วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา ต่างกันยังไง ยี่ห้อไหนผลข้างเคียงน้อยกว่า ?

28 มิ.ย. 24

วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา

 

รู้ชัด รู้จริง บอกต่อได้ชัวร์! ศ.นพ. ยง ภู่วรวรรณ และ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผยประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงของ วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา แตกต่างกันยังไง ยี่ห้อไหนมีผลข้างเคียงน้อยกว่ากัน?… อยากรู้ให้ชัวร์ ห้ามพลาด มาติดตามกันได้เลย!

วัคซีน “ซิโนแวค-แอสตราเซเนกา” ให้ผลแตกต่างกันไหม?

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รายงานผลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในคนไทย สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมากทั้ง “ซิโนแวค” และ “แอสตราเซเนกา”

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยผลการศึกษาประสิทธิผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของ “วัคซีนโรคโควิด-19” ทั้งสองชนิดที่ฉีดในคนไทย ของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า

“ทั้งวัคซีนของซิโนแวค และวัคซีนของแอสตราเซเนกา สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง

โดย 97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราซิเนกา เข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ และ 99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวค สองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้”


ประสิทธิภาพของ วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา

วัคซีนซิโนแวค (SINOVAC)

วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา

– ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)
– หลังฉีดเข็มแรก 3 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 65.96% (124 ใน 188 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 1.9 unit/ml
– หลังฉีดเข็มที่สอง 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 99.49% (196 ใน 197 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 85.9 unit/ml

ดังนั้น วัคซีนซิโนแวค สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก โดยเริ่มสร้างแอนติบอดีหลังฉีดเข็มแรก (ระดับยังต่ำ) และเพิ่มมากขึ้นหลังฉีดครบสองเข็ม ซึ่ง 99.49% ของผู้ที่ฉีดครบสองเข็มแล้วสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูงมาก

 

วัคซีนแอสตราซิเนกา (AstraZeneca)

1. ก่อนฉีดวัคซีน 0% (ทุกรายตรวจไม่พบแอนติบอดีต่อเชื้อ)

2. หลังฉีดเข็มแรก 4 สัปดาห์ ตรวจพบแอนติบอดี 97.26% (71 ใน 73 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 47.5 unit/ml

3. ยังไม่มีผลการตรวจหลังฉีดเข็มที่สอง เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดเวลาฉีดเข็มที่สอง

เมื่อวิเคราะห์ตามกลุ่มอายุ และตามเพศของผู้ฉีด วัคซีนแอสตราซิเนกา โดยละเอียดแล้ว พบว่าผู้ที่ได้รับ วัคซีนแอสตราซิเนกา เข็มแรก เป็นเวลา 4 สัปดาห์นั้น

1. เพศชาย ตรวจพบแอนติบอดี 93.55% (29 ใน 31 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 32.9 unit/ml

2. เพศหญิง ตรวจพบแอนติบอดี 100% (42 ใน 42 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 62.3 unit/ml

3. กลุ่มอายุ 18-59 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 100% (44 ใน 44 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 67.2 unit/ml

4. กลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี ตรวจพบแอนติบอดี 93.11 % (27 ใน 29 ราย) และมีปริมาณเฉลี่ย 28.1 unit/ml

 

จึงสรุปได้ว่า วัคซีนทั้งสองชนิดสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง


วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา ตัวไหนผลข้างเคียงน้อยกว่ากัน ?

ด้าน นพ. ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึง ผลข้างเคียงของ วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา ไว้ดังต่อไปนี้…

“ในช่วงต้นการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น ซิโนแวค และในผู้สูงอายุจะใช้ แอสตราเซเนกา ปัญหาอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะไม่ค่อยพบมาก

ขณะนี้การใช้วัคซีนจะเป็น แอสตราเซเนกา เป็นหลัก และจะต้องมีการใช้ต่อไปอีกเป็นจำนวนมาก ซิโนแวค จะเป็นตัวเสริม จากการศึกษาของศูนย์ฯที่ได้ฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิดในทุกอายุตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป อยากจะบอกว่า วัคซีนซิโนแวค มีอาการข้างเคียงน้อยกว่าแอสตราเซเนกา

โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด เมื่อยเนื้อ-เมื่อยตัว เหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ ขนาดการศึกษานี้ผู้ป่วยฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา เราแจกพาราเซตามอลกลับบ้านด้วยซ้ำ

อาการที่เกิดขึ้นจากวัคซีนแอสตราเซเนกา จะพบว่าอายุน้อยมากกว่าผู้สูงอายุ และผู้หญิงจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย ซึ่งเมื่อดูอาการข้างเคียงเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ฉีดในต่างประเทศโดยเฉพาะวัคซีนในกลุ่ม mRNA แล้วไม่ต่างกันเลย ส่วนวัคซีนซิโนแวค อาการข้างเคียงดังกล่าวน้อยกว่ามาก

ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา ถ้า มีไข้ หรือปวดศีรษะ ท้องเสีย อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นอาการที่พบได้ หลังการฉีดวัคซีน

ดังนั้น หลังฉีดเมื่อกลับไปถึงบ้านถ้ามีอาการดังกล่าว รับประทาน ยาพาราเซตามอล ได้เลย ไม่ต้องรอให้ไข้ขึ้นสูง หรือปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และสามารถทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายเป็นปกติ

นอกจากว่ามีอาการมาก เช่น ไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์

ถ้าทุกคนเข้าใจจะได้ไม่เกิดวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนในกลุ่ม Virus Vector (แอสตราเซเนกา) หรือ mRNA (ไซเฟอร์, โมเดอร์นา) วัคซีนจะมีอาการข้างเคียงได้มากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย (ซิโนแวค, ซิโนฟาร์ม) ตามหลักฐานเชิงประจักษ์”

ภาพแสดงสถิติ ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน “ซิโนแวค” เข็มแรก ภายใน 7 วัน 

วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา

 

ภาพแสดงสถิติ ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีน “แอสตราเซเนกา” เข็มแรก ภายใน 7 วัน 

วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา

Ged Good Life สรุปให้

1. ทั้งวัคซีนของซิโนแวค และวัคซีนของแอสตราเซเนกา สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีมาก
ผู้ได้รับวัคซีนเกือบทุกรายสามารถสร้างแอนติบอดีในระดับสูง โดย 97.26% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนแอสตราซิเนกาเข็มแรกแล้ว 4 สัปดาห์ และ 99.49% ของผู้ที่ฉีดวัคซีนซิโนแวคสองเข็มแล้ว 4 สัปดาห์ สามารถสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

2. วัคซีนซิโนแวค มีอาการข้างเคียงน้อยกว่าแอสตราเซเนกา
โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด เมื่อยเนื้อ-เมื่อยตัว เหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ จะมีน้อยกว่าแอสตราเซเนกาชัดเจน

3. หลังฉีดวัคซีน ถ้ามีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ควรเข้าปรึกษาแพทย์


อ้างอิง:
1. www.mhesi.go.th 2. นพ.ยง ภู่วรวรรณ

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

decolgen ดีคอลเจน

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : GEDGoodLife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : GEDGoodLife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save