ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) อาการเจ็บป่วยที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย และเป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงอากาศหนาว เพราะเป็นช่วงที่ไวรัสเติบโตได้ดีที่สุด อาการโดยทั่วไปอาจจะคล้าย ๆ กับไข้หวัดธรรมดา แต่ขอบอกเลยว่าไข้หวัดใหญ่นั้นร้ายกว่ามาก สังเกตได้จากอาการที่มักเกิดขึ้นทันทีทันใด ต่างจากไข้หวัดธรรมดามักจะมีอาการค่อยเป็นค่อยไป
อาการสำคัญของไข้หวัดใหญ่ผู้ป่วยมักมีไข้สูงติดกันหลายวันโดยเฉพาะในเด็กจะมีไข้สูงลอยเกินกว่า 39-40 องศาเซลเซียสติดต่อกัน 3-4 วัน
เรียกว่าพอถึงช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาด ทีมแพทย์กับโรงพยาบาลต่าง ๆ ต้องเตรียมพร้อมรับมือ และให้คำแนะนำกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้นมาเรียนรู้ถึงอาการป่วย การดูแลตัวเอง เพื่อให้ปลอดภัยจาก โรคไข้หวัดใหญ่ กันดีกว่า
สาเหตุของ โรคไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจ มีอาการรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาด้วย
การติดต่อของไข้หวัดใหญ่
เชื้อนี้ติดต่อได้ง่ายโดยทางเดินหายใจ วิธีการติดต่อได้แก่
- ติดต่อโดยการไอหรือจาม เชื้อจะเข้าทางเยื่อบุตา และปาก
- สัมผัสเสมหะของผู้ป่วยทางแก้วน้ำ ผ้า จูบ สัมผัสทางมือที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
ระยะติดต่อหมายถึงระยะเวลาที่เชื้อสามารถติดต่อไปยังผู้อื่น
- ระยะเวลาที่ติดต่อคนอื่นคือ 1 วัน ก่อนเกิดอาการ
- ห้าวันหลังจากมีอาการ
- ในเด็กอาจจะแพร่เชื้อ 6 วันก่อนมีอาการ และแพร่เชื้อได้นาน 10 วัน
- การวินิจฉัยและการรักษา การป้องกันไข้หวัด
ลักษณะอาการของไข้หวัดใหญ่
มีไข้สูงประมาณ 38-41 องศาเซลเซียส มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะบริเวณกระเบนเหน็บ ต้นแขน และต้นขา ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร เจ็บคอ คัดจมูก มีน้ำมูกใส ๆ ไอแห้ง ผู้ป่วยมักแสดงอาการเหล่านี้ทันทีที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่
นอกจากอาการป่วยที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ยังมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ หูติดเชื้อ หูน้ำหนวก หรืออาจร้ายแรงถึงขั้น สมองอักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เป็นต้น แต่โดยส่วนมากแล้ว หากได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ก็มักจะหายจากโรคได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ในปี คศ.2003 ได้มีการแนะนำเรื่อง ไข้หวัดใหญ่ ดังนี้
1. ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการฉีดวัคซีน คือเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน (เนื่องจากเชื้อนี้มักจะระบาดในต่างประเทศ หากประเทศเราจะฉีดก็น่าจะเป็นช่วงเดียวกัน)
โดยเน้นไปที่ประชาชนที่มีอายุ 50 ปี, เด็กอายุ 6-23 เดือน, คนที่อายุ 2-49 ปี ที่มีโรคประจำตัวกลุ่มนี้ให้ฉีดในเดือนตุลาคม ส่วนกลุ่มอื่น เช่นเด็ก เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ผู้ดูแลคนป่วย กลุ่มนี้ให้ฉีดเดือนพฤศจิกายน
2. เด็กที่อายุ 6-23 เดือน ควรจะฉีดทุกรายโดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วย
3. ชนิดของวัคซีนที่จะฉีดให้ใช้ชนิดที่มีส่วนผสมของเชื้อ A/Moscow/10/99 (H3N2)-like, A/New Caledonia/20/99 (H1N1)-like, และ B/Hong Kong/330/2001
4. ให้ลดปริมาณสาร thimerosal ซึ่งเป็นสารปรอท
การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
การป้องกัน และ ดูแลตัวเองไม่ให้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ สามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้
• การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด
• สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่ออยู่ในที่คนเยอะ แออัด หรือต้องเข้าใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย
• ดูแลสุภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ
• รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉพาะในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง
• หากไม่สบาย หรือเจ็บป่วยอาการใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยและทำการรักษา
แม้ปัจจุบันเราจะมีวัคซีนสำหรับป้องกันโรค ไข้หวัดใหญ่ แล้ว แต่เนื่องจากวัคซีนนั้นไม่สามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้ครอบคลุมทุกสายพันธุ์ การดูแลรักษาสุขภาพด้วยตัวเอง ก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นมาก ๆ อยู่เสมอ