การฝึกฝนทักษะเพื่อ “เตรียมตัวเข้าอนุบาล” เป็นสิ่งสำคัญ นอกจากได้ฝึกทักษะต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นการได้ใช้เวลา กระชับสายสัมพันธ์ร่วมกับลูก เพราะเมื่อลูกเริ่มเข้าโรงเรียน เวลาที่จะอยู่ในอ้อมกอดพ่อแม่ก็จะค่อย ๆ ลดน้อยลง ที่สำคัญในช่วงอายุ 0-3 ปี ของลูก เป็นช่วงเวลาทองของสมองลูก ลูกจะจดจำ เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีที่สุดในช่วงวัยนี้
10 ทักษะ เตรียมตัวเข้าอนุบาล
1. ทักษะการเขียน เตรียมตัวเข้าอนุบาล
จริงอยู่ว่าก่อนเข้าอนุบาล พ่อแม่ก็หวังว่าจะให้ลูกไปเริ่มอ่าน เขียนที่โรงเรียน แต่ทักษะการเขียน ถ้าพ่อแม่สามารถฝึกฝน ปลูกฝังได้ก่อนเข้าอนุบาลก็จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้น อาจจะไม่จำเป็นต้องให้เขียนเป็นตัวหนังสือ แต่อาจจะฝึกจากการจับดินสอให้ถูกต้อง ฝึกการจับดินสอให้ถูกต้อง ฝึกฝนกล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกการลากเส้น
2. ท่อง ก-ฮ จำตัวอักษร
ท่องอักษร ก-ฮ เป็นพื้นฐานเริ่มแรกของการเรียนเลย ก่อนอนุบาลจึงควรฝึกฝนให้ลูกเริ่มรู้จักตัวอักษรไทยก่อน อาจจะใช้หนังสือภาพ หนังสือนิทาน เปิดให้ลูกดูเป็นประจำ พร้อมทั้งอ่านออกเสียงให้ลูกอ่านตามก่อน ค่อย ๆ ฝึกวันละนิด ถ้าลูกท่องตัวอักษรไทยได้แล้ว อาจจะค่อย ๆ เพิ่มเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ
3. นับเลข
เริ่มแรกอาจจะฝึกท่อง 1-10 ก่อน ใช้หนังสือภาพ หรืออาจะใช้เพลง คลิปวิดีโอสอนฝึกร้องตาม หลังจากนั้นก็ฝึกให้เรียนรู้ค่าของจำนวนตัวเลขแต่ละตัว เช่น ฝึกนับของเล่น แปะสติ๊กเกอร์ตามจำนวน ซึ่งอาจจะค่อย ๆ ฝึกลูกตามลำดับ คือ ท่อง 1-10 ให้ได้ เห็นตัวเลขแล้วบอกได้ว่า คือเลขอะไร รู้จำนวน รู้ค่าของตัวเลขแต่ละตัว
4. ฝึกฝนช่วยเหลือตัวเอง
เช่น ใส่เสื้อผ้า แต่งตัว กินข้าวด้วยตัวเอง ถ้าเริ่มฝึกเรื่องการช่วยเหลือตัวเองได้เร็ว เมื่อเข้าโรงเรียน จะช่วยให้ลูกสามารถดูแล พึ่งพาตัวเองได้ ทำให้พ่อแม่คลายความกังวลลงไปได้ อาจจะเน้นเรื่องสำคัญก่อน เช่น เรื่อง การตักข้าวกินด้วยตัวเอง ฝึกให้ลูกกินง่าย ไม่เลือกกิน ไม่เป็นเด็กกินยาก
5. เลิกแพมเพิส
การเลิกใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป เป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำให้ได้ก่อนเข้าอนุบาล เพราะว่าเมื่อเข้าเรียนแล้ว คุณครู หรือพี่เลี้ยง อาจจะไม่สามารถมาคอยเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกได้ ซึ่งอาจทำให้สกปรก เกิดความหมักหมมเปียกชื้น และยังไม่ถูกสุขอนามัยกับเด็กคนอื่น ๆ ด้วย พ่อแม่ควรเริ่มฝึกลูกตั้งแต่ 1-2 ขวบ โดยอาจจะฝึกเลิกแพมเพิสช่วงกลางวันก่อน ตื่นเช้ามาพาไปเข้าห้องน้ำ และไม่ใส่แพมเพิสระหว่างวัน โดยให้ลูกบอกว่าถ้าปวดฉี่ให้บอกแม่ แล้วพาไปเข้าห้องน้ำ แต่แม่อาจจะคอยดูระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง ก็พาลูกไปเข้าห้องน้ำ ลูกจะค่อย ๆ เริ่มเรียนรู้ และเลิกใช้แพมเพิสได้
6. ทักษะการสื่อสาร
เป็นทักษะสำคัญ ถึงแม้ลูกจะพูดได้เป็นคำ ๆ แต่ว่าสิ่งสำคัญของการพูด คือ ต้องสามารถสื่อสาร บอกสิ่งที่ต้องการ หรือยิ่งไปกว่านั้นคือ บอกอารมณ์ ความรู้สึกของตัวเองได้ แต่ในขั้นต้น ลูกควรบอกความต้องการ หรือมีความเข้าใจภาษาพื้นฐานได้ เช่น บอกได้ว่าหิว ร้อน หนาว หรือ อยากได้อะไร
7. ทักษะทางสังคม
เมื่อเข้าอนุบาล เจอเพื่อน สังคมมากขึ้น ลูกต้องเริ่มปรับตัว สิ่งสำคัญคือ ทักษะสังคม ต้องฝึกให้อยู่ร่วมกับคนอื่นได้ รู้จักการแบ่งปัน การเล่นกับเพื่อน ๆ ซึ่งฝึกได้ง่าย ๆ โดยการพาลูกไปทำกิจกรรมนอกบ้านบ่อย ๆ ไปพบปะเพื่อน ๆ ญาติ ๆ ให้รู้จักคนแปลกหน้าบ้าง
8. รู้จักสี รูปทรง รูปร่างต่าง ๆ
ฝึกลูกจดจำสีต่าง ๆ เริ่มจากชี้ที่สิ่งของรอบ ๆ ตัว แล้วบอกว่านี่คือสีอะไร ทำบ่อย ๆ เป็นประจำ เมื่อลูกจำได้ก็เล่นถามคำถาม ชี้แล้วให้ลูกตอบ ส่วนรูปร่างต่าง ๆ ก็ใช้วิธีเดียวกัน เช่น สมุด หนังสือ เป็นสี่เหลี่ยม เหรียญ คือ วงกลม ฯลฯ
9. ทักษะภาษา
ฝึกพูดคุยภาษาอังกฤษ นอกจากภาษาไทยแล้ว สมัยนี้พ่อแม่หลายคนอาจจะฝึกพูดกับลูกเป็นภาษาอังกฤษ ให้ลูกเรียนรู้ภาษาที่สอง เป็นเด็กสองภาษา โดยพูดศัพท์ง่าย ๆ สอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษไปพร้อม ๆ ภาษาไทย คุยสื่อสารภาษาอังกฤษสม่ำเสมอ จำทำให้เด็กมีพื้นฐานภาษาอังกฤษ เพราะเป็นช่วงเวลาที่ลูกจะเรียนรู้ได้ไว
10. ทักษะกล้ามเนื้อมัดใหญ่
เมื่อเข้าอนุบาล กล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นสิ่งจำเป็น เพราะลูกต้องวิ่งเล่นมากขึ้น ทำกิจกรรม เล่นกีฬาที่โรงเรียน และช่วยให้ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น
นอกจากทักษะต่าง ๆ รอบด้านแล้ว การดูแลโภชนาการ อาหารการกิน และสุขภาพลูกให้แข็งแรงอยู่เสมอก็เป็นเรื่องสำคัญ เมื่อไปโรงเรียน ลูกอาจจะเจ็บป่วยมากขึ้น ติดหวัด ติดโรคมาจากโรงเรียน ดังนั้น หากลูกเริ่มมีอาการป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ เป็นไข้ มีอาการไอ ควรรีบดูแลรักษา ให้กินยาแก้ไข ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ หรือให้หยุดเรียนหากจำเป็น อย่าปล่อยไว้ให้เจ็บป่วยมากขึ้น จนเสียการเรียน หรือติดต่อไปยังเด็กคนอื่น ๆ ได้
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตามGedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี