5 ผื่นโควิด วิธีสังเกต และรักษา พร้อมวิธีใช้ยาแก้แพ้ รักษาผื่น อย่างถูกต้อง

27 มิ.ย. 24
ผื่นโควิด

 

โรคโควิด-19 นอกจากจะมีอาการ ไข้ ไอ เหนื่อยง่าย ตามที่หลายคนทราบกันดีอยู่แล้ว ก็ยังมีอีกอาการหนึ่ง ที่ผู้ป่วยโควิดประสบกัน ก็คือ ผื่นผิวหนัง หรือเรียกกันทั่วไปว่า ผื่นโควิด นั่นเอง วันนี้ GedGoodLife จะพาไปดูว่า ผื่นโควิด มีลักษณะอย่างไร ดูแล รักษา ยังไงได้บ้าง พร้อมวิธีใช้ยาแก้แพ้ รักษาผื่น อย่างถูกต้อง

– ผื่นแพ้หน้ากากอนามัย ดูแลรักษายังไงดี? l Ged Good Life ชีวิตดีดี
– ทำความเข้าใจ ผื่น ทั้ง 6 ประเภท และผื่นแย่แค่ไหนถึงควรพบแพทย์
– ผื่นแพ้สัมผัส สาเหตุ อาการ วิธีรักษา

อัลเลอร์นิค ชนิดเม็ด (Allernix™ tablet) ยาบรรเทาอาการแพ้

ผื่นแบบไหน ที่น่าสงสัยว่าเป็นโควิด-19 ?

รศ.พญ.ภาวิณี ฤกษ์นิมิตร อนุกรรมการประชาสัมพันธ์และงานกิจกรรมงคมสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า

“ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนังในประเทศแถบยุโรป และประเทศเอเชีย จะมีอาการทางผิวหนังแตกต่างกันอยู่บ้าง กล่าวคือ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศแถบเอเชียมักมีอาการ ผื่นลมพิษ ผื่นแดงทั่วตัว หรือผื่นแบบตุ่มน้ำ ซึ่งพบในกลุ่มผู้ป่วยในประเทศแถบยุโรปเช่นกัน

แต่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในประเทศแถบยุโรปจะมีอาการหนึ่งที่ไม่พบผู้ป่วยในประเทศไทย คือมีอาการปลายมือปลายเท้าม่วงคล้ำ (ในทางการแพทย์ รู้จักกันในนาม Covid Toe) อันเนื่องมาจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็น

ทั้งนี้วิธีการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนัง แพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น การให้ยาเสตียรอยด์รักษาอาการตุ่มนูน ตุ่มคัน หรือยาแก้แพ้ รักษาอาการลมพิษ เป็นต้น”

อาการทางผิวหนังที่พบในผู้ป่วยโรคโควิด-19 สามารถแยกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. อาการผื่นผิวหนังจากโรคโควิด-19 – โดยอาการบ่งชี้ก็เช่น ผู้ป่วยเป็นลมพิษ ผื่นแดง ตุ่มน้ำพอง หรือมีแผลแตกบริเวณผิวหนัง

2. อาการผื่นผิวหนังจากการสวมหน้ากาอนามัย หรืออุปกรณ์ป้องกัน PPE – ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ทำให้บางรายเป็นสิว หรือผื่นแดงบริเวณใบหน้า อันเนื่องมาจากการสวมหน้ากากอนามัยเป็นระยะเวลานาน หน้ากากอนามัยไม่สะอาด หรือบางรายเกิดจากการแพ้ส่วนประกอบบางชนิดของหน้ากากอนามัย ขณะที่บางรายมีอาการผื่นแดงตามมือจากการล้างมือบ่อยจนมือแห้ง และระคายเคือง

ผื่นโควิด จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และใช้เวลานานเท่าไหร่ถึงจะหาย?

ผื่นที่เกิดขึ้นระหว่างติดโควิด-19 นั้น ไม่สามารถระบุได้ว่า จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เพราะในบางรายก็เกิดขึ้นเมื่อเริ่มมีอาการเลย แต่ในบางรายก็เกิดขึ้นเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ไปหลายวันแล้ว

ส่วนเรื่องที่ผู้ป่วยโควิดกังวลว่า ผื่นโควิด จะเกิดขึ้นนานแค่ไหน ทาง American Academy of Dermatology ได้ระบุไว้ว่า ผื่นโควิด จะเกิดขึ้น และหายไปได้ภายใน 2 ถึง 12 วัน แต่ส่วนมากจะอยู่ที่ 8 วัน ผื่นก็จะหายไปเอง อย่างไรก็ตาม ผื่นโควิดที่เกิดบริเวณเท้า อาจใช้เวลานานถึง 10 ถึง 14 วัน

วิธีสังเกต 5 ผื่นโควิด

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้เปิดเผยถึง โควิด-19 กับ อาการทางผิวหนัง โดยแนะวิธีสังเกต ผื่นโควิด ไว้ดังนี้

  1. มีผื่นแดงลักษณะคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็ก ๆ
  2. มีจุดเลือดออก
  3. มีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
  4. บางรายอาจมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคสุกใส
  5. เกิดอาการฉับพลัน ร่วมกับอาการมีไข้ ไอ จาม และระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ

ปัจจุบันในหลายประเทศพบ ผู้ป่วยโควิด-19 มีผื่นขึ้นที่เท้า หรือนิ้วเท้า (Covid toe) โดยมีลักษณะเฉพาะเป็นตุ่มหรือ ผื่นแดง ลักษณะคล้ายตาข่าย หรือเส้นใยเล็ก ๆ ขึ้นที่เท้า หรือบริเวณผิวหนังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ หรือแสดงอาการน้อยมาก รวมถึงบางรายอาจมีอาการทางเดินหายใจเกิดขึ้นก่อน หรือหลังจากเกิดผื่นดังกล่าว

หากพบอาการผิดปกติทางผิวหนัง รวมกับอาการไข้ ไอ หรืออาการทางระบบหายใจอื่น ๆ ควรรีบมาพบแพทย์

ผื่นโควิด

ไขข้อข้องใจ “ผื่นหลังวัคซีน”

รศ.พญ.จิตติมา ฐิตวัฒน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผื่นที่เป็นอาการข้างเคียงหลังวัคซีนจะมีลักษณะดังนี้

1.ผื่นเป็นบริเวณที่ฉีด ถ้าฉีดแขนซ้ายแต่ผื่นเป็นแขนขวาก็ไม่เกี่ยวข้องกัน หรือผื่นกระจายทั่วตัว ผื่นมักขึ้นใน 3 วัน ไม่เกิน 7 วัน

2.ไม่เคยเป็นผื่นลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน เช่น เคยเป็นผื่นคันทั่ว ๆ ไปเกือบทุกวัน ฉีดวัคซีนก็เป็นเหมือนเดิม หรือโดนยุงกัดเป็นผื่น ไปโดนยุงกัดอีกหลังฉีดวัคซีนก็เป็นผื่น จึงไม่เกี่ยวกับวัคซีน

3. ผื่นที่พบเป็นอาการข้างเคียงหลังรับวัคซีนที่พบได้ คือ ลมพิษ และผื่นคล้ายออกหัด

4. ลมพิษ ลักษณะเป็นปื้น นูน แดง คัน ผื่นขึ้นตามรอยเกา ผื่นมักหายใน 24 ชม ไม่ทิ้งรอย อาจมีผื่นใหม่ขึ้น ๆ ยุบ ๆ เลื่อนที่ เป็นทั่ว ๆ ทั้งตัว ลมพิษอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ยา อาหาร การติดเชื้อ โรคแพ้ภูมิ หรือไม่มีสาเหตุ

5. ผื่นคล้ายออกหัด เป็นตุ่มสาก ๆ เล็ก ๆ สีแดงกระจายทั่วตัว ผื่นแบบนี้เกิดในไข้ออกผื่นจากเชื้อไวรัส หรือแพ้ยา หรืออื่น ๆ ก็ได้

ผื่นโควิด และผื่นหลังฉีดวัคซีน ดูแลรักษาอย่างไรดี?

การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนัง แพทย์จะรักษาตามอาการ เช่น

1. การให้ยาเสตียรอยด์รักษาอาการตุ่มนูน ตุ่มคัน

2. ให้ ยาแก้แพ้ รักษาอาการผู้ป่วยโควิดที่มีผื่นลมพิษ โดยยาแก้แพ้จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่มที่ 1 ยาต้านฮิสตามีน กลุ่มที่ ทําให้ง่วงซึม
กลุ่มที่ 2 ยาต้านฮิสตามีน กลุ่มที่ ไม่ทําให้ง่วงนอน

ในปัจจุบัน นิยมใช้ยาแก้แพ้ (Antihistamine) กลุ่มที่ไม่ทำให้ง่วงนอน เช่น ยาลอราทาดีน ซึ่งสามารถรักษาอาการแพ้อย่าง ผื่นลมพิษ ผื่นหลังฉีดวัคซีน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่รบกวนเวลาทำงาน หรือกิจกรรมต่าง ๆ เพราะไม่ทำให้ง่วงซึมนั่นเอง

3. ทายาแก้คันภายนอก เช่น คาลาไมน์ (calamine) เป็นยาทาบรรเทาอาการระคายเคืองของผิวหนังในระดับเล็กน้อย เช่น อาการคัน ปวด ไม่สบายผิว ผื่น ผื่นแพ้

4. ปล่อยให้หายไปเองตามธรรมชาติ เช่น อาการผื่นแพ้หลังฉีดวัคซีน ถือเป็นอาการข้างเคียง ไม่คงอยู่ถาวร ผู้ป่วยที่ไม่มียาบรรเทา ก็สามารถปล่อยให้หายเองได้ แต่จะใช้เวลาหลายวัน ถึงเป็นสัปดาห์

การใช้ยาแก้แพ้ แบบไม่ง่วง เพื่อรักษาผื่นโควิด / ผื่นหลังฉีดวัคซีน อย่างถูกต้อง

อย่างที่ทราบกันดีว่า ในช่วงที่โควิดระบาดอยู่ตอนนี้ ยาแก้แพ้ เป็น 1 ในยาสำคัญที่ควรมีติดบ้านไว้ และยังสามารถช่วยบรรเทาอาการผื่นแพ้ หลังฉีดวัคซีนได้อีกด้วย แต่เราก็ต้องรู้จักใช้ให้ถูกวิธี ดังต่อไปนี้

1. หลังฉีดวัคซีนต้องนั่งพักเพื่อรอสังเกตอาการ 30 นาที ณ สถานที่ที่ฉีดวัคซีนแห่งนั้น เนื่องจากหากพบว่ามีอาการข้างเคียง หรืออาการ “แพ้วัคซีน” หรือ “แพ้ส่วนประกอบของวัคซีน” ก็จะได้รับการรักษา / ฉีดยาแก้แพ้ ได้ทันท่วงที

2. ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาง่าย ศ.พญ.กุลกัญญา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคลินิก (SICRES) และอาจารย์สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล แนะนำว่า “ก่อนที่จะไปรับการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 ท่านสามารถกิน ยาแก้แพ้ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน กันไว้ก่อนประมาณ 30 นาที – 1 ชั่วโมง ก็จะสามารถบรรเทาอาการแพ้เล็ก ๆ น้อย ๆ ไปได้” (อ้างอิงข้อมูลโดย กรมสุขภาพจิต)

3. หากมีโรคผิวหนัง ผื่นคัน น้ำมูกไหล เคืองตา ตาแดง จากการติดเชื้อโควิด-19 สามารถรับประทานยาแก้แพ้ได้ เช่น ผื่นลมพิษ ผดผื่นตามตัว เคืองตา ตาแดง น้ำตาไหล น้ำมูกไหลลงคอ คัดจมูก ไอ หอบหืด

4. ผู้ใหญ่และเด็กอายุเกิน 12 ปี กิน 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง หากกินเกินขนาด อาจมีอาการง่วงนอน หัวใจเต้นเร็ว ปวดศีรษะได้

5. ยาแก้แพ้ลอราทาดีน อาจทำให้ง่วงได้บ้างในผู้ใช้ยาบางราย ผู้ขับขี่ยานยนต์ หรือ ทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล หรือทำงานที่เสี่ยงต่อการพลัดตกจากที่สูง ควรทดสอบก่อนว่า กินยานี้แล้วไม่ง่วง และไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์

 

อ้างอิง : 1. medicalnewstoday 2. กรมสุขภาพจิต 1 / 2 3. chulalongkornhospital 4. biogenetech 5. posttoday

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save