gedgoodlife

วิธีลดอาการไอหลังหายจากโควิด-19

  ยังคงมีอาการไอหลังจากหายโควิด อยู่ใช่ไหม? อาการไอหลังหายโควิดนี้ เป็นหนึ่งในอาการของภาวะ Long Covid  ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโควิด-19 และมักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจส่วนบน ในวันนี้ GED good life จะพาไปไขข้อสงสัยที่ว่า “ทำไมเราถึงยังไอ ทั้งที่หายจากโควิดไปแล้ว?” รวมถึง “วิธีลดอาการไอหลังหายจากโควิด-19” ไปพร้อม ๆ กันเลย หากคุณเป็นหนึ่งในผู้กำลังเผชิญกับอาการไอหลังโควิดอยู่ ต้องไม่พลาด! ยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน” สรรพคุณ วิธีใช้ให้ถูกต้อง ปลอดภัย ยาแก้ไอเด็ก ควรเลือกอย่างไร ให้ถูกต้อง และปลอดภัยต่อลูกรัก? 6 อาหารช่วยลดเสมหะเหนียวข้น บรรเทาไอ ที่แพทย์แนะนำ! โรคโควิดทำให้เกิดอาการไอ ได้อย่างไร? สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการไอเมื่อติดเชื้อโควิด-19 ก็เพราะว่า ไวรัสส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจของเราโดยตรง ตั้งแต่โพรงจมูกไปจนถึงปอด การไอเมื่อติดโควิด จึงเป็นวิธีหนึ่งของร่างกายในการกำจัดสิ่งระคายเคืองที่ไม่พึงประสงค์ เช่น ไวรัส ฝุ่น และเสมหะ เมื่อตรวจพบ “สิ่งแปลกปลอม” ในทางเดินหายใจ ร่างกายจะถูกกระตุ้นให้เกิดอาการไอ ซึ่งจะช่วยขจัดสิ่งระคายเคืองเหล่านั้นออกไป อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ติดโควิด-19 อยู่ ไม่ควรไอโดยไม่ปิดปาก หรือไม่สวมหน้ากากอนามัย เพราะ การไอออกไปโดยไม่ป้องกัน วิธีลดอาการไอหลังหายจากโควิด-19

คนอ้วนท้อง แม่และทารกเสี่ยงอันตรายอะไรบ้าง? และข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์

  คุณแม่ตั้งครรภ์รู้หรือไม่ว่า การที่มีน้ำหนักตัวมาก หรืออ้วนมากไปขณะตั้งครรภ์ (overweight during pregnancy) ไม่ได้ช่วยให้ทารกแข็งแรงขึ้นแต่อย่างใด และยังเป็นปัจจัยชักนำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อย่างรุนแรงถึงขั้นแท้งบุตรได้เลยทีเดียว! ฉะนั้น มาดูกันว่า คนอ้วนท้อง จะเสี่ยงเป็นโรค หรือภาวะแทรกซ้อนอะไรได้บ้าง? แค่ไหนเรียกว่าน้ำหนักเกิน? พร้อมข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์ กรดโฟลิก ช่วยเซฟชีวิตทารก วิตามินสำคัญแม่ตั้งครรภ์ต้องกิน อย. แนะนำ น้ำอุ่นช่วยลดอ้วนได้ ร่างกายเผาผลาญดีขึ้น! พร้อม 9 ประโยชน์ดี ๆ จากน้ำอุ่น 9 ผลไม้น้ำตาลน้อย ดีต่อสุขภาพ ห่างไกลเบาหวาน และความอ้วน สาเหตุ และปัจจัยของการเกิดภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ ภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ หมายถึง การมีน้ำหนักมากเกินไปขณะตั้งครรภ์ ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ตั้งครรภ์ และสุขภาพของเด็กที่กำลังอยู่ในท้อง ภาวะน้ำหนักเกินขณะตั้งครรภ์ (pregnancy-related obesity) สามารถเกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้ ปริมาณอาหารที่รับเข้ามามากกว่าปริมาณการเผาผลาญ และการเคลื่อนไหว พฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่สมดุล เช่น การทานอาหารหวาน หรือการทานอาหารหมัก หรือการทานอาหารระหว่างวันมากเกินไป การพักผ่อนน้อย คนอ้วนท้อง แม่และทารกเสี่ยงอันตรายอะไรบ้าง? และข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์

มีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า! 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว

ฤดูหนาวเป็นอากาศที่เต็มไปด้วยความชื้น ซึ่งทำให้เกิดอาการระคายเคือง คันจมูก หรือคันคอได้ ทั้งนี้ควรมีการป้องกันอาการทางเดินหายใจ โดยใส่เสื้อผ้าให้อบอุ่น นอกจากนี้ควรมียาบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่มักเกิดขึ้นในหน้าหนาว มาดูกันว่า 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว มีอะไรบ้าง… อากาศเปลี่ยน ใช้ยาให้ถูกโรค ดูแลสุขภาพให้ดี ห่างไกลหวัดและภูมิแพ้ ยาสามัญประจำบ้าน คืออะไร และควรมียาอะไรบ้างนะ? เที่ยวอุ่นใจไม่กลัวป่วย! ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก มีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า! 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว 1. ยาแก้หวัดสูตรผสม ยาที่เป็นสูตรผสมที่มีฤทธิ์ลดไข้ และแก้แพ้ลดน้ำมูกและคัดจมูกร่วมด้วย เช่น ยาสูตรพาราเซตามอล (Paracetamol) 500 มก.และยาคลอร์เฟนิรามีน มาลีเอต (Chlorpheniramine Maleate) 2 มก. เช่น ดีคอลเจน สามารถทำให้บรรเทาอาการต่างๆได้ดี มีสรรพคุณครบ 2. ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูกที่ควรมีติดบ้าน  ควรเลือก “ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง“ ออกฤทธิ์ยาวเช่นยาลอราทาดีน (อัลเลอร์นิค) โดยยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วงจะออกฤทธิ์จับกับตัวรับฮีสตามีนชนิดเอช-1 ได้น้อย ทำให้ไม่เกิดการง่วงซึมหรือมีผลต่อระบบประสาท นอกจากจะสามารถลดน้ำมูกได้แล้ว จะช่วยบรรเทาอาการผื่นคันได้ จึงนำมาใช้รักษาผื่นลมพิษได้ โดยยาแก้แพ้ ลดน้ำมูกที่ควรมีติดบ้าน มีติดบ้านไว้อุ่นใจกว่า! 4 ยารักษาโรคในหน้าหนาว

เทคนิคดูแลสุขภาพแบบฉบับคนไม่มีเวลา ในยุค New Normal

  ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้มนุษย์มีวิธีดูแลสุขภาพที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ที่ผู้คนต่างต้องเร่งรีบ มีเวลาจำกัดในการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย รวมถึงการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งในวันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จัก วิธีปฏิบัติตัว สูตรอาหารเสริมวิตามิน ที่เป็นประโยชน์ เพื่อบำรุงดูแลสุขภาพที่ทำได้ง่ายแบบใคร ๆ ก็ทำได้ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ไม่ให้เจ็บป่วยบ่อย ลดโอกาสการติดเชื้อโควิด รวมถึงหากมีการติดเชื้อ พื้นฐานสุขภาพที่เราทำสั่งสมไว้เหล่านี้ ก็จะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวจากอาการเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว ป้องกันอาการลองโควิดได้ด้วย เทคนิคดูแลสุขภาพแบบฉบับคนไม่มีเวลา ในยุค New Normal 1. ลดมื้ออาหาร วิธีการดูแลสุขภาพที่แสนประหยัด และทำได้ทุกคน วิธีการแรกที่ต้องขอบอกเลยว่าเข้ากับเศรษฐกิจในยุคปัจจุบันอย่างมาก นั่นก็คือ วิธีการทำ IF หรือที่ย่อมาจากคำว่า Intermittent Fasting ซึ่งเป็นการอดอาหารเป็นช่วง ๆ โดยทิ้งระยะห่างจากอาหารมื้อสุดท้ายของวัน จนถึง อาหารมื้อแรกของวันถัดไป ไม่น้อยกว่า 12 / 14/  16 หรือ 18 ชั่วโมง ซึ่งประโยชน์ของการทำ IF ที่ว่านี้ ไม่ได้มีเฉพาะการช่วยในการลดน้ำหนัก และการเผาผลาญไขมันส่วนเกินออกจากร่างกายได้เท่านั้น เทคนิคดูแลสุขภาพแบบฉบับคนไม่มีเวลา ในยุค New Normal

ภาวะ MIS-C (มิสซี) อาการหลังหายจากโควิดในเด็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

  ภาวะ MIS-C (มิสซี) เป็นคำเรียกที่ย่อมาจากชื่อ Multisystem Inflammatory Syndrome in Children หมายถึงกลุ่มอาการอักเสบหลายระบบ ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด-19  โดยทั่วไปจะเริ่มแสดงอาการได้ตั้งแต่ระยะหายจากโรคจนถึงหลังติดเชื้อ 2 – 6 สัปดาห์ เป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพในยุค New Normal ที่พ่อแม่หลาย ๆ ท่านไม่ควรมองข้าม ยิ่งเมื่อมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดเริ่มผ่อนปรนลง สถานศึกษา และสถานที่ต่าง ๆ เริ่มกลับมาเปิดให้บริการอย่างเป็นปกติ แต่จำนวนการติดเชื้อเพิ่มก็ยังไม่อาจวางใจได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มเด็กเล็กที่ ถือเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดการติดเชื้อที่รุนแรงและเมื่อหายแล้วก็อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาดังเช่น ภาวะ MIS-C (มิสซี) ที่เราจะได้กล่าวถึงในบทความนี้ ภาวะ MIS-C (มิสซี) มีที่มาอย่างไร จากข้อมูลของกรมการแพทย์ พบว่าเริ่มมีการรายงาน เกี่ยวกับกลุ่มอาการ MIS-C (มิสซี) ครั้งแรกในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 ที่ประเทศอังกฤษ โดยส่วนใหญ่มักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง  โดยอายุโดยเฉลี่ยที่พบมากที่สุดอยู่ระหว่างอายุ 8-10 ปี ซึ่งในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดของภาวะMIS-C อย่างแน่ชัด มีเพียงข้อสันนิษฐานว่าภาวะ ภาวะ MIS-C (มิสซี) อาการหลังหายจากโควิดในเด็ก ที่ไม่ควรมองข้าม

7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อยากมีลูกต้องรู้ไว้!

การวางแผนมีลูก นับเป็นเรื่องใหญ่เรื่องหนึ่งในชีวิตที่ต้องรอบคอบและใส่ใจเป็นพิเศษ ฉะนั้นมาเรียนรู้การวางแผนมีลูกอย่างถูกต้องกันด้วย “7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์” เพราะหากวางแผนดี ลูกก็ออกมามีสุขภาพแข็งแรง ร่าเริง อย่างแน่นอน กรดโฟลิก กับ โฟเลต ต่างกันไหม? ทำไมคนท้องต้องกิน อาหารสำหรับคน อยากมีลูก มีลูกยาก ควรกินอะไรเสริมดี ? เช็กอาการคนท้อง อาการแบบไหนที่บอกว่า กำลังตั้งครรภ์? 7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ 1. ปรึกษาสูตินรีแพทย์ก่อนมีบุตร เพื่อให้แพทย์ช่วยประเมินปัจจัยเสี่ยงที่อาจส่งผลเสียต่อการตั้งครรภ์ ประเมินความเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก และเพื่อรับฟังข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ให้เตรียมพร้อมก่อนการมีบุตร โดยคุณหมออาจซักประวัติต่าง ๆ ตรวจร่างกาย ตรวจเต้านม และตรวจภายในของฝ่ายหญิง เพื่อดูปัจจัยเสี่ยงข้างต้น สำหรับประวัติที่ควรเตรียมพร้อมเมื่อมาพบแพทย์ ได้แก่ ประวัติโรคทางพันธุกรรมในครอบครัว ประวัติโรคประจำตัวของฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ประวัติการตั้งครรภ์ในครั้งก่อน ๆ ประวัติประจำเดือนของฝ่ายหญิง ประวัติยาที่ใช้ เป็นต้น 2. ให้รับประทานโฟลิกอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนตั้งครรภ์ วิตามินโฟลิก (Folic acid) เป็นวิตามินบี 7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อยากมีลูกต้องรู้ไว้!

วิธีฟื้นฟูร่างกายหลังหายป่วยโควิด ด้วยการฝึกหายใจ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

  สำหรับใครที่เพิ่งหายป่วยจากโควิด-19 มา ร่างกายอาจจะยังไม่แข็งแรงเต็มที่ หรืออาจจะต้องเผชิญกับภาวะ LONG-COVID ต่อ ฉะนั้น การดูแลร่างกายให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้งจึงเป็นเรื่องสำคัญ วันนี้ GED good life จึงได้รวบรวม “วิธีฟื้นฟูร่างกายหลังหายป่วยโควิด” มาให้นำไปปฏิบัติกัน โดยเฉพาะการดูแลปอดให้แข็งแรง มาดูกันเลยว่าจะมีอะไรบ้าง… วิธีฟื้นฟูร่างกายหลังหายป่วยโควิด รู้หรือไม่ หลังหายจากโควิด-19 แล้ว อวัยวะสำคัญนอกจากปอดที่ได้รับผลกระทบโดยตรงนั้น ระบบของร่างกายอื่น ๆ ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จึงควรมีโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกาย โดยเฉพาะการหายใจอย่างถูกต้องเพื่อฟื้นฟูปอดให้กลับมาแข็งแรงอีกครั้ง รวมถึง การออกกำลังกายอย่างมีขั้นมีตอน ตามคำแนะนำต่อไปนี้… • ฟื้นฟูปอดหลังหายโควิด ด้วย 4 ท่าหายใจ การออกกำลังกายโดยการฝึกหายใจ (Breathing Exercise) สามารถทำได้ด้วยตนเองเพียงไม่กี่ขั้นตอน จะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อกระบังลม และปอด ส่งผลให้การทำงานของปอดดีขึ้น และยังช่วยขับเสมหะที่คั่งค้างอยู่ในปอดได้อีกด้วย ด้วย 4 ท่าหายใจแบบง่าย ๆ ตามภาพตัวอย่างข้างล่างนี้ ท่าที่ 1. หายใจแบบใช้กล้ามเนื้อกระบังลม วิธีทำ หายใจเข้าท้องป่อง มือที่หน้าท้องถูกดันออก ท่าที่ วิธีฟื้นฟูร่างกายหลังหายป่วยโควิด ด้วยการฝึกหายใจ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ยาและของใช้จำเป็น ที่ควรมีติดบ้านในช่วงโควิด-19

  แม้สถานการณ์โควิดจะเริ่มดีขึ้นบ้างแล้วในปัจจุบันนี้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะประมาทกันได้ ยังคงต้องป้องกันตัวเองด้วยการสวมหน้ากากอนามัย หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ และเพื่อรักษาโรคโควิดอย่างทันท่วงทีด้วยระบบ Home Isolation ทุกบ้านก็ควรมี ยาและของใช้จำเป็น ติดบ้านไว้ มาเช็กกันเลยว่าควรเตรียมพร้อมอะไรบ้าง… ยาและของใช้จำเป็น ที่ควรมีติดบ้านในช่วงโควิด-19 • กลุ่มยารักษาอาการจากโรคโควิด-19 1. ยาแก้ปวด ลดไข้ “ยาพาราเซตามอล” เป็นยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด และลดไข้ได้ นิยมใช้ในการรักษาอาการปวดระดับไม่รุนแรง อย่างเช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดตามข้อ เป็นต้น โดยยาชนิดนี้จัดเป็น 1 ในรายการยาสามัญประจำบ้าน เพราะสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาของแพทย์ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยมีวิธีการรับประทานคือ กินครั้งละ 1-2 เม็ด ระยะเวลาห่างกันอย่างน้อยครั้งละ 4 ชั่วโมง และไม่ควรกินเกินวันละ 4,000 มิลลิกรัมหรือ 8 เม็ดต่อวัน 2. ยาแก้ไอละลายเสมหะ เมื่อมีอาการไอมีเสมหะ ผู้ป่วยควรเลือกใช้ยาบรรเทาอาการไอละลายเสมหะ (Mucolytic) จึงจะตรงกับอาการมากที่สุด ยาแก้ไอละลายเสมหะมีทั้งรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ สามารถเลือกใช้ได้ทั้ง 2 รูปแบบตามความชอบ ยาชนิดนี้จะทำให้เสมหะใสขึ้น ยาและของใช้จำเป็น ที่ควรมีติดบ้านในช่วงโควิด-19

ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง?

  เพราะสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังมีการแพร่กระจายอย่างต่อเนื่อง คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาวิธีรับมือหากเด็กติดโควิดขึ้นมา จะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่อง ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ต้องรู้ จะมีอะไรบ้าง มาติดตามกันเลย! 6 ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก 1. ยาแก้ไอละลายเสมหะ (Mucolytics) หากลูกมีอาการไอมีเสมหะ ควรให้ยาแก้ไอประเภทละลายเสมหะ เพื่อให้ตรงกับอาการไอของลูกน้อย และควรเลือก ยาแก้ไอแบบน้ำ จะเหมาะสำหรับเด็กที่สุด เนื่องจากมีรสชาติที่ดี และรับประทานได้ง่ายเหมือนกับน้ำหวานทั่วไป ตัวยาที่นิยมใช้เพื่อแก้ไอละลายเสมหะในเด็ก คือ “คาร์โบชีสเทอีน – Carbocisteine” ปริมาณ 200 มิลลิกรัม โดยมีวิธีรับประทาน ดังนี้ เด็กอายุ 2 – 5 ปี รับประทาน ½ ช้อนชา 3 ครั้ง/วัน เด็กอายุ 5 – 12 ปี รับประทาน 1 ช้อนชา 3 ครั้ง/วัน อ่านเพิ่มเติม -> ยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน” – สรรพคุณ และวิธีใช้ให้ถูกต้อง 2. ยาแก้อาเจียน ยารักษาโควิดสำหรับเด็ก มีอะไรบ้าง?

5 กลุ่มอาการ Long COVID ที่พบมาก แก้ได้ไม่ยากด้วยยา และการรับประทานอาหาร

  สภาวะหลังโควิด-19 หรือ อาการลองโควิด คือ ปัญหาสุขภาพใหม่ ที่โลกเพิ่งได้รู้จักหลังจากมีการค้นพบการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แม้ว่าคนส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อโควิด-19 จะมีอาการดีขึ้นภายในสองถึงสามสัปดาห์หลังการติดเชื้อ แต่จากรายงานที่มีการเก็บสถิติอย่างต่อเนื่องพบว่า คนจำนวนมากพบว่ามีอาการผิดปกติบางอย่างเกิดขึ้นในร่างกาย และดำรงอยู่ในร่างกายได้ยาวนานถึงหลาย ๆ สัปดาห์จนถึงหลายเดือน (ประมาณ 4 ถึงมากกว่า12 สัปดาห์ขึ้นไป) หลังจากที่หายจากโรคโควิด-19 ซึ่งในทางการแพทย์เรียกอาการหลังติดเชื้อนี้ว่า กลุ่มอาการ Long COVID ลองโควิด นั่นเอง วิธีรักษาดูแลตัวเอง จากอาการ Long Covid ที่คนเคยติดโควิดต้องรู้! 4 ท่าหายใจ ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สู้โควิด-19 ! ติดเชื้อโควิด โอไมครอน กี่วันหาย? แพร่เชื้อได้กี่วัน? ควรกักตัวนานเท่าไหร่? และข้อสงสัยอื่น ๆ ที่ควรรู้! โดยจากข้อมูลที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ CDC ชี้ให้เห็นถึง 5 กลุ่มอาการ Long COVID ลองโควิด ที่มักพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่หายจากการติดเชื้อโควิด 5 กลุ่มอาการ Long COVID ที่พบมาก แก้ได้ไม่ยากด้วยยา และการรับประทานอาหาร

ติดเชื้อโควิด โอไมครอน กี่วันหาย? แพร่เชื้อได้กี่วัน? ควรกักตัวนานเท่าไหร่? และข้อสงสัยอื่น ๆ ที่ควรรู้!

  “ติดเชื้อโควิด โอไมครอน กี่วันหาย?” คำถามยอดฮิต ที่หลายคนสงสัยในช่วงที่โควิด-19 สายพันธุ์ “โอไมครอน” หรือ “โอมิครอน” ระบาดหนักอยู่ ณ ขณะนี้ แต่ไม่ต้องกังวลไป วันนี้ Ged Good Life มีคำตอบมาฝากแล้ว พร้อมข้อสงสัยยอดฮิตอื่น ๆ เราก็ได้รวบรวมมาไว้ในบทความนี้ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นห้ามพลาด! มาติดตามกันได้เลย ติดเชื้อโควิด โอไมครอน กี่วันหาย? นพ. มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ชี้ผู้ติดเชื้อโอไมครอน อาการไม่รุนแรง รักษาหายได้ที่บ้าน ภายใน 5 วัน อาการดีขึ้น โดยมีข้อความระบุไว้ดังนี้ “ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่ไม่ต้องไปนอนรักษาในโรงพยาบาล สามารถอยู่บ้าน แยกตัวจากคนอื่นในบ้านอย่างน้อย 5 วัน สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้คนอื่น ถ้าผ่านไป 5 วัน ไม่มีอาการ สามารถออกจากบ้าน แต่ยังต้องใส่หน้ากากอนามัยอย่างเคร่งครัดอีก 5 วัน โอมิครอน รักษาตามอาการ เหมือนหวัด ติดเชื้อโควิด โอไมครอน กี่วันหาย? แพร่เชื้อได้กี่วัน? ควรกักตัวนานเท่าไหร่? และข้อสงสัยอื่น ๆ ที่ควรรู้!

แพทย์คอนเฟิร์ม! หน้ากากผ้า ใส่ถูกวิธี กันโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ รวมโอมิครอน

  แพทย์ยืนยัน หน้ากากผ้า ป้องกันโควิดได้ทุกสายพันธุ์ รวม “โอมิครอน” แต่ต้องเลือกผ้าฝ้ายมัสลิน และสวมให้ถูกวิธีแนบชิดใบหน้าครอบปาก และจมูก จึงจะปลอดภัยที่สุด! หน้ากากผ้า กันโควิดได้! ถ้าเป็นผ้ามีคุณภาพ และใส่ถูกวิธี วันที่ 5 มกราคม นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ประสิทธิภาพของหน้ากากในการป้องกันเชื้อโควิด-19 นั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการกรองอนุภาค และความกระชับของหน้ากาก โดยมีความแตกต่างกันในแต่ละประเภทของหน้ากาก ซึ่งจากผลการศึกษาของ รศ.พานิช อินต๊ะ และคณะ ที่เผยแพร่ในวารสารวชิรสารการพยาบาล ได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคขนาด 0.3 ไมครอน แสดงให้เห็นว่า… หน้ากากผ้าที่ทำจากผ้าที่มีคุณภาพ เช่น ผ้าฝ้ายมัสลิน ผ้าสาลู ฯลฯ ซ้อนกันอย่างน้อย 2 ชั้น สามารถกรองเพิ่มได้มากขึ้นจากเดิมร้อยละ 53 เป็น ร้อยละ 67 แต่ต้องเลือกขนาด และปรับสายให้กระชับกับใบหน้า สวมให้คลุมทั้งจมูก และใต้คาง ให้เปลี่ยนหน้ากากผ้าทุกวัน หรือเมื่อรู้สึกเปียกชื้นในระหว่างวัน เมื่อกลับถึงที่พักให้ซักด้วยสบู่ หรือผงซักฟอก แพทย์คอนเฟิร์ม! หน้ากากผ้า ใส่ถูกวิธี กันโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ รวมโอมิครอน

Work From Home กิน เครียด นั่งนาน ไม่ขยับ เสี่ยง! 5 โรคทางเดินอาหาร

  กาลเวลาผ่านมา 2 ปี โรคโควิด-19 ก็ยังคงระบาดอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ชาวออฟฟิศหลาย ๆ คน ยังต้องทำงานที่บ้าน หรือที่เรียกติดปากว่า work from home ส่งผลให้ผู้ที่ต้องทำงานที่บ้าน อาจต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นระบบที่สำคัญ และต้องใส่ใจ ฉะนั้นมาดูกันว่า พฤติกรรมแบบไหน ที่เราควรปรับเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นอาจต้องเผชิญกับ 5 โรคทางเดินอาหาร ก็เป็นได้! หมอแนะนำ เคล็ดลับดูแลระบบย่อยอาหาร ช่วยขับถ่ายคล่อง ห่างไกลโรคร้าย! รวมวิธีขับถ่ายดี แก้ท้องผูก ระบบขับถ่ายดี สุขภาพก็ดีตาม! อาหารไม่ย่อย อืด จุก แน่นท้อง ปัญหาที่ต้องใส่ใจ แก้ไขให้ถูกจุด! Work ไร้ Balance ต้องระวัง! 5 โรคทางเดินอาหาร เมื่อต้องทำงานที่บ้าน ตื่นมาก็ลุกไปนั่งหน้าคอม ไม่ต้องเดินทางไปที่ออฟฟิศ ทำให้ร่างกายไม่ค่อยได้ขยับไปไหน แถมยังต้องทำงานคนเดียวไม่มีเพื่อนคุย อาจก่อให้เกิดความเครียดได้ ส่วนบางคนก็กินข้าวหน้าโต๊ะทำงานทั้งวัน แทบไม่ได้ลุกจากเก้าอี้เลย พฤติกรรมเหล่านี้ Work From Home กิน เครียด นั่งนาน ไม่ขยับ เสี่ยง! 5 โรคทางเดินอาหาร

ลูกเบื่ออาหาร คุณแม่ควรรับมือยังไงดีนะ?

คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอยู่ในช่วงวัย 1-7 ปี อาจจะพบปัญหา ลูกเบื่ออาหาร ให้ปวดหัวกันมาบ้างแล้ว เพราะลูกแทบไม่ทานอาหารเลย ร้องหาแต่ขนมของหวานท่าเดียว! จริง ๆ ต้องบอกว่า เด็ก ๆ ในวัยนี้อาจมีอาการเบื่ออาหารได้เป็นธรรมดา ฉะนั้นคนเป็นพ่อแม่ก็ต้องอดทน ใจเย็น และรู้จักวิธีรับมือให้เป็น… มาดูกันว่าอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ลูกเบื่ออาหาร พร้อมวิธีรับมือที่ถูกต้องตามคำแนะนำจากกุมารแพทย์ วิธีดูแลเด็ก ช่วงวัย 1-5 ขวบ และวัคซีนสำหรับเด็ก ที่พ่อแม่ควรรู้ ทำไม วิตามินเสริมสำหรับเด็ก ต้อง Nutroplex Oligo Plus เท่านั้น ?! รีวิว วิตามินรวมนูโทรเพล็กซ์ ยืนหนึ่งในใจแม่ ตัวช่วยเมื่อลูกกินยาก มีปัญหาขับถ่าย ความวิตกกังวลเกินไปของพ่อแม่ อาจเป็นสาเหตุหลักทำให้ ลูกเบื่ออาหาร ผศ.นพ.ชาตรี วิฑูรชาติ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ระบุไว้ว่า สาเหตุหลักของการที่ลูกไม่กินข้าวนั้น เริ่มต้นจาก “ความวิตกกังวลมากเกินไปของผู้ปกครองว่าลูกอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ” ซึ่งความวิตกกังวลนี้เกิดจาก “ความไม่รู้หรือเข้าใจผิด” เป็นเหตุสำคัญ อันได้แก่… 1. เข้าใจผิดว่าเด็กอ้วนเป็นเด็กแข็งแรง ลูกเบื่ออาหาร คุณแม่ควรรับมือยังไงดีนะ?

ป่วยซึมเศร้า อาจเพราะร่างกายขาด “วิตามินดี” พร้อมเผย! ประโยชน์ดีดีจากวิตามินดี

  นาทีนี้ ใคร ๆ ก็รู้ดีว่าโรคซึมเศร้านั้นน่ากลัวแค่ไหน เป็นแล้วอาจถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายได้เลย แต่เชื่อไหมว่า เพียงแค่คุณออกไปรับแสงแดดในยามเช้าเป็นประจำทุกวัน ก็สามารถห่างไกลโรคซึมเศร้าได้แล้ว! เพราะ ในแสงแดดมี “วิตามินดี” ซึ่งเป็นวิตามินฮีโร่ช่วยลดความเครียด และภาวะซึมเศร้าได้ ฉะนั้นมาดูกันดีกว่าว่า วิตามินดี จะมีบทบาทต่อผู้ป่วยซึมเศร้าอย่างไร และมีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่น ๆ อย่างไรบ้าง งานวิจัยพบ! ขาด “วิตามินดี” เสี่ยงซึมเศร้าได้ วิตามินดีมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ภายในสมองบริเวณดังกล่าว เช่น serotonin, dopamine และ norepinephrine สารสื่อประสาทเหล่านี้มีส่วนช่วยลดความเครียด และลดภาวะซึมเศร้า โดยมีรายงานพบระดับวิตามินดีต่ำในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ และโรคเกี่ยวกับความจำอื่น ๆ ดังนั้นการขาดวิตามินดีจึงมีผลต่อการทำงานของสมอง และพฤติกรรมที่ผิดปกติ จากงานศึกษาวิจัย พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับวิตามินดีในกระแสเลือดกับภาวะซีมเศร้า โดยผู้ที่มีระดับวิตามินดีต่ำจะแสดงอาการของโรคซึมเศร้ามากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มคนที่มีสุขภาพปกติ ความรุนแรงของอาการจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อวิตามินดีมีระดับต่ำลงมาก มีการศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงหลังคลอด (Postpartum Depression) พบว่า คุณแม่ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ ทั้งตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด จะมีโอกาสเป็นซึมเศร้าได้มากกว่าถึง 2.67 เท่า และมีบางรายงานพบว่าการเสริมวิตามินดี อาจส่งผลดีต่อการลดลงของภาวะซึมเศร้าได้ ป่วยซึมเศร้า อาจเพราะร่างกายขาด “วิตามินดี” พร้อมเผย! ประโยชน์ดีดีจากวิตามินดี

ตั้งครรภ์ช่วง COVID-19 ปลอดภัยไหม ต้องดูแลตัวเองอย่างไรดี?

  หลายครอบครัววางแผนที่จะมีลูกในปี 2022 นี้ แต่เมื่อเจอกับไวรัสโควิด-19 ที่ยังแพร่ระบาดไม่หยุดอยู่ ณ ขณะนี้ ก็ทำให้พับโครงการมีลูกกันไว้ สำหรับคุณแม่ที่ ตั้งครรภ์ช่วง COVID-19 จะปลอดภัยกับลูกไหม หรือต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้างในช่วงตั้งครรภ์นี้ GedGoodLife มีคำตอบพร้อมคลายข้อสงสัยต่าง ๆ มาฝากคุณแม่แล้ว ติดตามต่อกันได้เลย กรดโฟลิก ช่วยเซฟชีวิตทารก วิตามินสำคัญแม่ตั้งครรภ์ต้องกิน 7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อยากมีลูกต้องรู้ไว้! คนอ้วนท้อง แม่และทารกเสี่ยงอันตรายอะไรบ้าง? และข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ กับ ไวรัสโควิด-19 (COVID-19)  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ COVID-19 โรคนี้ทำให้ป่วยเป็น โรคปอดบวม ปอดอักเสบ สามารถทําให้เกิดระบบหายใจล้มเหลวได้ ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ทั่วไปที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง คือ ไม่ได้เดินทางมาจากต่างประเทศ หรือ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ไม่มีข้อมูลว่า โอกาสติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าคนทั่วไปหรือไม่  แต่ด้วยร่างกายขณะตั้งครรภ์ มีความเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ อย่าง อาจทำให้ภูมิต้านทานลดลง หรือ ตั้งครรภ์ช่วง COVID-19 ปลอดภัยไหม ต้องดูแลตัวเองอย่างไรดี?

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save