gedgoodlife

เคล็ดลับฟิตแอนด์เฟิร์ม ชะลอวัย ของผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ จะปฎิบัติให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง และเหมาะสม หลายคนสงสัยว่า “ผู้สูงอายุจะสามารถออกกำลังกายได้หรือ  และจะออกกำลังกายแบบไหน อย่างไรจึงจะดี” ผู้สูงอายุนั้นสามารถออกกำลังกายได้ เพียงแต่ต้องเลือกให้เหมาะกับสภาพร่างกายให้ดี มาดูเคล็ดลับฟิตแอนด์เฟิร์ม ชะลอวัย กันเลยค่ะ เคล็ดลับฟิตแอนด์เฟิร์ม ชะลอวัย ของผู้สูงอายุ มีดังนี้ 1. ช่วยทำให้ระบบหัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อแข็งแรง การที่ได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น 2. การทรงตัวดีขึ้น –รูปร่างดีขึ้น ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายเสมอ จะทำให้ร่างกายมีความกระฉับกระเฉง ว่องไว ทรงตัวดี ไม่อ้วนลงพุง หรือผอมเกินไป 3. ชะลอความเสื่อมของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้ ช่วยให้แข็งแรง และซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหายไปได้ด้วย เช่น กระดูกในผู้สูงอายุจะมีสารแคลเซี่ยมลดลง ทำให้เนื้อกระดูกบางลง แต่ถ้าผู้สูงอายุมีการออกกำลังอยู่เสมอ จะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องนี้ 4. ทำให้สุขภาพจิตดีขึ้น ร่างกายขับสารเอ็นดอร์ฟีนออกมา จะช่วยลดความเจ็บปวดของร่างกาย และทำให้จิตใจสดชื่น ลดอาการซึมเศร้าได้ 5. ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานดีขึ้น ลดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ หรือท้องผูก 6. เคล็ดลับฟิตแอนด์เฟิร์ม ชะลอวัย ของผู้สูงอายุ

“อายุน้อยร้อยโรค” เด็กไทยยุค4.0 เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

    สภาพแวดล้อมอากาศ และมลพิษในปัจจุบัน รวมถึงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ สุขภาพของเด็กไทย ยุค 4.0 เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น มักมีสุขภาพไม่แข็งแรง ป่วยบ่อย ป่วยง่าย โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่มีเวลาดูแลด้วยตัวเอง และต้องส่งลูกเข้าเรียน หรืออยู่เนอร์เซอร์รี่ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อ เจ็บป่วย และเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากขึ้น เนื่องจากมักได้รับการดูแลที่ไม่ทั่วถึง แล้วโรคที่พบได้บ่อยในเด็กยุคนี้ จะมีอะไรบ้างนะ? สุขภาพของเด็กไทย กับโรคที่พบบ่อยในยุค 4.0 – โรคภูมิแพ้ มีเด็กไทยยุคใหม่จำนวนมาก ที่เป็น โรคภูมิแพ้ ไม่ว่าจะเป็นแพ้นมวัว แพ้อาหาร แพ้อากาศ หรือหอบหืด ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น พันธุกรรม สภาพแวดล้อม รวมถึงการได้รับนมแม่น้อยเกินไป หรือได้รับนมวัวในช่วง 6 เดือนแรกหลังคลอด คุณพ่อคุณแม่ควรช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกายให้แก่ลูก ด้วยการให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก และกำจัดสารกระตุ้นภูมิแพ้ในบ้าน เช่น ไรฝุ่น ควันบุหรี่ ขนสัตว์ หากลูกของคุณเริ่มมีอาการภูมิแพ้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาวิธีป้องกันรักษาที่เหมาะสม – โรคอ้วน โรคอ้วนในวัยเด็ก เป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา “อายุน้อยร้อยโรค” เด็กไทยยุค4.0 เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง?

อายุเยอะ ไม่ใช่อุปสรรคของคนวัย Aging หรือ ผู้สูงอายุ

การก้าวเข้าสู่วัย ผู้สูงอายุ (Aging) อย่างมีความสุข อาจเป็นเรื่องที่ทำใจยากสำหรับคนที่กำลังก้าวสู่วัยนี้ หากเราได้เรียนรู้ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง มีการเตรียมความพร้อมในการดำรงชีวิตให้มีความสุข ทั้งสุขภาพร่างกายจิตใจ วางแผนเตรียมตัวทางการเงินที่อยู่อาศัย มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ และที่สำคัญพร้อมปรับเปลี่ยนวิธีคิด รวมถึงยอมรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่าง ๆ เตรียมตัวตั้งรับเมื่อวัยนั้น วันนั้นมาถึง – อายุ ไม่ใช่อุปสรรคที่จะทำให้เลิกเคารพนับถือตนเองและผู้อื่น – มีความรื่นรมย์ยินดี จิตใจแจ่มใสกับการมีชีวิตอยู่  และมีคุณภาพชีวิตที่ดี   เข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ   และปรับความรู้สึกนึกคิดไปด้วยรอยยิ้ม ทำจิตใจให้แจ่มใส – อย่ามัวนั่งคิดว่าตัวเองแก่  ไม่เครียด มองโลกแง่บวกเสมอ ว่าจะดำรงตนให้เป็นประโยชน์ด้วยการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือลูกหลาน และคนรอบข้าง – บอกตัวเองว่าพวกลูก ๆ หลาน ๆ อาจไม่อยู่ใกล้ชิดหรืออยู่ร่วมภายในบ้านก็ได้ เพราะ พวกเขาต้องมีครอบครัวของตัวเอง จะไม่รบกวนคนอื่นให้เขามาดูแล และจะไม่คิดมาก ให้ลูกหลานลำบากใจ – เมื่อมีปัญหาจะไม่อวดดี และจะยอมรับฟังคำแนะนำของผู้อื่น – ชีวิตกับงานเป็นของคู่กัน จะไม่นั่ง ๆนอน ๆ แต่จะหางานที่สามารถทำได้ตามกำลัง อายุเยอะ ไม่ใช่อุปสรรคของคนวัย Aging หรือ ผู้สูงอายุ

โรคไข้หวัด VS โรคภูมิแพ้อากาศ ต่างกันอย่างไร?

  โรคไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) – คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส (ส่วนน้อยจะติดจากเชื้อแบคทีเรีย) ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนต้น คือ จมูก และคอ สามารถติดต่อกันได้ระหว่างคนสู่คน โรคภูมิแพ้อากาศ (Allergic Rhinitis) – คือโรคที่ร่างกายเราตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นที่เราหายใจเข้าไป เช่น ไรฝุ่น, มลพิษ, PM2.5, เกสรดอกไม้ เป็นต้น เป็นโรคที่ไม่ติดต่อกันระหว่างคนสู่คน (แต่ติดต่อทางพันธุกรรมได้) โรคไข้หวัด VS โรคภูมิแพ้อากาศ ต่างกันอย่างไร? อาการของ 2 โรคนี้ ที่แตกต่างกันชัดเจนคือ โรคไข้หวัด จะมีไข้ขึ้น แต่โรคภูมิแพ้อากาศ จะไม่มีไข้ ส่วนอาการอื่น ๆ มักจะใกล้เคียงกัน อยู่ที่ว่าเป็นมาก หรือน้อย ดังนี้ อาการโรคไข้หวัด มีน้ำมูกใส หรืออาจข้นก็ได้ ตัวร้อน มีไข้ขึ้น 37-39 องศาเซลเซียส ไอแห้ง เจ็บคอบ้าง อาจไอมีเสมหะได้ด้วย ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาอาหาร อาการโรคภูมิแพ้อากาศ มีน้ำมูกใส คัดแน่นจมูก ไม่มีไข้ โรคไข้หวัด VS โรคภูมิแพ้อากาศ ต่างกันอย่างไร?

6 เทคนิคฝึกสมาธิ บำบัดสุขภาพ ช่วยผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด

  การปฏิบัติสมาธิเป็นเทคนิคที่มีในทุกชาติ ทุกศาสนา และเป็นเทคนิคการเยียวยาที่ได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์แล้วว่า เป็นศาสตร์แห่งความเอื้ออาทรต่อร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม และในวันนี้ Ged Good Life จึงขอฝาก “6 เทคนิคฝึกสมาธิ” เพื่อสร้างเสริม และเยียวยาสุขภาพทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยรวบรวมจาก “หนังสือการปฏิบัติสมาธิเพื่อการเยียวยาสุขภาพ” ของ รศ.ดร. สมพร กันทรดุษฎี-เตรียมชัยศรี สนับสนุนโดย กองการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข พองหนอ ยุบหนอ การทำสมาธิ ช่วยให้ชีวิตดี สุขภาพดีได้อย่างไร? จิตตก! เพราะโซเชียล อยู่รึเปล่า? ต้องดู 5 เคล็ดลับใช้โซเชียลยังไงให้ห่างไกลซึมเศร้า 8 เคล็ดลับจิตใจดี สุขภาพดี ต้อนรับปีใหม่ การบำบัดรักษาโรคด้วยสมาธิ ดีอย่างไร? การบำบัดรักษาโรคด้วยสมาธิ เป็นวิธีที่ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างกายกับจิต จิตที่สงบแจ่มใสจะส่งผลให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง จิตที่แปรปรวนขาดความสมดุลจะทำให้ร่างกายเจ็บป่วย หรือที่เจ็บป่วยอยู่แล้วก็มีอาการทรุดหนักลงได้ จะเห็นได้ว่า ความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่นความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ โรคหัวใจ โรคกระเพาะ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อไม่ต้องการให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ก็ต้องป้องกัน หรือทำลายสาเหตุสำคัญ 6 เทคนิคฝึกสมาธิ บำบัดสุขภาพ ช่วยผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด

8 วิธีคิดสร้างความสุข เพื่อชีวิตดีดี อายุยืนยาว

  แน่นอนอว่า ทุกคนอยากเกิดมามีความสุข และคุณเองก็เช่นกัน แต่อะไรล่ะ ที่จะทำให้เรามีความสุขได้จริง ๆ ? หลายคนอาจจะตอบว่า เงินทอง คือความสุข แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว จะพบว่า “ความคิด” ต่างหาก ที่สร้างชีวิตดีดี มีความสุขให้กับเราได้อย่างแท้จริง ฉะนั้น เรามาเริ่มสร้างความสุขให้กับตัวเองกันตั้งแต่วันนี้เลยดีกว่า ด้วย “8 วิธีคิดสร้างความสุข” แค่ทำให้ครบ ชีวิตก็ปัง จะมีอะไรบ้าง มาติดตามกัน ต้องเสพทุกกระแส ไม่พลาดสักข่าว! อาจเสี่ยงเป็น “FOMO อาการกลัวตกกระแส” จิตตก! เพราะโซเชียล อยู่รึเปล่า? ต้องดู 5 เคล็ดลับใช้โซเชียล ห่างไกลซึมเศร้า มาวัดระดับความสุข ด้วย “แบบประเมินความสุข” กันดีกว่า คุณสามารถฝึกสมองของคุณให้คิดอย่างมีความสุขได้ การฝึกสมองให้คิดบวกมากกว่าลบ คุณจะมีความสุขมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น คุณเคยสังเกตบ้างไหมว่าบางคนรู้สึกแย่กับตัวเองเมื่อมีคนวิจารณ์พวกเขา ในขณะที่คนอื่นดูเหมือนจะไม่สนใจ? สิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ คือ วิธีที่คุณตอบสนองต่อคำวิจารณ์นั้นเป็นนิสัยการคิดของคุณ คนบางคนมักนึกถึงเรื่องส่วนตัว และรู้สึกไม่มีความสุข ในขณะที่คนอื่น ๆ มักจะเฉยเมย และมีความสุขอยู่เสมอ 8 วิธีคิดสร้างความสุข เพื่อชีวิตดีดี อายุยืนยาว

แจก 23 คำอวยพรปีใหม่ ส่งต่อความหมายดีดี เพื่อชีวิตดีดีในปีใหม่ 2566

  ปีเก่าผ่านพ้นไป ปีใหม่ผ่านเข้ามา ก็ต้องส่งต่อคำอวยพรดีดี เพื่อความเป็นศิริมงคลปีใหม่นี้ แต่ถ้าใครยังคิดคำไม่ได้ ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้ GED good life จะมาแจก 23 คำอวยพรปีใหม่ ส่งต่อความหมายดีดี เพื่อชีวิตดีดีในปีใหม่ 2566 นี้ มาดูกันเลยว่าจะมีคำอวยพรไหนโดนใจกันบ้าง 3 บทสวดมนต์ รับปีใหม่ เสริมมงคลชีวิต รวมสถานที่สวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลแก่ชีวิต ต้อนรับปีใหม่ รวมไอเดีย ของขวัญเพื่อสุขภาพ แด่คนที่คุณรัก 23 คำอวยพรปีใหม่ ส่งต่อความหมายดีดี เพื่อชีวิตดีดีในปีใหม่นี้ 1. ความเสียใจ ความทุกข์ ความเศร้าโศก สุขภาพที่ย่ำแย่ทั้งหลาย ขอให้หมดไปในปีใหม่นี้ และขอให้วันที่ 1 มกราคมเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความสุข สวัสดีปีใหม่ 2566 2. ขอให้ปีใหม่ 2566 นำความสุขกาย สุขกายใจ และชีวิตดีดี มาสู่คุณ หมดทุกข์ หมดโศก สุขภาพกายแข็งแรงตลอดไป 3. แจก 23 คำอวยพรปีใหม่ ส่งต่อความหมายดีดี เพื่อชีวิตดีดีในปีใหม่ 2566

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรา แค่เศร้า หรือ เป็นโรคซึมเศร้า และเมื่อไหร่ควรพบแพทย์?

  ในชีวิตคนเราย่อมต้องพบเจอกับความผิดหวัง ความล้มเหลว ความเศร้าโศกเสียใจ พลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นธรรมดากันทุกคน แต่เราจะแยกแยะได้อย่างไรว่าเรา “แค่เศร้า หรือ เป็นโรคซึมเศร้า” กันแน่? และอาการมากน้อยแค่ไหนควรพบแพทย์? GED good life มีคำตอบรออยู่แล้ว พร้อมแบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม (PHQ-9) แบบประเมินโรคซึมเศร้า 9 คำถาม 8 วิธีคิดบวก ฝึกตัวเองเป็นคนใหม่ ที่ดีกว่า! พร้อมแบบประเมินความสุข 15 คำถาม ป่วยซึมเศร้า อาจเพราะร่างกายขาดวิตามินดี พร้อมเผย! ประโยชน์ดีดีจากวิตามินดี จะรู้ได้อย่างไรว่าเรา แค่เศร้า หรือ เป็นโรคซึมเศร้า ? ความรู้สึกเศร้าเป็นส่วนหนึ่งของภาวะซึมเศร้า แต่ก็ไม่เหมือนกันสะทีเดียว จึงควรทำความเข้าใจถึงความแตกต่างเพื่อช่วยให้รู้ว่าเมื่อใดควรเข้ารับการรักษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิตในสังคมให้ดีขึ้นได้ โดยอารมณ์เศร้านั้น เราแยกแยะมาให้ 3 ประเด็นด้วยกัน คือ 1. ความเศร้าปกติ 2. ภาวะซึมเศร้า และ 3. จะรู้ได้อย่างไรว่าเรา แค่เศร้า หรือ เป็นโรคซึมเศร้า และเมื่อไหร่ควรพบแพทย์?

แนะนำ! 6 กิจกรรมวันวาเลนไทน์ เติมเต็มความรัก ให้ชีวิตคู่ยั่งยืน

  เพราะความรัก คือ “การให้” เมื่อมีความรักแล้วก็ต้องเอาใจใส่ดูแลซึ่งกันและกัน และในวาระโอกาสพิเศษเดือนแห่งความรักนี้ GED good life ก็อยากให้คู่รักทุกคนมอบสิ่งดีดี ทำสิ่งดีดี ให้แก่กัน ด้วย “6 กิจกรรมวันวาเลนไทน์” ช่วยเติมเต็มความรัก ให้ชีวิตคู่ยั่งยืน… ใครที่ไม่มีไอเดีย คิดไม่ออก ต้องอ่านบทความนี้แล้วนำไปใช้กันได้เลย! แนะนำ! 6 กิจกรรมวันวาเลนไทน์ ทำอะไรให้กันดีนะ? 1. ทำบุญเสริมดวงความรัก ใครเชื่อแบบนี้บ้าง “เราไม่ได้เจอด้วยความบังเอิญ ทว่าเป็นโชคชะตาฟ้าลิขิตที่กำหนดให้มารักกัน” ส่วนใครสายมูก็ไปเที่ยวขอพรพระ เทวดา เพื่อให้ได้พบรักกับใครสักคน และก็สมหวังจริง ๆ ฉะนั้นเรื่องของความรัก อาจจะเกี่ยวเนื่องกันกับบุญกุศลที่เคยทำร่วมกันมา ถึงทำให้ได้มาพบเจอกัน เมื่อพบกับแล้ว ก็อย่าให้แคล้วจากกัน ชวนกันไปทำบุญเสริมดวงความรักสักหน่อย และอย่าลืมทำดีต่อกันและกันให้เสมอต้นเสมอปลายด้วยล่ะ 2. ซื้อของขวัญสีชมพูให้แก่กันและกัน วาเลนไทน์ทั้งที จะขาดสีชมพูไปได้ไง จริงมั้ย? ไอเดียของขวัญสีชมพูที่ไม่มี OUT และสามารถใช้ได้เรื่อย ๆ เป็นของใช้ในชีวิตประจำวัน ได้แก่ รองเท้าสีชมพูใส่คู่กันหวานกว่าน้ำผึ้ง นาฬิกาสีชมพู หรือ แนะนำ! 6 กิจกรรมวันวาเลนไทน์ เติมเต็มความรัก ให้ชีวิตคู่ยั่งยืน

อย่าให้ติดเป็นนิสัย! 8 พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ เพื่อชีวิตและสุขภาพดีดี

  รู้หรือไม่ พฤติกรรมเคยชินของแต่ละบุคคลก็เป็นตัวกำหนดสำคัญด้านสุขภาพกาย และสุขภาพใจได้ และในแต่ละบุคคลย่อมมีทั้งพฤติกรรมที่เป็นข้อดี และเป็นข้อเสียกันทั้งนั้น แต่ถ้าพฤติกรรมที่เป็นข้อเสียเกิดขึ้นบ่อย ๆ เข้า ก็จะยากต่อการแก้ไข และอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้  มาดูกันว่า “8 พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ” เพื่อชีวิตและสุขภาพดีดี จะมีอะไรบ้าง และหากไม่ปรับ จะเสี่ยงป่วยเป็นโรคอะไร!? 12 พฤติกรรมทำร้ายสมอง เลิกให้ทันก่อนเกินเยียวยา และวิธีดูแลสมองให้มีสุขภาพดีดี 8 เรื่องควรทำในยามเช้า เพื่อสุขภาพ และชีวิตดีดี จิตตก! เพราะโซเชียล อยู่รึเปล่า? ต้องดู “5 เคล็ดลับใช้โซเชียล” ห่างไกลซึมเศร้า 8 พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ เพื่อชีวิตและสุขภาพดีดี 1. ตามใจปาก ไม่หิวก็กิน เพราะคนเรายอมอ้วนเพื่อให้ได้กินของอร่อย หรือ กินเพราะความชอบมากกว่าเพื่อประโยชน์ต่อสุขภาพ พฤติกรรมตามใจปากเหล่านี้ ทำให้สุขภาพเสียไม่รู้ตัว มาปรับวิธีกินให้เหมาะสม สุขภาพก็จะดีขึ้นได้แน่นอน เช่น กินอาหารให้เป็นเวลา, กินให้ครบ 5 หมู่, ไม่กินขนมระหว่างมื้อ, หยุดกินเมื่อเริ่มรู้สึกอิ่ม, อาจทดแทนความอยากด้วยน้ำ หรือธัญพืชที่มีประโยชน์แทนขนมก็เป็นวิธีที่ช่วยได้ อย่าให้ติดเป็นนิสัย! 8 พฤติกรรมเคยชินที่ต้องปรับ เพื่อชีวิตและสุขภาพดีดี

กรมสุขภาพจิตเผย! 5 วิธีคลายเครียด พร้อมแนะอาหารช่วยให้อารมณ์ดี

  ใคร… ที่รู้สึกเครียดเป็นประจำทุกวัน เครียดง่ายกับทุกเรื่อง นอนไม่หลับ จนหน้าตาทรุดโทรม ปล่อยไว้แบบนี้คงไม่ดีแน่! วันนี้ GEDgoodlife จึงขอแนะนำ 5 วิธีคลายเครียดด้วยตัวเอง จากกรมสุขภาพจิต พร้อมชี้! เครียดมากไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายยังไงบ้าง? มาดูกัน! รู้สึกดาวน์ สุขภาพจิตแย่ มีวิธีแก้ยังไงบ้าง? พร้อมชี้! 8 สัญญาณเตือนควรพบจิตแพทย์ ความเครียดก่อให้เกิดกรดไหลย้อน ได้จริงหรือไม่? จิตตก! เพราะโซเชียล อยู่รึเปล่า? ต้องดู 5 เคล็ดลับใช้โซเชียล ห่างไกลซึมเศร้า ทำไมคนเราถึงเครียด!? พญ.ดวงพร สุรพงษ์พิวัฒนะ จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กและวัยรุ่น กล่าวว่า “ความเครียด คือ ภาวะที่ไม่สบายใจ หรือความกังวล ที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ตรงกับความรู้สึกหรือความคาดหวัง เช่น เมื่อต้องฝืนทำสิ่งที่ไม่ชอบ หรือไม่ได้ทำสิ่งที่อยากทำ นี่คือความเครียด ความเครียดจึงเป็นเรื่องส่วนบุคคล ในสายตาคนทั่วไป งานนั้นอาจน่าเบื่อ แต่ถ้าคน ๆ นั้นรู้สึกชอบหรือสนุกที่จะทำ งานนั้นจะไม่เป็นความเครียด” ความเครียดแบ่งเป็น 2 แบบตามระยะเวลา คือ กรมสุขภาพจิตเผย! 5 วิธีคลายเครียด พร้อมแนะอาหารช่วยให้อารมณ์ดี

สิ่งที่ควรทราบหากคุณไม่แน่ใจว่าได้รับเชื้อ “โอมิครอน” เข้าสู่ร่างกายหรือไม่

  หลังจากที่โลกต้องเผชิญกับการระบาดของไวรัสโคโรนา มากว่า 2 ปี ซึ่งตัวเชื้อไวรัสได้มีการกลายพันธุ์ และพัฒนารูปร่างหน้าตา ต่างรหัสพันธุ์กรรม โดยสามารถแยกออกเป็นหมวดหมู่ใหญ่ถึง 8 สายพันธุ์หลัก ประกอบด้วย S,L,G,V,GH,GR,O,B และในเวลานี้เชื่อว่า คงไม่มีสายพันธุ์ไหนที่ได้รับความสนใจมากที่สุดเทียบเท่ากับสายพันธุ์ “โอมิครอน” หรือ “โอไมครอน” ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่กลับสร้างความตื่นตระหนกให้กับทุกประเทศทั่วโลกได้อย่างมากมาย ด้วยประสิทธิภาพในการแพร่เชื้อของเจ้าสายพันธุ์โอมิครอน ที่ ถือว่ารวดเร็วมากที่สุดในบรรดาสายพันธุ์ที่เคยพบมาในอดีต จึงเป็นที่มาของหัวข้อบทความในวันนี้ ที่ต้องการให้ทุกท่านรับรู้ข้อมูลสิ่งที่ควรทราบหากคุณไม่แน่ใจว่าได้รับเชื้อโอมิครอน เข้าสู่ร่างกาย กลุ่มอาการโอมิครอน  ที่พบในประเทศไทย เช็คเลยว่าแบบไหนเข้าข่ายติดแน่ ๆ แล้ว โดยข้อมูลอ้างอิงจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เปิดเผยข้อมูลอาการของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สายพันธุ์ “โอมิครอน” ในประเทศไทย พบว่าอาการที่ผู้รับเชื้อจะแสดงออกมากที่สุด มีดังนี้ อาการไอ 54 % เจ็บคอ 37 % มีไข้ 29 % ปวดกล้ามเนื้อ 15 สิ่งที่ควรทราบหากคุณไม่แน่ใจว่าได้รับเชื้อ “โอมิครอน” เข้าสู่ร่างกายหรือไม่

บลูชวนมี “ชีวิต 3ดี” ต้อนรับหน้าฝน

  หน้าฝนต้องระวังเจ็บป่วยด้วยโรคไข้หวัด มามี “ชีวิต 3ดี” ห่างไกลหวัดกับบลูในหน้าฝนนี้กันดีกว่า ดีที่1. ดีต่อ… กาย หน้าฝนก็ต้องพกร่มกันฝนไว้เสมอ แต่ไม่ควรเดินตากฝนเพราะไวรัสที่มากับฝนทำให้เป็นหวัดได้ง่าย รวมถึงไม่ปล่อยให้ยุงกัด นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และอย่าลืมออกกำลังกายเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ดีที่2. ดีต่อ… ใจ ความเครียดสามารถทำให้ภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอได้ ฉะนั้น อย่าเครียดกับชีวิตหรืองานจนเกินไป หมั่นทำจิตใจให้แจ่มใส หากใจดี กายดี ชีวิตก็จะดีตาม ดีที่3. ดีต่อ… โรค แน่นอนว่าหน้าฝนมักทำให้เป็นหวัดได้ง่าย ก็ต้องเลือกใช้ยาให้ถูกกับโรคด้วย เช่น ยาลดไข้บรรเทาหวัด ที่สามารถช่วยบรรเทาอาการหวัด น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และเป็นไข้ และอย่าลืมนอนพักผ่อนเยอะ ๆ ในช่วงที่เป็นไข้หวัด เพื่อช่วยให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงในเร็ววัน  

ระวัง! 4 โรคไข้หวัดมากับฤดูฝน

  1. โรคไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) เกิดจากเชื้อไวรัส มีไข้อ่อน ๆ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ เป็นได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะหน้าฝน 2. ไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) เกิดจากไวรัสอินฟลูเอนซา มีไข้สูงหลายวัน ตัวร้อน คัดจมูก ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร 3. ไข้เลือดออก (Dengue Virus) มียุงลายเป็นพาหะ อาการมีไข้สูงลอยหลายวัน มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง 4. โรคโควิด-19 (Covid-19) เกิดจากเชื้อไวรัส อาจมีไข้ต่ำหรือไข้สูง ไอมีเสมหะ เหนื่อยง่าย อ่านเพิ่มเติม -> อ้างอิง : กรมควบคุมโรค ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่  

ไอมีเสมหะบ่อย อาจมีสาเหตุมาจาก 5 โรคนี้!

  1. เป็นภูมิแพ้ การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้เป็นประจำ ก็ทำให้เกิดเสมหะได้ 2. คอติดเชื้อ เช่น จากเชื้อรา เชื้อวัณโรค ไวรัส ทำให้คออักเสบเรื้อรัง มีเสมหะในคอ 3. เป็นไข้หวัด มีการติดเชื้อในช่องคอ และจมูก ทำให้มีไข้ น้ำมูกไหล ไอมีเสมหะ 4. กรดไหลย้อน ทำให้เยื่อบุลำคอมีการอักเสบ จึงเกิดเสมหะในลำคอได้ 5.ไซนัสอักเสบ ทำให้เกิดน้ำมูกไหลลงคอ กลายเป็นเสมหะได้ อาการไอมีเสมหะ บรรเทาด้วย ยาแก้ไอละลายเสมหะ “คาร์โบซิสเทอีน”

แม่ท้องขาดโฟลิก อันตรายต่อทารกอย่างไร?

  สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรได้รับ “โฟลิก” ตามแพทย์แนะนำ แต่หากร่างกายได้รับโฟลิกไม่เพียงพอ อาจเกิดผลกระทบต่อทารกในครรภ์ ดังต่อไปนี้ ลูกเสี่ยงพิการแต่กำเนิด เช่น พิการสมอง หัวใจ และแขนขา เป็นต้น เป็นโรคปากแหว่ง เพดานโหว่ เกิดโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ยาบำรุงครรภ์ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่แพทย์แนะนำให้สตรีที่กำลังวางแผนจะมีลูก รวมถึงทั้งก่อน-หลังคลอด และระหว่างให้นมบุตร โดยหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกคนที่เตรียมพร้อมจะตั้งครรภ์ควรได้รับ “โฟลิก” อย่างน้อยวันละ 400 ไมโครกรัม และ 800 ไมโครกรัม สำหรับแม่ตั้งครรภ์ อ่านเพิ่มเติม -> กรดโฟลิก ช่วยเซฟชีวิตทารก วิตามินสำคัญแม่ตั้งครรภ์ต้องกิน อ้างอิง : 1. รพ. พญาไท 2. drnoithefamily

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save