10 อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก และประโยชน์ของโฟลิกต่อลูกในครรภ์

3 ก.ค. 24

อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก

 

หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วงเดือนแรก หรือ 4 สัปดาห์แรก ลูกน้อยในครรภ์จะมีรูปร่างเล็กมาก (ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร หรือไม่ใหญ่กว่าเมล็ดงาดำ) ซึ่งตัวคุณแม่เองอาจไม่ทันสังเกตว่ากำลังมีน้องแล้ว เพราะขนาดท้องยังดูเหมือนคนปกติอยู่นั่นเอง ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า “10 อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก” มีอะไรบ้าง และประโยชน์ของโฟลิกต่อลูกในครรภ์ที่แพทย์แนะนำให้คุณแม่มือใหม่ต้องกิน

แม่มือใหม่ต้องรู้! 10 อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก

1. เลือดล้างหน้าเด็ก

สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ ก็คือ การมีเลือดออกมาจากช่องคลอดแบบกระปริบกระปรอย หรือที่เรียกกันว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ จะพบในช่วง 6-12 วันหลังจากไข่ได้รับการปฏิสนธิ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดจากประจำเดือนได้ แม่ตั้งครรภ์ท้องแรก มีความเป็นไปได้ที่จะมีเลือดล้างหน้าเด็ก มากกว่าตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หรือ 3 ขึ้นไป เนื่องจากเคยมีการฝังตัวของตัวอ่อนมาก่อนแล้ว

เลือดล้างหน้าเด็กจะมีความคล้ายคลึงกับเลือดจากประจำเดือน ข้อสังเกตุที่แตกต่างกัน คือ เลือดล้างหน้าเด็กจะออกมาเพียงเล็กน้อย หรือเป็นแค่หยดเลือด บางคนอาจไม่รู้ตัว แต่เลือดประจำเดือนจะออกมากกว่า และเลือดล้างหน้าเด็กจะอยู่นานแค่ 1-2 วัน ขณะที่ประจำเดือนจะออกมานานเป็นเวลา 3-5 วัน

2. ประจำเดือนมาช้ากว่ากำหนด

เนื่องจากร่างกายเกิดการปฏิสนธิ หากประจำเดือนขาดหายไป หรือมีการคลาดเคลื่อนหลายวัน อาจบ่งบอกว่าคุณอาจกำลังตั้งครรภ์อยู่ อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนขาดไปอาจยังไม่สามารถชี้ขัดได้ว่าตั้งครรภ์ เพราะช่วงนั้นคุณอาจเกิดความเครียดมากไป หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ต้องสังเกตอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย

อาการถัดมา ที่อาจสังเกตควบคู่กับประจำเดือนขาด สำหรับอาการคนท้องแรก ๆ นั่นคือ อาการตกขาวที่มากกว่าปกติ เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ช่องคลอดมีสารคัดหลั่ง และเกิดตกขาวจำนวนมาก ซึ่งลักษณะตกขาวของคนท้องอ่อนๆ จะมีสีขาวขุ่น หรือมูกใสๆ ไม่มีกลิ่น

3. ตกขาวมากผิดปกติ

อาการตกขาวที่มากกว่าปกติ คืออาการที่ควรสังเกตควบคู่ไปกับประจำเดือนขาด เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ช่องคลอดมีสารคัดหลั่ง และเกิดตกขาวจำนวนมาก โดยลักษณะตกขาวที่พบได้ปกติในคนท้องมักจะเป็น มูกใส หรือสีขาวขุ่น แต่จะไม่มีกลิ่น ไม่ทำให้เกิดอาการ แสบ คันช่องคลอด

4. มีอาการคัดเต้านม และเต้านมขยายใหญ่ขึ้น

อาการที่ตามมาติด ๆ หลังประจำเดือนขาด นั่นคือ เต้านมมีการขยายใหญ่ขึ้น อาจรู้สึกคัดตึงคล้าย ๆ ช่วงก่อนที่จะมีประจำเดือน หรือเสียวจี๊ด ๆ และหัวนมสีคล้ำขึ้น ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นอาการเตือนคนเริ่มท้องในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก เพราะเกิดจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจนสูงขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมผลิตน้ำนมสำหรับทารก เต้านมจึงเปราะบาง ไวต่อการสัมผัสได้ง่าย และอาการจะค่อย ๆ มากขึ้นตามอายุครรภ์ แต่จะค่อย ๆ หายไปเอง

5. อาการคลื่นไส้ หรืออาการแพ้ท้อง

อาการคลื่นไส้ คืออีกอาการยอดฮิตที่แม่ท้องระยะแรกมักเจอกัน เป็นหนึ่งในอาการแพ้ท้องที่พบบ่อยร้อยละ 50 อาการนี้มักเกิดขึ้นภายใน 1 เดือนหลังจากเริ่มมีการตั้งครรภ์ แต่ในบางรายก็อาจไม่มีอาการดังกล่าว หากมีอาการแพ้ท้องตลอดทั้งวันหรือมีอาการรุนแรงกว่าปกติ ควรไปพบแพทย์

6. ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

ภาวะปัสสาวะบ่อยมักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และไตรมาสที่สามมากกว่าไตรมาสที่สองที่มดลูกเคลื่อนตัวสูงขึ้น สาเหตุที่ทำให้ปัสสาวะบ่อย ก็เพราะว่าทารกกินพื้นที่ในท้อง และเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ แพทย์อาจแนะนําให้ออกกําลังกายกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน เพื่อป้องกันภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

7. ตัวบวม ท้องอืด

อาการเท้าบวมที่เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรก เกิดจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ฮอร์โมนชะลอการย่อยอาหาร และส่งผลให้มีอาการท้องอืดร่วมด้วย

8. หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน

ใครที่อยู่ใกล้ชิดคุณแม่ตั้งครรภ์ช่วงนี้อาจต้องพยายามเข้าใจคุณแม่นิดนึง เพราะ ช่วงนี้คุณแม่จะมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดได้ง่ายกว่าก่อนตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนภายในร่างกายคุณแม่ที่ปรับระดับขึ้น ๆ ลง ๆ ซึ่งจะดีขึ้นภายหลังไตรมาสแรกแล้ว

9. อยากอาหารมากขึ้น

หากใครพอรู้จักกับเพื่อนที่เพิ่งตั้งครรภ์ใหม่ ๆ จะเห็นได้ว่า เพื่อนจะมีอาการ “เห็นอะไรก็อยากกินไปหมด” ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติของสตรีตั้งครรภ์ในช่วง 2 สัปดาห์แรก เป็นสาเหตุมาจากฮอร์โมนในร่างกายปรับตัวเพื่อให้คุณแม่มีสารอาหารสะสมเพื่อลูกมากขึ้น ในช่วงนี้จึงต้องเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อส่งผลต่อสุขภาพ และพัฒนาการทางสมองของลูก

10. เวียนหัว อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ระดับฮอร์โมนโปรเจนเตอโรน และเอสโตรเจนจะค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ ทำให้ร่างกายทำงานหนักมากขึ้น และสูญเสียพลังงานได้ง่าย ส่งผลให้คุณแม่รู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย และเหนื่อยล้า รวมถึงมีอาการวิงเวียนศีรษะหน้ามืด ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ควรระมัดระวัง โดยอาการอ่อนเพลียอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 12 ของการตั้งครรภ์

 

 

เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ ควรเริ่มฝากตั้งแต่เดือนแรก เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยในครรภ์

การฝากครรภ์ คือ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ระหว่างการตั้งครรภ์เพื่อตรวจติดตามประเมินการตั้งครรภ์ และตรวจคัดกรองความผิดปกติ ที่สามารถตรวจพบได้และให้การป้องกันรักษาตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จบครบกำหนดคลอด การฝากครรภ์ที่ถูกต้อง ควรเริ่มฝากตั้งแต่เดือนแรกที่ทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว และมาตรวจตามนัดทุกครั้ง

เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก จะได้รับการบริการฝากครรภ์ ดังนี้

  1. ชั่งน้ำหนัก
  2. วัดส่วนสูง
  3. ตรวจปัสสาวะ
  4. ตรวจกรองความเสี่ยงโรคธาลัสซีเมีย และเบาหวาน
  5. คัดกรองความผิดปกติของหัวนม และลานหัวนม
  6. ตรวจเลือด
  7. การฉีดวัคซีน
  8. การซักประวัติต่าง ๆ
  9. การตรวจร่างกาย

กรดโฟลิก มีบทบาทสำคัญมากสำหรับแม่ตั้งครรภ์

โฟลิกมีบทบาทสำคัญในกระบวนการสร้างหลอดประสาทซึ่งจะพัฒนาไปเป็นระบบประสาท (สมองและไขสันหลัง) ซึ่งจะเกิดขึ้นในช่วง 28 วันแรกหลังจากการปฏิสนธิ และยังช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนที่ใช้ในการสร้างโลหิต ดังนั้นการขาดโฟลิกจะก่อให้เกิดความพิการของทารกจากการสร้างหลอดประสาทไม่สมบูรณ์ได้ รวมทั้งทำให้คุณแม่เกิดภาวะซีดหรือโลหิตจางได้ด้วย

องค์การอนามัยโลก ได้เสนอแนวทางลดความเสี่ยง ความพิการแต่กำเนิดด้วยการส่งเสริมให้รับประทานอาหารที่มีโฟเลต หรือกินวิตามินโฟลิก ดังนี้

  1. ควรได้รับโฟเลต 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน จากการรับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง ซึ่งอยู่ในผักใบเขียว
  2. สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก ควรกินวิตามินโฟลิกขนาด 5 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อช่วยให้การสร้างหลอดประสาทของตัวอ่อนภายใน 28 วันแรกหลังปฎิสนธิอย่างมีประสิทธิภาพ

อ้างอิง : 1. โรงพยาบาลศิครินทร์ 2. healthsmile 3. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 3. synphaet

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save