มีจริงหรือนี่! โรคหัวใจสลาย อกหักก็มีสิทธิ์ตายได้!

27 มิ.ย. 24

 

ใครจะไปเชื่อว่าคนเราจะตายเพราะ โรคหัวใจสลาย ได้ แต่นี่เป็นเรื่องจริงที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว เวลาอกหัก โดนบอกเลิก หรือได้รับข่าวร้ายที่ทำให้เสียใจมาก ๆ อย่างกะทันหัน เช่น คนในครอบครัวเสียชีวิตกะทันหัน อาจทำให้คุณรู้สึกเจ็บที่หน้าอก หรือหายใจไม่ออกได้ เรื่องนี้จึงไม่ใช่แค่เรื่องเศร้าธรรมดา ๆ แต่เป็นเรื่องของคนอกหักที่เข้าใจกัน และบางรายเสียใจมาก ๆ อาการอาจหนักจนถึงตายได้เลยทีเดียวนะเนี่ย

1497-โรคหัวใจสลาย-1

โรคหัวใจสลาย คืออะไร?
โรคหัวใจสลาย (broken heart syndrome) หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติทาโคสึโบะ (Takotsubo cardiomyopathy)ตั้งตามชื่อของแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่เป็นผู้ค้นพบโรคนี้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นโรคหัวใจชนิดหนึ่ง ที่มีสาเหตุมาจากความเครียด สามารถเกิดขึ้นได้แม้ว่าคุณจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดีก็ตาม มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรงอย่างกะทันหัน โดยมีสาเหตุจากเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดทางอารมณ์สูง ไม่ว่าจะเป็น การพลัดพรากจากคนที่รัก ถูกปฏิเสธความสัมพันธ์ ประสบอุบัติเหตุ หรือมีปัญหาทางการเงิน เป็นต้น

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณหัวใจสลาย?

เมื่อคุณมีอาการของโรคหัวใจสลาย กล้ามเนื้อหัวใจส่วนหนึ่งจะอ่อนแรงลงอย่างกะทันหัน การสูบฉีดเลือดจะชะงักลง กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการกระตุก ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง และลมหายใจขาดห้วง และยังอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น

  • หน้ามืดเป็นลม
  • คลื่นไส้
  • ความดันโลหิตต่ำ
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • มักมีอาการภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังจากเกิดความเครียด หรือมีเหตุกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรง

เนื่องจากมีลักษณะอาการที่คล้ายกันมาก จึงมักมีการวินิจฉัยผิดว่า โรคหัวใจสลายคือโรคหัวใจวาย แต่โรคหัวใจสลายจะไม่มีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจเหมือนกรณีการหัวใจวาย

1497-โรคหัวใจสลาย-2

การรักษาโรคหัวใจสลาย

การตรวจ และรักษาโรคหัวใจสลาย สามารถทำได้โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายของผู้ป่วยอย่างละเอียด ด้วยวิธีการเดียวกับการตรวจโรคหัวใจ เช่น เจาะเลือดตรวจ ฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ เอ็กซ์เรย์ช่วงอก รวมไปถึงการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือเอคโคหัวใจ ส่วนการรักษารักษาโรคหัวใจสลายนั้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ก็จะคล้ายกับการรักษาโรคหัวใจนั่นเอง

อาจดูไม่น่าเชื่อว่า ความเจ็บปวดทางใจจะสามารถทำให้เรามีอันตรายถึงชีวิตได้จริง ๆ แต่ก็มีหลักฐาน ข้อพิสูจน์ รวมถึงกรณีศึกษาทางการแพทย์มากมายรองรับแล้วว่า คนเราสามารถตาย เพราะโรคหัวใจสลาย ได้จริง ๆ หากคุณเป็นคนที่อ่อนไหวง่ายและมีอาการตามที่บอกไว้ข้างบนแล้วละก็ การไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิฉัยก็ดูจะไม่เกินไปนัก

[youtube https://www.youtube.com/watch?v=GI_IseKxkrI]

“Expert ดีดี” โควิด-19 ไอ หวัด ปวดท้อง ภูมิแพ้ อย่าปล่อยให้เรื้อรัง ปรึกษาฟรี คลิกเลย!

ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save