gedgoodlife

โรคลมชัก อันตรายที่อยู่ใกล้ตัว! มาดูผลกระทบ และการดูแลรักษากัน

  โรคลมชัก เป็นหนึ่งในโรคของกลุ่มโรคทางระบบประสาท ซึ่งโรคลมชักเกิดจาก ระบบกระแสประสาทในสมองเกิดการทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการชักขึ้นมา โรคลมชักมักจะพบมากในเด็กเล็ก ๆ อายุต่ำกว่า 2 ปี หรือผู้สูงอายุอายุมากกว่า 65 ปี โดยอาการชักนั้นมีหลายรูปแบบที่เราพบเจอได้ เช่น อาการชักเกร็ง เราจะเห็นตัวผู้ป่วย ตัวเกร็ง แข็ง อาการชักกระตุก ก็จะมีอาการชัก และกระตุกร่วมกัน และอาการชักเหม่อ ซึ่งจะสังเกตอาการได้ยาก เพราะ เป็นอาการชักที่นิ่งไปเฉย ๆ คนอื่นอาจจะไม่รู้ อาการชักอาจจะเกิดช่วงเวลาสั้น ไม่นาน แล้วผู้ป่วยก็กลับมาเป็นปกติ ผลกระทบจากโรคลมชัก ผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก อาจได้รับผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การทำงาน การเข้าสังคม การเรียน และครอบครัว เป็นต้น ซึ่งถ้าปล่อยไว้ไม่ทำการรักษา หรือไม่ให้ความร่วมมือกับแพทย์ในการทำการรักษา หากเกิดอาการขึ้นขณะทำงานที่มีความเสี่ยงกับความปลอดภัย หรือขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้ชีวิตประจำวันอยู่ อาจมีความเสี่ยงให้เกิดอุบัติเหตุ และส่งผลกระทบต่าง ๆ ตามมาได้นะคะ ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ผู้ป่วยควรที่จะเข้ารับการรักษาทันท่วงที และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ การดูแลรักษาผู้ป่วยที่เป็น โรคลมชัก อันตรายที่อยู่ใกล้ตัว! มาดูผลกระทบ และการดูแลรักษากัน

ไอเสียงแหบ แต่ไม่ได้เป็นหวัด เกิดจากอะไรนะ?

  เมื่อมีอาการไอ หลายคนมักคิดถึงโรคหวัดก่อนอย่างอื่น แต่ความจริงแล้ว ไอเป็นลักษณะอาการที่สามารถบอกโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะอาการไอเรื้อรัง ไอเสียงแหบ แห้ง ที่มักเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรง สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ไอเรื้อรัง ไอเสียงแหบ มาจากอะไรได้บ้าง ? – มีสิ่งแปลกปลอม เช่น ไรฝุ่น หรือเชื้อไวรัสจากหวัดลงคอ สิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ จะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ที่กระตุ้นให้ร่างกายแสดงอาการออกผ่านการไอ หากมีอาการคันยุบยิบที่ตา ร่วมกับจามเป็นระยะ อันนี้ก็แน่ใจได้เลยว่า คุณกำลังไอเพราะเป็นโรคภูมิแพ้! – โรคหอบหืด การไอแห้ง ๆ ติด ๆ กันเป็นจังหวะรัวเร็ว ที่มาพร้อมกับอาการหายใจไม่สะดวก เป็นสัญญาณว่าโรคหอบหืดได้มาเยือนคุณแล้ว บางครั้งอาจมาพร้อมกับอาการหายใจติดขัด เพราะระบบทางเดินหายใจอักเสบหรือติดเชื้อได้ด้วย และถ้าไอจนหอบ และมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยทุกครั้งที่ไอ และรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ คุณก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรักษาโรคหอบหืดได้แล้ว – โรคกรดไหลย้อน ถ้าคุณไออย่างแรงเป็นพัก ๆ โดนเฉพาะหลังรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ หรือทุกครั้งที่ล้มตัวลงนอน และมีอาการแสบร้อนกลางอกและเสียงแหบทุกครั้งหลังไอเสร็จ ก็เป็นไปได้ว่าคุณเป็นเหยื่อของโรคกรดไหลย้อนเข้าแล้ว – ผลข้างเคียงจากยา ถ้าคุณเป็นโรคที่เกี่ยวกับความดัน และกำลังกินยาลดความดันกลุ่ม ACE ไอเสียงแหบ แต่ไม่ได้เป็นหวัด เกิดจากอะไรนะ?

4 เคล็ดลับดูแลลูกรักในครรภ์ ยุคโควิดระบาด!

  1. ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หากกำลังตั้งครรภ์คุณแม่สามารถรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ตามปกติหลังมีอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ หรือ 3 เดือน สำหรับผู้ที่ไม่แนะนำให้ฉีด คือ คุณแม่ที่มีอาการแพ้วัคซีนจากเข็มแรกอย่างรุนแรง หรือมีข้อห้ามจากแพทย์ที่ทำการดูแลโดยตรง ดาวน์โหลด คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หลังคลอด และเด็กเล็กในสถานการณ์การแพร่ระบาด ของเชื้อ COVID-19 จากกรมอนามัย ได้ที่นี่ ->https://bit.ly/340UGDR 2. ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อลูกในครรภ์ หลักการง่าย ๆ ในการรับประทานอาหารสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่ ทานให้หลากหลาย และครบทั้ง 5 หมู่ เป็นประจำทุกวัน อาทิ แป้ง โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นต้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอนั่นเอง อาหารคนท้อง 3 ไตรมาส ควรกินอะไรดี? เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกรักในครรภ์ 3. ทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เสพข่าวโควิดจนเกินไป ข่าวเกี่ยวกับโควิด-19 ไม่จำเป็นต้องติดตามตลอดทั้งวัน เพราะจะทำให้เครียด และส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ได้ 4. เสริมวิตามิน 4 เคล็ดลับดูแลลูกรักในครรภ์ ยุคโควิดระบาด!

การรักษาโรคซึมเศร้า รู้เท่าทันก่อนจะสาย

  ปัจจุบันพบว่าคนส่วนใหญ่เป็นโรคซึมเศร้ากันมากขึ้น ซึ่งโรคซึมเศร้าสามารถพบเจอได้ทุกช่วงวัยไม่จำกัด แต่ผู้สูงอายุอาจจะมีปัจจัยที่เป็นได้มากกว่า เช่น พอไม่ได้ทำงาน หรือมีเวลามากขึ้น ไม่ได้ออกไปทำกิจกรรม เข้าสังคม พบปะเพื่อนฝูงเหมือนเดิม หรือลูก ๆ หลาน ๆ ไม่มีเวลาให้ก็จะเริ่มมีความเครียด วิตกกังวล สะสมจนส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งต้องระวังว่าภาวะโรคซึมเศร้าอาจจะมีโอกาสเสี่ยงให้เกิด โรคอื่น ๆตามมา ซึ่งอาจรุนแรงจนมีผลร้ายแรงต่อชีวิต และบทความต่อไปนี้จะแสดงถึงสาเหตุและ การรักษาโรคซึมเศร้า สาเหตุที่ทำให้เกิด โรคซึมเศร้า ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง เป็นปัจจัยที่เกิดจากภายในร่างกายเอง ความเครียด ปัจจัยภายนอกที่มากระทบไม่ว่าจะเป็น ความเครียด ปัญหาจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ การทำงาน สะสมเป็นเวลานาน ๆ ทัศนคติ หรือบุคลิกภาพบางอย่าง ก็ส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ เช่น ขี้วิตกกังวล ขาดความมั่นใจ เหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิต บางคนอาจเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุ หรือญาติพี่น้องเสียชีวิตกระทันหัน ก็ทำให้เข้าสู่ภาวะซึมเศร้าได้ การดูแล-รักษาโรคซึมเศร้า ทำอย่างไรได้บ้าง? ถ้าผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อปรับให้สารสื่อประสาทในสมองเข้าสู่ภาวะปกติ ภาวะของโรคซึมเศร้าก็จะหายไปได้ ทั้งนี้การใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมองจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอตามดุลยพินิจของแพทย์ อาจจำเป็นต้องใช้เวลารักษานานหลายปี หากมีการปรับพฤติกรรมรวมถึงรับประทานยาอย่างต่อเนื่องก็สามารถหายเป็นปกติได้ โรคซึมเศร้าที่เกิดจากภาวะความเครียด หรืออาการเจ็บป่วยทางสภาพจิตใจ จำเป็นต้องดูแลเยียวยาภาวะความเครียดนั้นควบคู่ไปกับการใช้ยาด้วย การรักษาโรคซึมเศร้า รู้เท่าทันก่อนจะสาย

8 อาหารกินแล้วไอ เลี่ยงได้เลี่ยง ในยุคโควิดระบาด!

  8 อาหารกินแล้วไอ เลี่ยงได้เลี่ยง ในยุคโควิดระบาด! 1. อาหารหวานจัด 2. อาหารทอด 3. อาหารรสจัด 4. อาหารมันจัด 5. น้ำปั่น น้ำเย็นจัด 6. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7. ผลิตภัณฑ์จากนม 8. ขนม ถั่ว ผลไม้แห้ง 9. อาหารที่เราแพ้เป็นประจำ เช่น อาหารทะเล ถั่ว นม เป็นต้น ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่ ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่… Facebook : gedgoodlife Nutroplex : nutroplexclub Twitter      : @gedgoodlife 8 อาหารกินแล้วไอ เลี่ยงได้เลี่ยง ในยุคโควิดระบาด!

การป้องกัน และบำบัดอาการไอ

  หากเพื่อนๆ คนไหนมีอาการ “ไอ” ไม่มาก พอจะรักษาด้วยตัวเองได้ ควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองตามข้อมูลที่อยู่ด้านล่าง จะช่วยบรรเทาอาการ “ไอ” ให้ลดลงได้ครับ 😉 ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล : โรงพยาบาลเบญจรมย์ ลพบุรี

อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) – อาการ และวิธีป้องกัน

  อาหารเป็นพิษ คือโรคที่เกิดจากการกิน หรือดื่มสิ่งที่ปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อโรค หรือสารพิษอื่น ๆ สามารถพบได้ทุกช่วงเวลาของปี โดยมีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ อาหารที่เชื้อโรค มีสารพิษ น้ำแข็งไม่สะอาด มีโรคประจำตัว กระเพาะอักเสบ ภูมิต้านทานอ่อนแอ เป็นต้น อาการอาหารเป็นพิษ ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย มีไข้ วิธีป้องกัน ล้างมือให้สะอาดก่อนทานอาหาร ล้างผักผลไม้เอาสารพิษออก ทำอาหารปรุงสุก ไม่กินดิบ ดูวันหมดอายุ ก่อนบริโภค ไม่กินอาหารที่หมดอายุแล้ว ควรนำไปทิ้ง ปรึกษาปัญหาสุขภาพ ไข้หวัด อาการไอ ปวดท้อง ภูมิแพ้  ได้ฟรี! ตลอด 24 ชั่วโมง ถามเลย ที่นี่ ติดตาม GedGoodLife ช่องทางอื่น ๆ ได้ที่… Facebook : GEDGoodLife Nutroplex : nutroplexclub Twitter    อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) – อาการ และวิธีป้องกัน

ควรทำอย่างไรดีนะ? ไม่ให้ โรค กรดไหลย้อน ย้อนกลับมาหาอีก!

  โรค กรดไหลย้อน หรือโรคเกิร์ด (GERD) โรคสุดยอดแห่งความทรมาน ที่แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง และไม่มีอันตรายถึงชีวิต แต่ก็เป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตมากทีเดียว เกิดจากภาวะน้ำย่อยในกระเพาะอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด ไหลย้อนกลับขึ้นไปสร้างความระคายเคืองในหลอดอาหาร และลำคอ มีน้ำรสเปรี้ยว หรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาทางปาก ทำให้เกิดอาการระคายบริเวณลำคอ และแสบอก หรือจุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่ และมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อร่วมด้วย มักพบในผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อย โรค กรดไหลย้อน เกิดจากอะไร? สาเหตุหลักของ กรดไหลย้อน มาจากความผิดปกติในการทำหน้าที่ของหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง ทำให้ไม่สามารถต้านแรงดันในช่องท้อง และการบีบตัวของกระเพาะอาหารได้ มักมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับความอ้วน โรคเบาหวาน โรคไส้เลื่อนกะบังลม และปัจจัยอื่น ๆ เช่น พฤติกรรมการกิน การทานอาหารอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง อาหารทอด ชา กาแฟ น้ำอัดลม การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การนอน หรือเอนหลังทันทีหลังทานอาหาร ความเครียด ตลอดจนการสวมเสื้อผ้าคับ และรัดเข็มขัดที่รัดแน่นเกินไป การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาขยายหลอดลม ยาลดความดันกลุ่มปิดกั้นเบตา และกลุ่มต้านแคลเซียม ยาต้านคอลิเนอร์จิก ตลอดจนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ก็มีผลกระตุ้นให้เกิดการคลายตัวของหูรูดหรือมีการหลั่งกรดเพิ่มมากขึ้นได้ ควรทำอย่างไรดีนะ? ไม่ให้ โรค กรดไหลย้อน ย้อนกลับมาหาอีก!

เซฟเก็บไว้เลย! เบอร์สำคัญ ติดต่อยามฉุกเฉิน ในวัน COVID-19 แห่งชาติ!

  สอบถาม COVID-19  : โทร 1422 สายด่วนกรมควบคุมโรค เช็คสิทธิรักษา (บัตรทอง) : โทร 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หาเตียงผู้ป่วยโควิด : โทร 1668 กรมการแพทย์ สายด่วนเฉพาะกิจ เจ็บป่วยฉุกเฉิน : โทร 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ สิทธิประกันสังคม : โทร 1506 สำนักงานประกันสังคม ปรึกษาสุขภาพจิต : โทร 1323 กรมสุขภาพจิต ปรึกษาแพทย์ ฟรี : โทร 1378 โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ : 1556 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปรึกษาเรื่องยา : 1648 องค์การเภสัชกรรม GPO #อินโฟกราฟิก #Infographic #อินโฟกราฟิกเพื่อสุขภาพ #อินโฟกราฟิกโควิด ปรึกษาปัญหาสุขภาพ เซฟเก็บไว้เลย! เบอร์สำคัญ ติดต่อยามฉุกเฉิน ในวัน COVID-19 แห่งชาติ!

ต่อมทอนซิลอักเสบ รุมเร้า เจ็บคอทรมานมาก ทำยังไงอาการจะดีขึ้น?

  ใครไม่เคยเป็นคงไม่เข้าใจว่า ต่อมทอนซิลอักเสบ มันทรมานขนาดไหน จะรักษาทอนซิลอักเสบได้อย่างไร ให้อาการดีขึ้นหายเจ็บคอ GedGoodLife มีคำตอบมาฝากค่ะ… ทำความรู้จักกับ ต่อมทอนซิล ต่อมทอนซิล (Tonsils) จัดอยู่ในกลุ่มของเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ภายในต่อมจะมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด บางชนิดสามารถดักจับเชื้อโรคด้วยตัวของมันเองได้โดยตรง และบางชนิดต้องเสริมภูมิคุ้นกันก่อนจึงส่งออกไปกำจัดเชื้อโรคอีกที ต่อมทอนซิลสามารถพบได้หลายตำแหน่ง เช่น ด้านข้างของปาก โคนลิ้น และช่องหลังโพรงจมูก – หน้าที่หลักของต่อมทอนซิล คือ การจับ และ ทำลายเชื้อโรค ที่เข้าสู่ร่างกายทางทางเดินอาหาร – หน้าที่รองของต่อมทอนซิล  คือ สร้างภูมิคุ้มกัน ต่อมทอนซิลอักเสบ คืออะไร? ต่อมทอนซิลอักเสบ (Tonsillitis) เป็นภาวะการอักเสบของต่อมทอนซิลในลำคอ หรือบริเวณเนื้อเยื่อในลำคอหลังช่องปากเข้าไป มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เมื่อมีอาการไข้หวัด โดยจะมีอาการเจ็บคอ ทำให้กลืนอะไรลำบาก แต่บางครั้งหากมีอาการเจ็บคอมาก อาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทำให้คอเป็นหนอง และเกิดอาการทอนซิลอักเสบ ส่วนใหญ่ทอนซิลอักเสบมักเกิดกับเด็ก ๆ มากกว่าผู้ใหญ่ โรคไข้หวัด โรคยอดฮิตตลอดทั้งปี! สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และการป้องกัน ต่อมทอนซิลอักเสบ รุมเร้า เจ็บคอทรมานมาก ทำยังไงอาการจะดีขึ้น?

“สีปัสสาวะ บอกโรค” ลองสังเกตดูสิ ช่วยให้รู้ว่าสุขภาพของเราเป็นอย่างไร

  สีของปัสสาวะ ถือเป็นหนึ่งในตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของคนเราได้ จะเห็นได้จากโปรแกรมตรวจสุขภาพตามโรงพยาบาลต่าง ๆ มักจะมีการตรวจปัสสาวะแทบทุกครั้ง โดยโรคที่สามารถบ่งชี้ได้ด้วยลักษณะของปัสสาวะได้ คือ โรคไต โรคเบาหวาน โรคตับ โรคกระเพาะ ปัสสาวะอักเสบ โรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น งั้นมาดูกันว่า “สีปัสสาวะ” แต่ละสีบ่งบอกถึงโรคอะไรได้บ้าง? สีปัสสาวะ เกิดจากอะไร? สีของปัสสาวะ (Urine color) เกิดจากสีของสารยูโรบิลิน (Urobilin) ซึ่งได้มาจากสารฮีม (Heme) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง เมื่อเม็ดเลือดแดงตายตามอายุขัย สารฮีมจะสลายตัวให้เป็นสารยูโรบิลิน ซึ่งร่างกายจะกำจัดออกทางปัสสาวะและทางน้ำดีของตับ สีปัสสาวะปกติเป็นสีอะไร? สีปัสสาวะที่ปกติ จะเป็นสีเหลืองใส แต่ถ้าดื่มน้ำเข้าไปมากระหว่างวัน แล้วปัสสาวะตอนนั้น ก็อาจจะมีสีขาวใสได้ ถือเป็นปกติ ไม่ต้องตกใจ บางคนปัสสาวะออกมามีสีเหลืองสดหรือสีนีออน ก็อาจจะเกิดจากการทานวิตามินบีรวมเข้าไป หรือการทานอาหารต่าง ๆ ก็อาจทำให้สีและกลิ่นของปัสสาวะเปลี่ยนได้ชั่วขณะเช่นกัน ทั้งนี้ ถ้าดื่มน้ำมากแต่ปัสสาวะยังคงเป็นสีเหลืองขุ่น หรือดื่มน้ำน้อยแต่ปัสสาวะเป็นสีขาวใส อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพแล้วนะ ฉะนั้นควรหมั่นสังเกตสีปัสสาวะตัวเองเป็นประจำที่เข้าห้องน้ำ สิ่งที่ควรสังเกตเมื่อปัสสาวะ สิ่งที่ต้องสังเกตลักษณะความผิดปกติของปัสสาวะได้แก่ ปริมาณปัสสาวะ สี ความขุ่น กลิ่นของปัสสาวะ จำนวนครั้งที่ปัสสาวะแต่ละวัน “สีปัสสาวะ บอกโรค” ลองสังเกตดูสิ ช่วยให้รู้ว่าสุขภาพของเราเป็นอย่างไร

อาการปวดหัว 4 แบบ ปวดตรงไหน บอกอะไรเราบ้าง?

  ไลฟ์สไตล์ และสภาพการเป็นอยู่ของคนในสังคมยุคปัจจุบันนี้ อาจทำให้เราพบเจอภาวะความกดดัน ความเครียด ให้คิดหนัก คิดเยอะจนปวดหัว ในทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยรุ่น วัยเรียน หรือวัยทำงาน วันนี้ Ged Good Life ชวนทุกคนมาเช็คอาการปวดหัว 4 แบบ และวิธีบรรเทาหากเรามี อาการปวดหัว กัน 4 อาการปวดหัว ปวดตรงไหน บอกอะไร ? 1. เครียด ปวดรอบศีรษะ ขมับ หน้าผาก กลางศีรษะ และท้ายทอย 2ข้าง 2. คลัสเตอร์ ภาวะปวดหัวรุนแรงเฉียบพลัน ปวดบริเวณดวงตา และลามไปถึงจุดอื่นได้ 3. ไมเกรน ปวดหัวซีกเดียว (เปลี่ยนซีกซ้ายขวาได้) อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย 4. ไซนัส มึนหัว ปวดขมับ ปวดฟัน ร่วมกับคัดจมูก น้ำมูกไหล วิธีบรรเทาอาการปวดหัว 1. นอน ให้เพียงพอ 2. ไม่เครียด ผ่อนคลาย ร่าเริงเข้าไว้ อาการปวดหัว 4 แบบ ปวดตรงไหน บอกอะไรเราบ้าง?

ผื่นแพ้หน้ากากอนามัย ดูแลรักษายังไงดี? l Ged Good Life ชีวิตดีดี

  หน้ากากอนามัย ของจำเป็นที่ต้องมีในยุคโควิดระบาด แต่ก็ปฎิเสธไม่ได้ว่า หน้ากากอนามัยอาจทำให้เกิดผื่นแพ้บนใบหน้าสำหรับบางคนได้ ตามมาดู สาเหตุ อาการ และวิธีดูแลเบื้องต้น กันเลยดีกว่า ผื่นแพ้หน้ากากอนามัย สาเหตุ : เกิดจากการเสียดสี การสวมใส่ที่แน่นเกินไป ความอับชื้นจากเหงื่อ ครีม และเครื่องสำอางที่ทาบนใบหน้า การแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบของหน้ากาก เช่น กาว ผ้า สีย้อมผ้า พลาสติก ยาง เป็นต้น อาการ : การสวมหน้ากากอนามัยตลอดวัน ทำให้เกิดผื่น ปื้น ตุ่มแดง และรู้สึกคันบริเวณที่สวมหน้ากาก หรือบริเวณใบหูได้ รายที่มีอาการรุนแรงอาจมีตุ่มน้ำ น้ำเหลืองซึม และหน้าบวมได้ วิธีดูแลเบื้องต้น :  1. ใช้หน้ากากอนามัยใหม่ สะอาด และได้มาตรฐาน (หากใช้ยี่ห้อใดแล้วแพ้ ให้เลิกใช้ แล้วหายี่ห้ออื่นมาใช้แทน) 2. ไม่สวมใส่หน้ากากเป็นเวลานานจนเกินไป 3. เมื่อมีผื่นขึ้นใบหน้า ควรเลี่ยงการแต่งหน้า 4. ถ้าใช้หน้ากากผ้าให้ซักก่อนใส่ทุกครั้ง 5. ล้างหน้าให้สะอาดทุกวัน งดถู งดสครับใบหน้า ผื่นแพ้หน้ากากอนามัย ดูแลรักษายังไงดี? l Ged Good Life ชีวิตดีดี

ล็อคได้ ก็หายได้ ลองทำตามวิธีแก้ นิ้วล็อค แบบง่ายๆกัน

  นิ้วล็อค (Trigger Finger) โรคของคนที่ต้องใช้งานเกร็งมือ หรือนิ้วมือบ่อย ๆ เป็นระยะเวลาต่อเนื่องนาน ๆ ส่งผลให้เกิดการอักเสบของเยื้อหุ้มเส้นเอ็นงอนิ้ว ซึ่งอยู่ที่บริเวณฝ่ามือตรงตำแหน่งโคนนิ้ว โดยส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิงอายุ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะแม่บ้านที่ใช้มือทำงานอย่างหนัก เช่น หิ้วตะกร้าจ่ายกับข้าว ชอปปิ้ง บิดผ้า ส่วนในผู้ชายมักพบในอาชีพที่ใช้มือทำงานหนัก ๆ มีการจับ ออกแรงบีบอุปกรณ์ซ้ำ ๆ เช่น คนทำสวนใช้กรรไกรตัดกิ่งไม้ ช่างที่ใช้ไขควง หรือเลื่อย พนักงานพิมพ์ดีด นักกอล์ฟ ช่างงานฝีมือ นักยูโด และหมอนวดแผนโบราณ เป็นต้น อาการนิ้วล็อค อาการนิ้วล็อคจะมีอาการหลายระยะ ไล่ตั้งแต่เริ่มต้นระยะแรกๆ คือมีอาการปวดที่โคนนิ้วมือ ซึ่งถ้ายังปล่อยไว้ไม่ทำการรักษาอาการนิ้วล็อคก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ต่อไปอาจจะมีอาการสะดุด อาการปวด และเวลาขยับนิ้ว จะงอจะเหยียดก็รู้สึกสะดุด หลังจากนั้นระยะต่อมาคือขั้นที่เรียกว่าไม่สามารถงอ หรือเหยียดนิ้วได้เอง เพราะนิ้วติดล็อคจนต้องค่อย ๆ พยายามง้างนิ้วออกมา สุดท้ายก็จะมีอาการปวดอักเสบมากขึ้น และนิ้วก็ยังไม่สามารถงอได้เหมือนเดิม ในปัจจุบันนิ้วล็อคเป็นกันเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ใช้คีย์บอร์ดพิมพ์งาน หรือคนรุ่นใหม่ที่ใช้มือถือ ล็อคได้ ก็หายได้ ลองทำตามวิธีแก้ นิ้วล็อค แบบง่ายๆกัน

วิธีสังเกตอาการผื่น ทั้ง 6 ประเภท

  1. ผื่นคันแดงตามตัว Exanthematous (Morbilliform) หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า Rash เป็นลักษณะของผื่นที่พบได้ทั่วทั้งตัว และพบได้บ่อยสุด โดยผิวหนังบริเวณที่มีอาการคันจากเปลี่ยนสีเดิมโดยอาจมีสีแดง มีผื่น และอาการคันเป็นจุดแดง ๆ หรือตุ่มใส บางครั้งอาจมีการตกสะเก็ดตามมา 2. ผื่นลมพิษ หรือบางครั้งเรียกโรคลมพิษ (Urticaria) เป็นลักษณะอาการทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ที่แสดงออกมาในรูป ผื่น หรือปื้นนูนแดง ไม่มีขุย สามารถมีขนาดตั้งแต่เล็กเพียง 0.5 จนถึงใหญ่ราว10 ซม. โดยปกติจะมีอาการคันร่วม และเกิดขึ้นอย่างเร็ว และกระจายตามตัว แขนขา แต่จะปรากฎอยู่เพียงชั่วขณะ โดยมากมักไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผื่นลมพิษ เหล่านั้นก็จะราบไปโดยไม่มีร่องรอย สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้บ่อย ๆ ในคนที่เป็นโรคประจำตัว 3. ผื่นตุ่มน้ำพองใส (Vesiculobullous Eruption) มีลักษณะเป็นตุ่ม หรือถุงน้ำใส ๆ สามารถพบกระจายอยู่ตามตัวโดยทั่วไป คล้ายผื่นสุกใส 4. ผื่นผิวหนังอักเสบชนิดตุ่มน้ำ (Dyshidrotic Eczema) ผื่นลักษณะพิเศษ ชนิดนี้พบมากในเด็ก และผู้ที่มีอายุน้อย เป็นผื่นผิวหนังอักเสบชนิดหนึ่งที่มักจะเป็นเรื้อรัง เป็น ๆหาย ๆ โดยผื่นจะมีลักษณะตุ่มใส วิธีสังเกตอาการผื่น ทั้ง 6 ประเภท

แก้ท้องเสีย จิบ “เกลือแร่ ORS” เท่านั้น! ห้ามกินเกลือแร่ออกกำลังกาย

  เมื่อมีอาการท้องเสีย ถ่ายเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำ ให้ใช้ยาผงเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เนื่องจากผลิตมาจากสูตรขององค์การอนามัยโลกให้มีปริมาณโซเดียม โปแตสเซียม และกลูโคส ในสัดส่วนที่เหมาะกับโรคท้องร่วง ท้องเสีย ผงเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) มีประโยชน์ในการป้องกัน และรักษาการสูญเสียน้ำ และเกลือแร่จากท้องร่วง ท้องเสีย ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่อย่างรุนแรง ทำให้ความดันเลือดตก และช็อคได้ โดยเฉพาะในผู้มีความเสี่ยงสูง คือเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ จิบเกลือแร่ออกกำลังกาย แทนผงเกลือแร่ORS ได้หรือไม่? คำตอบ : ไม่ได้ เพราะเกลือแร่สำหรับออกกำลังกายทุกยี่ห้อ มีน้ำตาลในปริมาณสูง และมีโซเดียมในปริมาณต่ำกว่าผงเกลือแร่โออาร์เอสหลายเท่า ทำให้อาการท้องเสียเป็นมากขึ้นได้ ดื่มสไปรท์ใส่เกลือ ตามที่เขาแชร์กันในโลกออนไลน์ แก้ท้องร่วง ท้องเสีย ได้ไหม? คำตอบ :ไม่ได้ และเป็นข่าวปลอม ไม่ควรนำไปปฏิบัติตาม จำไว้เลยว่า ถ้าท้องเสียต้องจิบเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เท่านั้น (ผงเกลือแร่โออาร์เอส สามารถหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป)   อ่านบทความวิธีแก้ท้องเสียได้ที่ -> ท้องเสีย กินอะไรให้หายดี? สาเหตุ อาการ วิธีรักษาอาการท้องเสีย

askexpert

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ประเภทนี้จะช่วยจดจำข้อมูลคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ท่านใช้เข้าชมเว็บไซต์ ข้อมูลการลงทะเบียนหรือ log in ข้อมูลการตั้งค่าหรือตัวเลือกที่ท่านเคยเลือกไว้บนเว็บไซต์ เช่น ภาษาที่แสดงบนเว็บไซต์ ที่อยู่สำหรับจัดส่งสินค้า เพื่อให้ท่านสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องให้ข้อมูลหรือตั้งค่าใหม่ทุกครั้งที่ท่านเข้าใช้เว็บไซต์ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจใช้งานเว็บไซต์ได้ไม่สะดวกและไม่เต็มประสิทธิภาพ
    Cookies Details

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์เเละด้านฟังก์ชั่น

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้า/บริการและเว็บไซต์ของเราเพื่อเพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
    Cookies Details

  • คุกกี้โฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่เหมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับความสนใจของท่าน
    Cookies Details

Save