ทำไม่ได้เหมือนเขา

4. หลายคนโดนสังคมบูลลี่เรื่องหน้าตา ฐานะ จนรับไม่ไหว เสียใจ ร้องไห้ ไม่กล้าพบหน้าใคร

5. สุดท้ายจิตตก รู้สึกตัวเองไร้ค่า พยายามเท่าไหร่ ชีวิตก็ไม่ดีเหมือนคนอื่นเขา จนมีอาการเครียด ซึมเศร้า และอาจคิดฆ่าตัวตายได้

– แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม
– 12 อาหารคลายเครียด กินแล้วดีต่อใจ ห่างไกลซึมเศร้า

5 เคล็ดลับใช้โซเชียล ห่างไกลซึมเศร้า

1. ใช้เท่าที่จำเป็น หรือใช้อย่างมีประโยชน์

โลกโซเชี่ยลเปรียบเสมือนดาบ 2 คม มีทั้งประโยชน์อนันต์ และโทษมหันต์ หากเรามี “สติ” เลือกใช้เป็น เราก็จะได้ประโยชน์ ได้ความรู้เพิ่มเติม สามารถนำความรู้จากโลกออนไลน์ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน หรือพัฒนางานของเราได้

2. หยุดเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น มีสติอยู่กับสิ่งที่เรามี ที่เราเป็น

ปัจจุบันสื่อโซเชี่ยล นิยมสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวเองดูดี เพื่อหวังเพิ่มยอดไลก์ หรือทำให้คนอื่นยอมรับ ถ้าหากเราขาดสติ มีนิสัยชอบเอาตัวเราไปเทียบกับคนอื่นที่เขามีดีกว่า เราก็จะรู้สึกจิตตก ต่ำต้อย หดหู่ ตกเป็นเหยื่อของโลกโซเชี่ยลได้ ฉะนั้นสิ่งสำคัญคือ ต้องมีสติอยู่เสมอ เห็นแล้วก็ผ่านเลยไป ใครเขารวย ใครเขามีชีวิตดี เราก็แค่ยินดีกับเขา เท่านั้นพอ

3. เปลี่ยนจากอิจฉา มาเป็น แรงบันดาลใจ

ความอิจฉาที่เห็นผู้อื่นได้ดีกว่าเรา มีแต่บั่นทอนให้จิตใจเราแย่ลง ๆ สิ่งที่ควรทำ คือ เปลี่ยนจากความอิจฉา มาเป็นแรงบันดาลใจ พัฒนาตัวเองให้มีความรู้ ความสามารถ และรู้จักสร้างประโยชน์จากสิ่งที่เรามีให้แก่สังคม ถ้าเราทำได้เมื่อไหร่ สังคมก็จะยกย่องเรา และถือเราเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป…

4. ทำ Social Detox บำบัดสุขภาพจิตจากโลกโซเชียล

มีคนดังมากมายระดับโลก หรือแม้แต่ดาราไทยเอง ที่หันมาใช้ Social Detox หรือการประกาศหยุดพัก (ออกห่าง) จากโซเชียลมีเดีย โดยเริ่มต้นง่าย ๆ ดังนี้

– กำหนดเวลาเล่นสมาร์ทโฟน เช่น ทุก 1-2 ชั่วโมง กำหนดว่าจะเล่นครั้งละ 5 นาที หรือ 10 นาที
– Social Detox ทุกวันหยุด วันหยุดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะใช้ชีวิตออกห่างโซเชียลมีเดีย และหันมาใช้ชีวิตกับครอบครัว หรือทำกิจกรรมอื่น ๆ แทน
– งดเล่นสมาร์ทโฟนตอนนอน วิธีนี้จะช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น โดยให้งดเล่นก่อนเข้านอน 1 ชั่วโมง
– เริ่มตัดขาดโซเชียล เมื่อทำ 3 ข้อแรกได้แล้ว ก็จะสามารถเริ่มตัดขาดจากโซเชียลได้นานขึ้น อาจลองไม่เล่นเป็นเวลาสัก 1 อาทิตย์ จนกระทั่ง 1 เดือน เป็นต้น

5. ทำ “สมาธิ” ยาคลายเครียดชั้นดี!

นพ.กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ กล่าวว่า การฝึกทำสมาธิ ซึ่งเป็นการผ่อนคลายความเครียดที่ลึกซึ้งที่สุด วิธีที่แนะนำ คือ การนับลมหายใจของตัวเองเป็นหลัก และยุติการคิดเรื่องอื่น ๆ อย่างสิ้นเชิง การทำสมาธิจะช่วยให้จิตใจสงบปลอดความคิดฟุ้งซ่าน ความกังวล เศร้า โกรธ ซึ่งเป็นผลมาจากความเครียด

10 ตุลาคม วันสุขภาพจิตโลก

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ได้กำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสุขภาพจิตโลก หรือ World Mental Health Day วัตถุประสงค์เพื่อให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพจิต รวมถึงการร่วมมือเพื่อป้องกัน และบำบัดรักษาผู้ที่เจ็บป่วยทางด้านจิตใจ

 

อ้างอิง : 1. รพ. มนารมย์ 2. สสส. 3. สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save