gedgoodlife

ท้องอืดเป็นประจำ เสี่ยงโรคอะไรบ้าง?

  ท้องอืด คือ ความรู้สึกว่ามีลมในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ทำให้อึดอัดไม่สบายตัว อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อิ่มเร็ว ท้องแข็ง หรืออยากอาหารน้อยลง อาการท้องอืดพบได้บ่อยในทุกเพศ ทุกวัย หากท้องอืดเป็นประจำ อาจเสี่ยงโรคต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ โรคลำไส้แปรปรวน โรคกระเพาะอาหาร ท้องผูกเรื้อรัง นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งในช่องท้อง หากมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย เป็นระยะเวลานาน หรือมากกว่า 2-3 สัปดาห์ ถ่ายเป็นเลือด ควรเข้าพบแพทย์ อ้างอิง : รพ. บำรุงราษฎร์

หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส

  พญ.กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล แพทย์เวชศาสตร์ป้องกันผู้มีประสบการณ์ด้าน Integrative Medicine กว่า 20 ปี เผยว่า “หวัดเกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้ทางเดินหายใจส่วนต้นอักเสบ เยื่อจมูกบวมแดง มีน้ำมูก อาการจะหายเองได้ใน 1 สัปดาห์ ถ้าภูมิต้านทานแข็งแรง อาการก็จะไม่รุนแรงมาก” แพทย์แนะนำ! 4 วิธีดูแลรักษาหวัด พักผ่อน และป้องกันการแพร่เชื้อ ดื่มน้ำมาก ๆ ช่วยลดไข้ และความร้อน สวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น อย่าให้ถูกฝน ควรกินอาหารอ่อน หรือเครื่องดื่มร้อน ๆ อ่านบทความฉบับเต็มที่นี่ -> Expert Tips วิธีดูแลสุขภาพห่างไกลหวัด โดยหมออ้อม

ภูมิแพ้หน้าฝน ป้องกันได้ไม่กำเริบ!

  หน้าฝนทำให้ผู้ป่วยภูมิแพ้มีอาการภูมิแพ้กำเริบได้ง่าย เช่น มีน้ำมูกไหล ไอ จาม เป็นต้น เราสามารถป้องกันไม่ให้อาการภูมิแพ้กำเริบได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ เลี่ยงอากาศเย็น และสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ ทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่เปิดแอร์ หรือพัดลมจ่อตัว  ออกกำลังกาย และนอนพักผ่อนให้เพียงพอ อ่านเพิ่มเติม -> ชาวภูมิแพ้ต้องรู้! วิธีดูแลตนเองให้ห่างไกลจากภูมิแพ้

พร้อม “ดูแลทุกการแพ้” เพียงติดตามเว็บไซต์ GEDgoodlife.com

  เพียงติดตามเว็บไซต์ GEDgoodlife.com เราก็พร้อมดูแลทุกการแพ้ของคุณ เพราะเรื่องภูมิแพ้เรารู้จริง พร้อมปรึกษาปัญหาภูมิแพ้ ฟรี! —> คลิกที่นี่ #GEDgoodlife #แพ้อัลไลใช้อัลนี้ #อัลเลอร์นิค #ดูแลทุกการแพ้

อากาศเปลี่ยน ใช้ยาให้ถูกโรค ดูแลสุขภาพให้ดี ห่างไกลหวัดและภูมิแพ้

  อาการไข้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหลลักษณะใส ครั่นเนื้อครั่นตัว อาจมีไข้ต่ำ ๆ ปวดหัวเล็กน้อย ไอมีเสมหะ หรือ จาม เป็นภูมิแพ้ คันตา คันจมูก อาจมีน้ำตาไหล ไม่มีไข้ ตัวไม่ร้อน อ่อนเพลียบ้าง จามบ่อย เป็นหวัดมีไข้ เลือกใช้ “ยาลดไข้บรรเทาหวัด” แพ้อากาศ เลือกใช้ “ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง“

อากาศเปลี่ยนให้ระวัง! อาการไอมีเสมหะ

  อาการไอมีเสมหะ เพราะอากาศเปลี่ยน เกิดขึ้นได้บ่อยจากไข้หวัด ภูมิแพ้ ติดเชื้อ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น อาการร่วมเมื่อไอมีเสมหะ ไอมีเสมหะ และมีน้ำมูก ไอมีเสมหะ และมีอาการเป็นไข้ ไอมีเสมหะ และมีอาการคันคอ การรักษาอาการไอมีเสมหะ ดื่มน้ำเยอะ ๆ ช่วยละลายเสมหะ งดของทอด ของมัน น้ำอัดลม ใช้ยาแก้ไอละลายเสมหะ อ่านเพิ่มเติม -> วิธีดูแลอาการไอมีเสมหะเมื่ออากาศเปลี่ยน

กรดไหลย้อน รู้เหตุ ลดเสี่ยง ห่างไกลโรค

  โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร หากไม่รักษา ปล่อยให้เรื้อรัง อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหาร และเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยง! กินอาหารรสจัด เปรี้ยวจัด ไขมันสูง รวมถึงผลไม้มีกรดสูง เช่น ส้ม มะนาว เป็นต้น กินอาหารไม่ตรงเวลา และนอนทันทีหลังกินเสร็จ ดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟเป็นประจำ รวมถึงการสูบบุหรี่ เครียดบ่อย ไม่ค่อยออกกำลังกาย จนมีน้ำหนักเกินเกณฑ์ รักษากรดไหลย้อนด้วย “ยาลดกรด” ยาลดกรด ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด แน่น จุกเสียด แสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน   อ่านเพิ่มเติม -> 15 คำถามเรื่องกรดไหลย้อน

คัน อาการภูมิแพ้หน้าหนาวยอดฮิต!

  หน้าหนาวมักทำให้เกิดอาการแพ้ตามมา โดยเฉพาะอาการคันตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล ที่เกิดจากภูมิแพ้อากาศ และฝุ่น PM2.5 คันตา น้ำตาไหล ตาแห้ง จากภูมิแพ้อากาศ ไรฝุ่น และฝุ่น PM2.5 คันผิวหนัง เกิดผื่น คัน แดง จากโรคภูมิแพ้ผิวหนัง และลมพิษ คันจากภูมิแพ้ นึกถึง “ยาแก้แพ้ชนิดไม่ง่วง” เช่น ยาแก้แพ้ลอราทาดีน ใช้ลดอาการคันจากโรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคลมพิษ ภูมิแพ้อากาศ กินเพียงวันละ 1 เม็ด ไม่ทำให้ง่วงนอนระหว่างวัน (อาจทำให้ง่วงน้อยในผู้ป่วยบางราย)   อ่านเพิ่มเติม -> 8 สาเหตุของผื่นคัน ทำให้คันยิบ ๆ ตามตัว ที่เราอาจนึกไม่ถึงมาก่อน!

หายตรงนั้น ขึ้นตรงนี้! โรคผิวหนังที่ต้องระวังเมื่อหน้าหนาวมาเยือน

  โรคภูมิแพ้ผิวหนัง โรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก โรคลมพิษ โรคเซ็บเดิร์ม โรคงูสวัด โรคอีสุกอีใส อ่านบทความเต็มที่นี่ –> ระวัง! 6 โรคผิวหนังพบบ่อยในฤดูหนาว และวิธีดูแลผิวช่วงอากาศเย็น

วิธีสู้ฝุ่น สู้ไวรัส ห่างไกลภูมิแพ้ และไข้หวัด

  สวมหน้ากากอนามัย เมื่อต้องออกจากบ้าน ใช้เครื่องฟอกอากาศกรองฝุ่น ภายในบ้าน เลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง ติดตามรายงานสภาพอากาศและระดับ PM2.5 ล้างมือสม่ำเสมอป้องกันเชื้อไวรัส กินสารอาหารที่ช่วยลดกระบวนการอักเสบ ระวัง! ในช่วงที่ฝุ่นเกิน 76 ไมครอน ติดต่อกันเกิน 3 วัน มีผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจกว่า 500 คน มีอาการแสบตา คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ หอบ อ่านบทความเต็มโดย พญ. กอบกาญจน์ ชุณหสวัสดิกุล ได้ที่นี่ คลิก! –> วิธีรับมือกับฝุ่น PM2.5 และโรคระบาดของทางเดินหายใจ

เที่ยวอุ่นใจไม่กลัวป่วย! ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก

เที่ยวนอกทั้งที ก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยเฉพาะเรื่องของยา จำเป็นต้องเตรียมไปให้ครบ จะได้เที่ยวอย่างอุ่นใจ เมื่อป่วยไข้ไม่สบายขึ้นมา ก็มียาพร้อมฮีลกาย ใจก็พร้อมลุยทริปต่อ! งั้นเรามาลิสต์กันเลยว่า “ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก” มียาอะไรบ้าง?… ยาสามัญประจำบ้าน มียาอะไรบ้าง? ยาแก้หวัดสูตรผสม จบปัญหามีไข้ และภูมิแพ้ ในเม็ดเดียว! ยาแก้แพ้ (ยาต้านฮีสตามีน) คืออะไร มีกี่ชนิด และผลข้างเคียงที่ควรรู้ แนวทางการเลือกพกยาไปต่างประเทศ ควรเลือกพกกลุ่มยาไปให้หลากหลาย และควรครอบคลุมทั้งยาสามัญประจำบ้าน และยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว โดยยาสามัญประจำบ้านที่แนะนำ เช่น กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้, กลุ่มยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก, กลุ่มยาแก้ไอ ขับเสมหะ, กลุ่มยาแก้วิงเวียน, กลุ่มยาแก้เมารถ, กลุ่มยาแก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเสีย และกลุ่มยาระบาย เป็นต้น ส่วนยาที่ใช้รักษาโรคประจำตัว ควรใช้ยาให้ครบ และปฏิบัติตัวตามแพทย์ที่ดูแลสั่งอย่างใกล้ชิด และควรมีเอกสารจากแพทย์หรือใบรับรองแพทย์กำกับการใช้ยาร่วมด้วย ทั้งนี้ยาที่อนุญาตให้นำไปต่างประเทศได้ ควรอยู่ในภาชนะบรรจุยาที่ถูกต้อง ห้ามแกะ หรือแยกเม็ดยาออกมาจนทำให้ระบุชนิดของยาไม่ได้ ส่วนยาที่ถูกห้ามนำเข้า ควรตรวจสอบในแต่ละประเทศที่จะเดินทางไปซึ่งแล้วแต่ละประเทศประกาศกฎหมายการนำเข้ายานั้น ๆ ซึ่งหากใช้ยาที่เป็นยาต้องห้ามต้องมีเอกสารจากแพทย์ให้ชัดเจนเพื่อการตรวจสอบโดยตรง ตัวอย่างกลุ่มยาสามัญประจำบ้านที่ ควรพกติดตัวไปต่างประเทศ กลุ่มยาบรรเทาปวดลดไข้  ได้แก่ ยาพาราเซตตามอล เที่ยวอุ่นใจไม่กลัวป่วย! ยาต้องมีเมื่อไปเที่ยวนอก

ปวดแสบท้องบ่อยควรรู้! อาการสำคัญของโรคกระเพาะอาหาร และวิธีรักษา

โรคกระเพาะอาหาร เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ในช่วงทุกเพศ ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะในวัยทำงาน ที่อาจเกิดความเครียด การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา การรับประทานอาหารเผ็ด การรับประทานเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ทำให้เกิดอาการโรคกระเพาะขึ้นมาได้ ซึ่งควรรีบได้รับยาบรรเทาอาการ หรือทำการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพื่อให้ห่างไกลจากโรคกระเพาะอาหารและมีสุขภาพที่ดี ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข 10 พฤติกรรมเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร กินอาหารไม่ตรงเวลา ทำให้เป็นโรคกระเพาะจริงหรือไม่? แชร์ 3 วิธีกินหมาล่า ไม่ทำร้ายกระเพาะ และไม่เป็นกรดไหลย้อน อาการสำคัญของโรคกระเพาะอาหาร อาการปวดท้อง แสบท้อง รู้สึกจุกแน่นท้อง ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นตรงบริเวณแถวใต้ลิ้นปี่ มักเป็นตอนท้องว่าง หรือเป็นบางเวลาของวัน ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นช่วงกลางคืน หรือผู้ป่วยบางรายอาจเป็น ๆ หาย ๆ ได้ ซึ่งจากอาการที่เกิดขึ้น ไม่ควรทิ้งไว้ ควรรีบได้รับการรักษาทั้งจากการปรับพฤติกรรม หรือใช้ยารักษาให้ตรงจุด ยาที่ใช้รักษาโรคกระเพาะอาหาร กลุ่มยาลดกรด เพื่อยับยั้งการหลั่งกรดที่ต้นเหตุ เช่น ยากลุ่ม Proton-pump inhibitors เป็นต้น ซึ่งควรได้รับการรับประทานยาต่อเนื่องอย่างน้อย 4-8 สัปดาห์ กลุ่มยาลดกรด ที่บรรเทาอาการแสบร้อนได้ทันที เช่น ยาลดกรดชนิดน้ำ ได้แก่ ปวดแสบท้องบ่อยควรรู้! อาการสำคัญของโรคกระเพาะอาหาร และวิธีรักษา

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save