แพทย์เผย! โควิด Omicron ในเด็ก รุนแรงกว่าในผู้ใหญ่ พร้อมชี้ ‘อาการ’ และ ‘วิธีป้องกัน’

3 ก.ค. 24

 

ผู้ปกครองต้องระวัง! หลังแพทย์ไทย และต่างประเทศ ลงความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ‘Omicron’ สามารถสร้างความรุนแรงต่อเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ได้รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และในปัจจุบัน โอมิครอนก็ได้แพร่ระบาดไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยแล้วด้วย! Omicron ในเด็ก จะรุนแรงกว่าอย่างไร และมีอาการ วิธีป้องกันอย่างไรบ้าง มาติดตามกัน

decolgen ดีคอลเจน

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thira Woratanarat” วันที่ 14 ธันวาคม 2564 มีเนื้อหาดังนี้

จากข้อมูลเบื้องต้น ของแอฟริกาใต้ Omicron ดูจะมีอัตราการทำให้ป่วยจนต้องนอนโรงพยาบาลน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า ทั้งสายพันธุ์ G, เบต้า และเดลต้า ในประชากรวัยผู้ใหญ่

แต่… ข่าวร้ายคือ Omicron กลับทำให้ประชากรวัยเด็ก ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี มีอัตราการป่วยจนต้องรักษาในโรงพยาบาลสูงกว่าทั้งสายพันธุ์ G, เบต้า และเดลต้า โดยเฉลี่ยแล้ว Omicron มีความรุนแรงดูลดลงกว่าสายพันธุ์ G 29% ในผู้ใหญ่ แต่ความรุนแรงมากขึ้นกว่าสายพันธุ์ G 20% ในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี

อย่างไรก็ตาม ขอเน้นย้ำว่านี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นจากแอฟริกาใต้ ยังจำเป็นจะต้องรอดูข้อมูลศึกษาจากประเทศอื่น ๆ อย่างครอบคลุม ก่อนจะสรุปเรื่องความรุนแรงของ Omicron ทั้งการป่วย และการตาย

ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นนี้ก็ยังมีประโยชน์สำหรับไทยเรา ที่ต้องช่วยกันปกป้องเด็ก และเยาวชน ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เนื่องจากมีเด็กจำนวนมากที่ยังอยู่ในช่วงวัยที่ไม่ได้วัคซีน และบางช่วงวัยที่ได้วัคซีนไปบ้าง แต่ยังไม่ครบถ้วน

สำหรับผู้ใหญ่ ไม่ควรประมาทเช่นกัน เพราะแต่ละประเทศมีปัจจัยที่มีความแตกต่างกัน ทั้งชนิดของวัคซีนที่ใช้ สูตร เงื่อนเวลาที่ได้รับการฉีดไป การกระจายของกลุ่มประชากรแต่ละช่วงวัยที่ได้วัคซีนช้าเร็วแตกต่างกัน รวมถึงอัตราการติดเชื้อในอดีตในประชากร ล้วนจะมีผลต่อความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโอไมครอนที่แตกต่างกันได้ สำคัญคือ โอไมครอนนั้นพบว่าสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้มากกว่าสายพันธุ์อื่นถึง 2.4 เท่า


อาการ Omicron ในเด็ก

ระบบสาธารณสุขประจำประเทศอังกฤษ (National Health Service: NHS) ระบุอาการหลักของโควิดในเด็กและผู้ใหญ่ ดังนี้

  • อุณหภูมิสูง
  • การไอมากเกิน 1 ชั่วโมง หรือไอ 3 ครั้งขึ้นไป ใน 24 ชั่วโมง
  • สูญเสียหรือเปลี่ยนประสาทสัมผัสในการ รับกลิ่นหรือรส
  • เมื่อยล้า
  • คัดจมูก น้ำมูกไหล
  • ปวดหัว
  • เจ็บคอ
  • เบื่ออาหาร
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย

ด้าน ดร.เดวิด ลอยด์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของลอนดอนให้สัมภาษณ์ว่า เด็กทั้งหมดที่เขาได้รับการรักษานั้นยืนยันว่า

าการของไวรัสโควิดแตกต่างกับโอไมครอนประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์ โดยเด็กที่ติดโอไม่ครอนจะมีอาการผื่นขึ้นอย่างผิดปกติ อีกทั้งยังประสบกับความเหนื่อยล้า ปวดหัว และเบื่ออาหาร ซึ่งคล้ายกับอาการต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ด้วยนั่นเอง

“เราเคยมีผู้ป่วยกลุ่มเล็ก ๆ ที่ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ซึ่งมีอาการผื่นขึ้นเล็กน้อย แต่เด็กที่ติดโอไมครอนถึง 15 เปอร์เซ็นต์มีอาการผื่นขึ้นอย่างผิดปกติ พวกเขายังประสบกับความเหนื่อยล้า ปวดหัว และเบื่ออาหาร ซึ่งคล้ายกับอาการต่าง ๆ ที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ใหญ่”


การเตรียมรับมือกับ Omicron

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า

“การเตรียมรับมือกับ โอมิครอน จะต้องให้ทุกคนมีภูมิต้านทานต่อไวรัสโควิด ดังนั้นจะต้องให้วัคซีนอย่างน้อย 2 เข็มให้กับประชากรหมู่มากให้ได้เร็วที่สุด และใครที่ได้รับ ครบ 2 เข็ม มาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ควรได้รับการกระตุ้น ด้วยวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อให้ภูมิต้านทานสูงขึ้น รองรับสายพันธุ์ โอมิครอน ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ขณะนี้และต่อไป วัคซีนในประเทศไทยมีจำนวนมากเพียงพอ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการที่ให้กับประชากรในกลุ่มที่ควรจะได้รับวัคซีนทุกคน และเพียงพอในการกระตุ้นเข็มที่ 3

ส่วนประชากรกลุ่มเด็ก กำลังรอวัคซีน ที่ให้องค์การอาหารและยา อนุมัติให้เร็วที่สุด เพื่อจะให้ได้ครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ”


การป้องกัน Omicron ในเด็ก

Omicron ในเด็ก

สำหรับเด็กเล็ก การป้องกันตนเองจากโควิดโอมิครอน ผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่ควรปลูกฝังลูกให้รู้จักวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง และจำเป็นต้องเคร่งครัดในกฏต่าง ๆ เหมือนที่เคยทำกันมา ดังนี้

1. สวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐาน – หน้ากากต้องแนบสนิทกับใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณดั้งจมูก

2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก – พฤติกรรมวัยซนของเด็กน้อย ที่ชอบเอามือมาลูบหน้า ขยี้ตา แคะจมูก เสี่ยงทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายยิ่งขึ้น

3. หมั่นล้างมือบ่อย ๆ – ด้วยน้ำสบู่ หรือให้เด็กพกแอลกอฮอล์เจล หรือสเปรย์ ติดตัวไว้เสมอ

4. รักษาระยะห่างกับคนอื่น – เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1.5 เมตร งดเล่นกับเพื่อนในระยะประชิดไปก่อน

5. หลีกเลี่ยงสถานที่อากาศไม่ถ่ายเท – ผู้ปกครองไม่พาเด็กไปในสถานที่แออัด หรือสถานที่เสี่ยงติดโควิด-19

6. ระมัดระวัง และสังเกตอาการอยู่เสมอ – หากลูกมีอาการไอ มีไข้หวัด ให้พาไปพบแพทย์ หรือสังเกตอาการอยู่เสมอ


อ้างอิง : 1. Thira Woratanarat 2. khaosod

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่

ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่…

Facebook : gedgoodlife
Nutroplex : nutroplexclub
Twitter      : @gedgoodlife
Line          : @gedgoodlife
Youtube   : gedgoodlife ชีวิตดีดี
TikTok      : @gedgoodlife

คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้อง

บทความที่เกี่ยวข้อง

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save