“เดลต้า” ยังไม่ทันจะไปไหน โควิดสายพันธุ์ใหม่ ที่คาดว่าดุกว่า อันตรายกว่า มาอีกแล้ว!! โดยโควิด-19 สายพันธุ์ดังกล่าวคือ “แลมบ์ดา (Lambda)” สายพันธุ์นี้ จะร้ายแรงแค่ไหน มีอาการอย่างไร วัคซีนเอาอยู่หรือไม่? Ged Good Life มีคำตอบรออยู่แล้ว มาติดตามกันได้เลย!
– 10 อาหารบำรุงปอด ดีต่อโรคหอบหืด แถมเสริมภูมิต้านโควิด-19 ได้ด้วย!
– โควิด-19 อยู่ส่วนไหนในร่างกายเรามากที่สุด!? I Ged Good Life
– วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ
โควิดสายพันธุ์ใหม่ “แลมบ์ดา” พบครั้งแรกที่ประเทศเปรู และระบาดไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลกแล้ว!
ประเทศเปรู เป็นประเทศแรกที่พบโควิดสายพันธุ์ แลมบ์ดา เมื่อเดือนสิงหาคม ปี2563 และต่อมาในปี 2564 เดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน พบผู้ติดเชื้อโควิดแลมบ์ดา มีสัดส่วนมากถึง 82% ในประเทศเปรู เลยทีเดียว ตามรายงานข่าวจาก Pan American Health Organization (PAHO)
โควิดสายพันธุ์แลมบ์ดา ยังไม่หยุดอยู่แค่ในประเทศเปรู เพราะมันยังได้ระบาดต่อไปในประเทศแถบภูมิภาคละตินอเมริกา ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา และแพร่ระบาดต่อเนื่องกว่า 30 ประเทศทั่วโลกแล้วในขณะนี้ (แต่ส่วนมากยังคงอยู่ในภูมิภาคละตินอเมริกา)
สหราชอาณาจักร ก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่พบเคสผู้ติดเชื้อแลมบ์ดา ส่วนประเทศอื่น ๆ อาทิ อาร์เจนตินา และเอกวาดอร์ รายงานพบผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นของสายพันธุ์ใหม่นี้เช่นกัน
หยุดให้อยู่! องค์การอนามัยโลกจับตา “แลมบ์ดา” โควิดสายพันธุ์ใหม่
องค์การอนามัยโลก World Health Organisation (WHO) เพิ่มแลมบ์ดา โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด (ชื่อรหัสทางวิทยาศาสตร์คือ “C.37”) ลงในรายชื่อ “สายพันธุ์ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest; VOI)” เรียบร้อยแล้ว
รายงานขององค์การอนามัยโลกยังระบุด้วยว่า โควิดแลมบ์ดา มีการกลายพันธุ์ที่อาจเพิ่มความสามารถแพร่เชื้อ หรือทำให้เชื้อไวรัสต่อต้านแอนติบอดีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม… หลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินได้ จำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทำความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
นักวิทย์ฯกังวล โควิดแลมบ์ดา อาจรุนแรงกว่า เดลต้า
ดร.เจฟฟ์ บาร์เรตต์ ผู้อำนวยการโครงการศึกษาจีโนมของเชื้อโรคโควิด-19 แห่งสถาบันเวลคัม แซงเงอร์ (Wellcome Sanger Institute) กล่าวว่า “แลมบ์ดาสามารถหลบเลี่ยง ต้านทานวัคซีนได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับโควิดตัวอื่น ๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตัวเองได้หลายรูปแบบ”
ส่วนศาสตราจารย์ Pablo Tsukayama ภาคชีววิทยาระดับโมเลกุล แห่งมหาวิทยาลัย Cayetano Heredia กล่าวว่า
“แลมบ์ดาสามารถแปลงโครงสร้างตัวเองได้ถึง 7 รูปแบบ และตรงตัวหนาม (Spike) ของแลมบ์ดา สามารถเกาะติดเซลล์โปรตีนในร่างกายมนูษย์ได้ดีกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ”
กล่าวคือสายพันธุ์แลมบ์ดา มีการกลายพันธุ์ที่อาจเพิ่มความสามารถในการแพร่ระบาด หรือต้านทานภูมิคุ้มกันได้แข็งแกร่งขึ้น แต่ข้อมูลหลักฐานที่มีอยู่ในขณะนี้ยังต้องศึกษาเพิ่มเติม
สำหรับเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์กลายพันธุ์ที่ผู้เชี่ยวชาญกังวลกันมากที่สุดในปัจจุบันมีอยู่ 4 สายพันธุ์ คือ
อัลฟ่า (Alpha) – ตรวจพบครั้งแรกในสหราชอาณาจักร
เบต้า (Beta) – ตรวจพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้
แกมม่า (Gamma) – ตรวจพบครั้งแรกในบราซิล
เดลต้า (Delta) – ตรวจพบครั้งแรกในอินเดีย
อาการโควิด-19 สายพันธุ์แลมบ์ดา แตกต่างจากสายพันธุ์อื่น หรือไม่?
อ้างอิงรายงานจาก “NHS – ระบบบริการสุขภาพแห่งชาติในประเทศอังกฤษ” โควิดแลมบ์ดา มีอาการหลัก ๆ เหมือนอาการโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ ดังนี้
- มีอุณหภูมิในร่างกายขึ้นสูง
- มีอาการไอต่อเนื่อง
- สูญเสียการรับรู้กลิ่น และการรับรส
วัคซีนโควิด-19 สามารถหยุดสายพันธุ์ แลมบ์ดา อยู่หรือไม่?
มีงานวิจัยในสหรัฐ ได้ทำการศึกษาพบว่า วัคซีนชนิด mRNA หรือ ไฟเซอร์ (Pfizer) / โมเดอร์นา (Moderna) มีประสิทธิภาพที่ดีพอสามารถต้านเชื้อแลมบ์ดา ได้
อย่างไรก็ตาม แม้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ก็ยังจำเป็นต้องป้องกันตนเองอย่างเคร่งครัดเช่นเดิม ด้วยการสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ หมั่นล้างมือให้สะอาด ไม่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่มีไข้หวัด และไม่ไปข้างนอกในสถานที่แออัด เป็นต้น
แลมบ์ดา เข้าประเทศไทยแล้วหรือยัง?
ถือเป็นข่าวดีที่ว่าในปัจจุบัน สายพันธุ์แลมบ์ดา ยังไม่มีรายงานว่าพบในประเทศไทย แต่ก็ต้องระมัดระวังให้ดี เพราะ สายพันธุ์เดลต้า ก็ยังสามารถเข้ามาในประเทศไทยได้ และกำลังเป็นที่ระบาดในประเทศไทยอยู่ ณ ขณะนี้
สายด่วนโควิด 1422
อ้างอิง :
1. euronews 2. ft.com 3. dailyexpress 4. news-medical
ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้ ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่
ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…
Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter : @gedgoodlife
Line : @gedgoodlife
Youtube : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok : @gedgoodlife