gedgoodlife

รวมช่องทาง ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 เราต้องรอดไปด้วยกัน!

  ในยามวิกฤตโควิด-19 ระบาด เตียงหายาก โรงพยาบาลส่วนมากก็เตียงเต็ม ทำให้มีหลายเพจร่วมช่วยเหลือประชาชน หาเตียง ส่งยา หรือจัดหาหมอออนไลน์ ให้ปรึกษาระหว่างทำ home isolation วันนี้ GedGoodLife จึงได้ รวมช่องทาง ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 มาไว้ที่นี่แล้ว ใครกำลังหาเตียงอยู่ แนะนำให้โทรย้ำจนกว่าจะติด รวมช่องทาง ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ผู้ป่วยโควิด-19 ท่านใด กำลังหาเตียง หรือต้องการความช่วยเหลือ ถ้าโทรหาองค์กรต่าง ๆ แล้วยังไม่ติด ติดต่อไม่ได้ แนะนำให้โทรย้ำจนกว่าจะติด หรือเข้ากลุ่มผู้ป่วยโควิด -> ที่นี่ เพื่อพิมพ์ขอความช่วยเหลือกันได้ 1. “กองทัพบก” ตั้งศูนย์ประสานงาน รับ-ส่ง ผู้ป่วยโควิดฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง เพจเฟซบุ๊ก ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพบก Army PR Center แจ้งว่า ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิด กองทัพบก เป็นสื่อกลางประสานความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทุกกรณี โดยสามารถติดต่อผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ Line ID : @covidtv5hd1 รวมช่องทาง ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 เราต้องรอดไปด้วยกัน!

ติดโควิด-19 สงสัยว่า เชื้อโควิดลงปอด ต้องเช็กอาการยังไง และดูแลตนเองยังไงดี?

  สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยในปัจจุบัน เรียกว่าเข้าขั้นวิกฤตสุด ๆ พบผู้ติดเชื้อทะลุหนึ่งหมื่นรายต่อวัน และยังไม่มีที่ท่าจะหยุดลงง่าย ๆ ส่งผลให้เตียงขาดแคลน ผู้ติดเชื้อก็ไม่สามารถเข้าพบแพทย์ได้โดยง่าย ผู้ป่วยจึงควรรู้วิธีประเมินอาการตัวเอง โดยเฉพาะหากสงสัยว่า เชื้อโควิดลงปอด ยิ่งต้องเฝ้าระวังตนเองให้มากขึ้น ด้วยวิธีต่าง ๆ ที่ GedGoodLife นำมาฝากในวันนี้ มาติดตามกัน! นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน (Tany Thaniyavarn, MD) อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัด แพทย์ไทยในสหรัฐอเมริกา ได้แชร์ความรู้ วิธีเช็คอาการ แบบไหนโควิดลงปอด และการดูแลตนเองเมื่อสงสัยว่าเชื้อลงปอดแล้ว 2 วิธี เช็คอาการ เชื้อโควิดลงปอด หรือยัง? นายแพทย์ธนีย์ กล่าวว่า ให้ประเมินได้คร่าว ๆ 2 วิธี คือ… วิธีที่ 1 ถ้าเคยทำกิจกรรมอะไรปกติไม่เหนื่อย แล้วพอติดโควิด มาทำแล้วเหนื่อย เช่น การเดินไปมาในห้องแล้วเหนื่อย การลุก-นั่ง แล้วเหนื่อย นั่งยอง ๆ แล้วลุกขึ้น แล้วเหนื่อย ให้สงสัยว่า ติดโควิด-19 สงสัยว่า เชื้อโควิดลงปอด ต้องเช็กอาการยังไง และดูแลตนเองยังไงดี?

จองด่วน! รพ. วชิรพยาบาล เปิดลงทะเบียนวัคซีน ‘ไฟเซอร์’ สำหรับเด็กที่มีโรคเรื้อรัง

  คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ปกครองที่มีเด็กเป็นโรคเรื้อรัง อายุ 12-18 ปี ต้องไม่พลาด! เพราะ วันนี้ รพ. วชิรพยาบาล เปิดจองวัคซีน ‘ไฟเซอร์’ ให้กับเด็ก ๆ กลุ่มนี้แล้ว มาติดตามรายละเอียดกันเลย! เพจเฟซบุ๊ก คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ได้โพสต์ประกาศว่า ทาง รพ. เปิดให้กลุ่มเด็กอายุ 12-18 ปี (เกิดในปี พ.ศ. 2546-2552) ที่มีโรคเรื้อรัง อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ลงทะเบียนรับวัคซีน ‘ไฟเซอร์ – Pfizer’ เข็มที่ 1 เริ่มวันที่ 6-8 ก.ย.นี้ โดยมีกำหนดการฉีดวัคซีนโควิด ในวันที่ 21 กันยายน 2564 เวลา 09.00 – 15.00 น. 7 กลุ่มโรคเรื้อรัง ที่เข้าเกณฑ์รับวัคซีน ‘ไฟเซอร์’ ได้ จองด่วน! รพ. วชิรพยาบาล เปิดลงทะเบียนวัคซีน ‘ไฟเซอร์’ สำหรับเด็กที่มีโรคเรื้อรัง

5 สถานที่ ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่1 ประจำเดือน กันยายน 64

  ใครยังไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19 มารวมกันทางนี้! GED Good Life ได้รวบรวม 5 สถานที่ ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีทั้ง แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และ ไฟเซอร์ (Pfizer) สำหรับเดือนกันยายน 64 มาฝากแล้ว จะมีที่ไหนบ้าง มาติดตามกันเลย! – วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ – รู้หรือยัง? สปสช. ให้ยื่นขอ เยียวยาแพ้วัคซีนโควิด ได้เลย ไม่ต้องพิสูจน์ถูก-ผิด! ดูวิธียื่นคำร้องขอ ได้ที่นี่ 5 สถานที่ ฉีดวัคซีนโควิด-19  1. ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯปลอดภัย  เปิดลงทะเบียนรับวัคซีน AstraZeneca เข็มที่ 1 เฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีน (วัคซีนคงเหลือ จากผู้ที่ไม่มาแสดงตน 100,000 โดส) ผู้มีสิทธิรับวัคซีน : ประชาชนทั่วไป อายุ 18 ปีขึ้นไป สัญชาติไทย 5 สถานที่ ฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่1 ประจำเดือน กันยายน 64

วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ

  “มิถุนายน” เดือนแห่งการฉีดวัคซีนโควิด-19 เตรียมร่างกายให้พร้อมกันหรือยัง? ถ้ายัง… ต้องตามมาดูคำแนะนำจาก “คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” ที่ได้บรรยายไว้ในหัวข้อ Fact No Fake : Coved-19 Vaccination ครั้งที่ 1 เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเรื่อง “วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19” และรายละเอียดอื่น ๆ ที่ควรรู้ มาติดตามกันเลย! ผศ.ดร.สุราศักดิ์ ตรีนัย และดร.ชลลดา จงสมจิตต์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า “อยากจะรณรงค์ให้ทุกคนฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนชนิดใดที่มีอยู่ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ลดการแพร่ระบาดของโรค ส่วนในอนาคตหากมีวัคซีนทางเลือกเข้ามา ทุกคนสามารถเลือกฉีดวัคซีนตามที่ตนเองต้องการได้ ดังนั้น ก่อนและหลังไปรับ วัคซีนโควิด ทุกคนต้องเตรียมตัวให้พร้อม โดยข้อมูลบางส่วนมาจากประสบการณ์ตรง และได้รวบรวมข้อมูลจากองค์การอนามัยโรค กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยสูตินารีแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อให้คำตอบที่ชัดเจนแก่ประชาชนทุกคน” วัคซีน ซิโนแวค vs แอสตราเซเนกา ต่างกันยังไง ยี่ห้อไหนผลข้างเคียงน้อยกว่า ? ป่วยไมเกรน ฉีดวัคซีนโควิด ได้ไหม? ต้องหยุดยาก่อนฉีด รึเปล่า? โดย วิธีเตรียมตัว ก่อน-หลัง ฉีดวัคซีนโควิด-19 : โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาฯ

วิธีรักษาดูแลตัวเอง จากอาการ Long Covid ที่คนเคยติดโควิดต้องรู้!

  ใครที่เคยติดโควิด และกำลังเผชิญกับอาการ Long Covid อยู่ มารวมกันทางนี้! ไม่ว่าจะเป็นอาการ อ่อนเพลีย ไอ ผมร่วง วิตกกังวล ซึมเศร้า ไม่รับกลิ่น ไม่รู้รส ต้องไม่พลาดบทความนี้ เพราะ Ged Good Life ได้รวบรวมวิธีรักษาดูแลตัวเองจากอาการ Long Covid มาฝากแล้ว มาติดตามกันเลย! – ติดโควิดทำให้ ผมร่วง ได้ถึงวันละ 300 เส้น นาน 6 เดือน! – 4 ท่าหายใจ ฟื้นฟูสมรรถภาพปอด สู้โควิด-19 ! – ยกระดับภูมิคุ้มกัน ด้วย 4 วิตามินและแร่ธาตุ ช่วยต้านโควิด-19 ทำความรู้จักกับ ภาวะเรื้อรัง “Long Covid” Long Covid หรือ Post Covid-19 Syndrome คือ อาการหลงเหลือหลังติดเชื้อโควิด-19 ในระยะยาว เป็นผลจากความผิดปกติภายในร่างกาย เนื่องจากร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ วิธีรักษาดูแลตัวเอง จากอาการ Long Covid ที่คนเคยติดโควิดต้องรู้!

เปิดรายชื่อ 63 ประเทศ เข้ามาเที่ยวไทยได้เลย ไม่ต้องกักตัว! พร้อมเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ควรรู้

  Welcome to Thailand นักท่องเที่ยว และชาวไทย ที่ตั้งตารอมาประเทศไทย มีเฮ! เมื่อกระทรวงการต่างประเทศประกาศรายชื่อ 63 ประเทศ เข้ามาเที่ยวไทยได้เลย ไม่ต้องกักตัว แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ พร้อมเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ควรรู้ … ใครที่กำลังแพลนเดินทางมาเที่ยวไทย ต้องรู้ มาติดตามกันเลย! เปิดรายชื่อ 63 ประเทศ เข้ามาเที่ยวไทยได้เลย ไม่ต้องกักตัว! นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประเทศไทยเดินหน้าเตรียมความพร้อมเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติด้วยรูปแบบ “Thailand Pass” แทนระบบ COE (Certificate of Entry) เพื่อลดขั้นตอนการอัปโหลดเอกสาร อำนวยความสะดวกรวดเร็วแก่นักท่องเที่ยว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป นักท่องเที่ยว และชาวไทยที่ประสงค์เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย สามารถลงทะเบียนออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ tp.consular.go.th ก่อนเดินทาง และรอการอนุมัติเป็นเวลา 1-3 วัน รายชื่อ 63 ประเทศ มีทั้งหมดดังนี้ 1. เปิดรายชื่อ 63 ประเทศ เข้ามาเที่ยวไทยได้เลย ไม่ต้องกักตัว! พร้อมเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ควรรู้

เจาะลึก “โอไมครอน” มัจจุราชสายพันธุ์ใหม่!

  โลกพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอไมครอน” ทำชาวโลกต้องหวาดหวั่น ปิดประเทศกันวุ่นวายไปหมด ความสุขที่กำลังหวนคืน ต้องสลายไป! วันนี้ GedGoodLife จะพาไปเจาะลึก โควิดโอไมครอน มัจจุราชสายพันธุ์ใหม่ จะมีที่มา สาเหตุ อาการ และวิธีป้องกันอย่างไร มาดูกัน! วิธีรักษาดูแลตัวเอง จากอาการ Long Covid ที่คนเคยติดโควิดต้องรู้! 9 โรคประจำตัว กลุ่มเสี่ยงตายสูง จากโรคโควิด-19 !! พร้อมวิธีป้องกันโรค จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส เกิดจากอะไรได้บ้าง ติดโควิด-19 หรือเปล่า? ทำความรู้จักกับ โอไมครอน “โอไมครอน – Omicron” เดิมชื่อ B.1.1.529 ก่อนที่ องค์การอนามัยโลก (WHO) จะตั้งชื่อเรียกให้ตามลำดับตัวอักษรกรีกว่า โอไมครอน เป็นเชื้อโควิดกลายพันธุ์ชนิดใหม่ พบเป็นครั้งแรกในประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 และกำลังกลายพันธุ์อย่างรุนแรงหลายประเทศทั่วโลก โควิดโอไมครอน ถูกค้นพบการระบาดในจังหวัดเคาเต็ง (Gauteng) ของแอฟริกาใต้เป็นหลัก และในขณะนี้องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศอย่างเป็นทางการให้ ไวรัสโควิดโอไมครอน เจาะลึก “โอไมครอน” มัจจุราชสายพันธุ์ใหม่!

ติดคู่เสี่ยงตาย! 3 โรคหน้าฝนติดพร้อมโควิด-19 และยาที่ควรเตรียมพร้อม

  การระบาดของโควิดยังคงดำเนินต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะหยุด! ทางด้าน ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ชี้ โควิดคงจะระบาดไปจนถึงเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และจะเริ่มลดลงในเดือนกันยายน 2566 ทั้งนี้หน้าฝน ยังมีอีก 3 โรคที่ระบาดเป็นประจำเช่นกัน ยิ่งถ้าติดคู่กับโควิด-19 อาจเสี่ยงถึงตายได้! มาดูกันว่า “3 โรคหน้าฝนติดพร้อมโควิด-19” จะมีอะไรบ้าง และยาอะไรที่ควรเตรียมพร้อมรับมือไว้ โควิดสายพันธุ์ใหม่ XBB.1.16 มาจากไหน มีอาการยังไง แพร่เร็วหรือไม่? ยาและของใช้จำเป็น ที่ควรมีติดบ้านในช่วงโควิด-19 เป็นหวัดบ่อยต้องระวัง! 6 ภาวะแทรกซ้อนจากโรคไข้หวัด ทำป่วยหนักได้ ติดคู่เสี่ยงตาย! 3 โรคหน้าฝนติดพร้อมโควิด-19 อากาศชื้นในช่วงหน้าฝนทำให้เชื้อโรคเติบโตได้เร็ว และแพร่ระบาดได้ง่าย จึงทำให้มีคนป่วยติดเชื้อโรคได้สูงในฤดูนี้ ซึ่งโรคติดเชื้อที่มักมากับหน้าฝนนั้น เกิดขึ้นได้กับหลายระบบของร่างกาย และถ้าติดพร้อมกับโควิด-19 จะยิ่งอันตรายมากขึ้น โดยเฉพาะ 3 โรคดังต่อไปนี้ 1. โรคไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคที่มักระบาดในหน้าฝน พบได้ในทุกช่วงอายุซึ่งมักพบในเด็ก แต่อัตราการเสียชีวิตเกิดกับผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 65 ปี พบการระบาดมากที่สุดในโรงเรียน ฉะนั้นเด็กนักเรียนจึงต้องระวังโรคนี้เป็นพิเศษ ทั้งนี้โรคไข้หวัดใหญ่ ติดคู่เสี่ยงตาย! 3 โรคหน้าฝนติดพร้อมโควิด-19 และยาที่ควรเตรียมพร้อม

ไอบ่อยเช็กด่วน! 6 สาเหตุไอเรื้อรัง รู้เท่าทันรักษาหายได้

ไอเรื้อรัง คือ อาการไอที่มีระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ภาวะไอเรื้อรังมีหลายสาเหตุ ถ้าอยากหายก็ต้องหาสาเหตุให้พบ! มาดูกันว่า “6 สาเหตุไอเรื้อรัง” ที่พบได้บ่อยที่สุด มีอะไรบ้าง ใครไอบ่อยต้องรู้! แพทย์เผย! อาการเตือนมะเร็งปอด ภัยร้ายเงียบที่เริ่มจาก ไอเรื้อรัง ผู้สูงวัยไอเรื้อรัง อ่อนเพลียง่าย เสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง มีวิธีป้องกันอย่างไร? อาการไอหลังกินข้าว ทั้งไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ เกิดจากสาเหตุอะไร? เช็ก! 6 สาเหตุไอเรื้อรัง รู้เท่าทันรักษาหายได้ 1. จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ และควันบุหรี่ เช่น อากาศแห้ง ลมที่พัดโดนหน้าเรา ฝุ่นต่าง ๆ PM2.5 ควันบุหรี่ ไอระเหยบางชนิด ปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการไอ โดยเฉพาะในเด็ก จะมีอาการไอได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งถ้าเราต้องอาศัยอยู่กับสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ทุกวัน ไม่หลีกเลี่ยง หรือหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็จะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังนานเป็นเดือน ถ้าวันไหนที่เราดื่มน้ำไม่เพียงพอ ใช้เสียงมาก ก็จะยิ่งไอหนักมากขึ้นไปอีก สิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษเหล่านี้ นอกจากจะทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังแล้ว ยังก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาอีกด้วย เช่น ไอบ่อยเช็กด่วน! 6 สาเหตุไอเรื้อรัง รู้เท่าทันรักษาหายได้

ฟรีแลนซ์ปั่นงานหนักนอนน้อย ระวัง!..ภูมิแพ้

  บทความนี้เขียนโดย ดร. ภก. นิติ สันแสนดี อาจารย์พิเศษ  ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์สุขภาพ การทำงานหนักเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการกำเริบได้ง่าย ย่อมเผชิญกับปัญหาสุขภาพที่ท้าทาย  แต่การทำงานหนักพร้อมกับ เป็นภูมิแพ้ และต้องดูแลตัวเอง เป็นสิ่งที่ท้าทายและสามารถทำได้ด้วยการวางแผนและจัดการสุขภาพอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยภูมิแพ้สามารถทำงานหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีสุขภาพที่ดี การทำงานหนักพร้อมกับเป็นภูมิแพ้ และต้องดูแลตัวเอง: กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ GEDไว้แก้แพ้ แนวทางการดูแลสุขภาพ รู้จักสารก่อภูมิแพ้ หลีกเลี่ยงหรือลดการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ทำความสะอาดบ้าน ที่ทำงาน เป็นประจำ สวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ท่ามกลางฝุ่นละออง หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์เลี้ยง งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน การทานอาหารที่เหมาะสม อาหารที่เหมาะสมและมีสารอาหารสำคัญสามารถช่วยเสริมสร้างร่างกายและป้องกันโรคได้ ควรรับประทานผักผลไม้ แป้งธัญพืชเต็มเม็ด โปรตีนที่มีคุณค่าสูง และไขมันที่ดี เช่น ไข่และนมถั่วเหลือง เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอ เลิกสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่ทำร้ายสุขภาพ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ ลดการดื่มแอลกอฮอล์เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน ควบคุมน้ำหนัก เพราะน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ พักผ่อนให้เพียงพอ: นอนหลับ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน ฝึกสมาธิ ผ่อนคลายความเครียด ฟรีแลนซ์ปั่นงานหนักนอนน้อย ระวัง!..ภูมิแพ้

8 สถานที่พาแม่เที่ยว คัดสรรแล้วว่าแม่ต้องถูกใจ!

  วันแม่ พาแม่เที่ยวไหนดีนะ? 12 สิงหา วันแม่แห่งชาตินี้ หากใครยังไม่มีไอเดียว่าจะพาแม่เที่ยวไหน… GED good life ขอเสนอ “8 สถานที่พาแม่เที่ยว” รับรองว่าถูกใจแม่แน่นอน จะมีที่ไหนที่น่าสนใจบ้าง ไปปักหมุดกันได้เลย! 8 สถานที่พาแม่เที่ยว เดินทางง่าย เที่ยวสนุกแน่นอน! 1. สวนนงนุช พัทยา จ.ชลบุรี ที่นี่ที่เดียวครบจบทุกความสนุก โดยเฉพาะสวนดอกไม้นานาพันธุ์ที่คุณแม่ต้องชอบแน่นอน! เพราะเป็นสวนที่ติด 1 ใน 10 สวนที่สวยที่สุดในโลก และเป็นสวนพฤกษศาสตร์เขตร้อนอันสวยงามที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และทวีปเอเชียอีกด้วย (จัดอันดับโดยเว็บไซต์ Earth & World) ด้วยพื้นที่ถึง 1,250 ไร่ ปลูกไม้ดอกไม้ประดับมากมายหลายร้อยชนิด ซึ่งในจำนวนนี้ 670 ชนิด เป็นพันธุ์ไม้ดอกพื้นเมืองของประเทศไทย ที่เที่ยวสุดฮิตที่สวนนงนุช : หุบเขาไดโนเสาร์ สวนรถ พิพิธภัณฑ์โขน หุ่นละคร ประติมากรรมวาดภาพด้วยหิน ต้นโอลีฟยักษ์ อาณาจักรสัตว์ ปูนปั้น สวนฝรั่งเศส 8 สถานที่พาแม่เที่ยว คัดสรรแล้วว่าแม่ต้องถูกใจ!

สูงวัยฝากบอก! 9 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้จักป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้

“เพราะความแก่ชราเป็นสิ่งที่ห้ามกันไม่ได้” หากปลายทางชีวิตของเรา คือ การอยากอยู่อย่างมีความสุข มีสุขภาพที่ดี ก็คงต้องเตรียมความพร้อมทั้งสุขภาพกาย สุขภาพใจตั้งแต่ยังหนุ่มสาว หรือในวัยกลางคนไว้ก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ วันนี้ GED good life จะพาไปรู้จัก 8 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ และวิธีส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคในยามชราภาพ มาดูกันเลย! โรคมะเร็งกับผู้สูงวัย ภัยร้ายที่ต้องใส่ใจ ป้องกันให้เป็น! วัยเก๋าต้องฟิต! การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ และ 7 วิธี บริหารอารมณ์ให้เบิกบาน 11 อ. สูงวัยอย่างสตรอง! สร้างเสริมสุขภาพกายใจดีดีในวัยสูงอายุ เหตุผลที่ควรเตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้าสู่สูงวัย เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีความพึงพอใจ และเป็นไปตามความปรารถนาของตนประกอบด้วย การมีอายุยืนยาวที่มีสุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี เพื่อไม่ให้เป็นภาระของลูกหลานจนเกินไป และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นอย่างดีเมื่อต้องเข้าสู่สูงวัย เมื่อร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตแจ่มใส ก็จะมีอิสระในการใช้ชีวิตอยู่ในช่วงบั้นปลายชีวิต พร้อมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร การรู้ก่อน เตรียมการได้ก่อน นำไปสู่ความมั่นคงในชีวิตเมื่อสูงอายุ รู้เท่าทัน ป้องกันไว้ก่อน! 9 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ มีอะไรบ้าง? 1. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)  เป็นภาวะที่ความดันเลือดภายในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สูงวัยฝากบอก! 9 โรคพบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ควรรู้จักป้องกันไว้ก่อนดีกว่าแก้

10 อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก และประโยชน์ของโฟลิกต่อลูกในครรภ์

  หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ในช่วงเดือนแรก หรือ 4 สัปดาห์แรก ลูกน้อยในครรภ์จะมีรูปร่างเล็กมาก (ไม่เกิน 1 มิลลิเมตร หรือไม่ใหญ่กว่าเมล็ดงาดำ) ซึ่งตัวคุณแม่เองอาจไม่ทันสังเกตว่ากำลังมีน้องแล้ว เพราะขนาดท้องยังดูเหมือนคนปกติอยู่นั่นเอง ดังนั้นเรามาดูกันดีกว่าว่า “10 อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก” มีอะไรบ้าง และประโยชน์ของโฟลิกต่อลูกในครรภ์ที่แพทย์แนะนำให้คุณแม่มือใหม่ต้องกิน คนอ้วนท้อง แม่และทารกเสี่ยงอันตรายอะไรบ้าง? และข้อควรปฏิบัติขณะตั้งครรภ์ 7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อยากมีลูกต้องรู้ไว้! กรดโฟลิก ช่วยเซฟชีวิตทารก วิตามินสำคัญแม่ตั้งครรภ์ต้องกิน แม่มือใหม่ต้องรู้! 10 อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก 1. เลือดล้างหน้าเด็ก สัญญาณแรกของการตั้งครรภ์ ก็คือ การมีเลือดออกมาจากช่องคลอดแบบกระปริบกระปรอย หรือที่เรียกกันว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก” เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงที่เพิ่งเริ่มตั้งครรภ์ จะพบในช่วง 6-12 วันหลังจากไข่ได้รับการปฏิสนธิ ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นเลือดจากประจำเดือนได้ แม่ตั้งครรภ์ท้องแรก มีความเป็นไปได้ที่จะมีเลือดล้างหน้าเด็ก มากกว่าตั้งครรภ์ครั้งที่ 2 หรือ 3 ขึ้นไป เนื่องจากเคยมีการฝังตัวของตัวอ่อนมาก่อนแล้ว เลือดล้างหน้าเด็กจะมีความคล้ายคลึงกับเลือดจากประจำเดือน ข้อสังเกตุที่แตกต่างกัน คือ เลือดล้างหน้าเด็กจะออกมาเพียงเล็กน้อย หรือเป็นแค่หยดเลือด บางคนอาจไม่รู้ตัว แต่เลือดประจำเดือนจะออกมากกว่า และเลือดล้างหน้าเด็กจะอยู่นานแค่ 1-2 10 อาการเด่นแม่ท้องในเดือนแรก และประโยชน์ของโฟลิกต่อลูกในครรภ์

แพทย์แนะนำ! ถ้าอยากมีลูกต้องกินโฟลิก ช่วยป้องกันลูกพิการได้

“โฟลิก” จัดเป็นวิตามินที่สำคัญที่สุดที่แพทย์ทั่วโลกแนะนำให้สตรีที่กำลังวางแผนมีลูก และสตรีตั้งครรภ์ต้องกิน แต่จะด้วยสาเหตุอะไรนั้น GED good life มีคำตอบรออยู่แล้ว ใครที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์อยู่ ต้องกิน “วิตามินโฟลิก” รอไว้ได้เลย! กรดโฟลิก ช่วยเซฟชีวิตทารก วิตามินสำคัญแม่ตั้งครรภ์ต้องกิน 9 สารอาหารเสริมพัฒนาการเด็ก สร้างภูมิคุ้มกันและสมองให้แข็งแรง! 7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อยากมีลูกต้องรู้ไว้! วิตามินโฟลิก คืออะไร สำคัญต่อลูกในครรภ์อย่างไร? โฟลิก (Folic acid) เป็นวิตามินบี 9 มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง และมีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ จึงสามารถป้องกันการพิการแต่กำเนิดได้ การกินวิตามินโฟลิกไม่ใช่แค่ป้องกันการพิการแต่กำเนิดได้เท่านั้น แต่ยังช่วยให้เจริญอาหาร แก้อาการ อ่อนเพลีย ป้องกันภาวะซีดหรือโลหิตจาง ป้องกันโรค NCDs และโรคอัลไซเมอร์ และยังมีประโยชน์อีกมากมาย พญ.นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล ผู้อำนวย การสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า “นอกจากกินวิตามินโฟลิก แล้วธาตุเหล็กก็มีความสำคัญ เนื่องจากหญิงไทยปัจจุบันมีภาวะซีดถึงร้อยละ 20 ซึ่งถ้าแม่ซีดเด็กจะมีไอคิวน้อยลง ดังนั้นการกิน โฟลิกและธาตุเหล็กจะช่วยเสริมในเรื่องของการสร้างเลือด ลดภาวะโลหิตจาง” เพราะเด็กพิการ 1 คนมีผลกระทบทั้งครอบครัว แพทย์แนะนำ! ถ้าอยากมีลูกต้องกินโฟลิก ช่วยป้องกันลูกพิการได้

กรดโฟลิก ช่วยเซฟชีวิตทารก วิตามินสำคัญแม่ตั้งครรภ์ต้องกิน

“กินโฟลิกก่อนท้อง ช่วยป้องกันลูกพิการได้” คำกล่าวนี้ไม่ใช่เรื่องเกินจริง และยังเป็นคำแนะนำที่หมอมักบอกแก่ผู้ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังมีครรภ์อยู่ด้วย ฉะนั้นเราไปทำความรู้จักกับ “กรดโฟลิก” กันให้มากขึ้น ว่ามีส่วนสำคัญต่อชีวิตลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน และควรกินอย่างไรให้ได้ปริมาณตามที่ร่างกายต้องการอย่างเหมาะสม 7 ขั้นตอนเตรียมพร้อมก่อนตั้งครรภ์ อยากมีลูกต้องรู้ไว้! วิตามินสำหรับคนท้อง เลือกกินแบบไหนดีนะ? อาการอ่อนเพลียเมื่อตั้งครรภ์ คนท้องเหนื่อยง่าย ง่วงบ่อย ทำอย่างไรดี ? ทำความรู้จักกับ โฟลิก สุดยอดวิตามินสำหรับแม่ตั้งครรภ์ กรดโฟลิก (โฟลิก แอซิค – Folic Acid) หรือ โฟเลต คือ วิตามินบี 9 ที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการของตัวอ่อน ช่วยป้องกันความผิดปกติของเลือด และมีส่วนช่วยในการซ่อมแซม DNA ในเซลล์ หากร่างกายได้รับโฟเลตไม่เพียงพอ ระดับโฟเลตในเซลล์ลดลง การเจริญเติบโตของเซลล์ก็จะหยุดชะงักตามไปด้วย ทำให้เกิดความพิการแต่กำเนิดได้ ไม่เพียงแต่การป้องกันความพิการในบุตรเท่านั้น จากการศึกษาในระยะหลังยังพบว่า การรับประทานโฟลิกมีผลดีต่อการมีบุตร อาจช่วยให้มีบุตรง่ายขึ้น ลดภาวะไข่ไม่ตก ภาวะแท้ง รวมถึงพบว่า ช่วยเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์ในผู้มาทำเด็กหลอดแก้วด้วย โฟลิกเป็นสารอาหารที่มีมากในผักผลไม้สด เช่น ดอกกะหล่ำ กรดโฟลิก ช่วยเซฟชีวิตทารก วิตามินสำคัญแม่ตั้งครรภ์ต้องกิน

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save